คุณวุฒิวิชาชีพ

คุณวุฒิวิชาชีพ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ระดับ 6


รายละเอียด

คุณวุฒิวิชาชีพ
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ระดับ 6
คุณลักษณะของผลการเรียนรู้ (Characteristics of Outcomes)

เป็นผู้ที่สามารถนำความรู้ทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ร่วมกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดเป็นภูมิสารสนเทศเชิงประยุกต์ สนับสนุนการปฏิบัติงาน ดังนี้
o    เข้าใจความรู้พื้นฐานของข้อมูลภูมิสารสนเทศ 
o    สืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลทางภูมิสารสนเทศ
o    ปรับปรุงข้อมูลพื้นฐาน และแสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ได้ตามวัตถุประสงค์ 
o    ปรัปบรุงข้อมูลขั้นสูง และแสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ได้ตามวัตถุประสงค์
o    ออกแบบ จัดสร้าง และจัดการฐานข้อมูล (Database Management)
o    เข้าใจและเลือกใช้ข้อมูลภาพ
o    จัดทำและปรับปรุงข้อมูลภาพ (Data Pre-Processing and Image Processing)
o    สร้างแผนที่และผลิตภัณฑ์จากข้อมูลภูมิสารสนเทศได้ 

การเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพ (Qualification Pathways)

คุณสมบัติของผู้ที่สามารถเข้ารับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geomatics Technologist) ระดับ 6 ทั้งนี้ต้องมีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้อง ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน หรือสูงกว่าในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ
  • ผู้ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องทางด้านภูมิสารสนเทศ อย่างน้อย 3 หลักสูตร และมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานภูมิสารสนเทศ ไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือ
  • ผู้ที่จะขอรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ระดับ 6 จะต้องแสดงหลักฐานที่แสดงถึงความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องหน่วยสมรรถนะทั้งหมดของ ระดับ 5 และประเมินหน่วยสมรรถนะของระดับ 5 จำนวน 8 หน่วยสมรรถนะ หากไม่สามารถแสดงหลักฐานของหน่วยสมรรถนะทั้งหมดในระดับ 5 จะต้องผ่านการรับรองคุณวุฒิในระดับ 5 ก่อน จึงจะขอการรับรองคุณวุฒิในระดับ 6 ได้
กลุ่มบุคคลในอาชีพ (Target Group)

ผู้ทำงานในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Programmer) นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Analyst) นักวิชาการสถิติ นักวิจัย วิทยากรบรรยาย การฝึกอบรม เจ้าหน้าที่แผนที่ภาพถ่าย นักสำรวจดิน นักวิชาการป่าไม้ เจ้าหน้าที่แผนที่ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นักสถิติ วิศวกรชลประทาน นายช่างชลประทาน วิศวกร นักอุทกวิทยา เจ้าหน้าที่งานอุทกวิทยา เจ้าหน้าที่ วิเคราะห์นโยบายและแผน นายช่างรังวัด เจ้าหน้าที่ประเมินราคาทรัพย์สิน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป นักวิชาการด้านการรับรู้ระยะไกล เจ้าหน้าที่สำรวจและนำเข้าข้อมูล เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ นายช่างโยธา ช่างสำรวจ นายช่างไฟฟ้า และวิศวกรสำรวจ บุคคลที่สำเร็จการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลที่สนใจในงานด้านภูมิสารสนเทศ

หน่วยสมรรถนะ (หน่วยสมรรถนะทั้งหมดของคุณวุฒิวิชาชีพนี้)
ICT-KVSM-486B เรียกใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ (Identify geographic information)
ICT-QFTX-487B แสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ได้ตามวัตถุประสงค์ (Data Display)
ICT-EPHX-499B จัดทำข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (Provide geographic information)
ICT-OTDY-500B ปรับปรุงขัอมูลทางภูมิศาสตร์ (Improve geographic information)
ICT-UPMJ-501B วิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (Analysis geographic information)
ICT-LWUC-502B พัฒนาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (Develop geographic information)
ICT-TOEO-492B ระบุข้อมูลภาพ (Raster Data) (Specify image data (Raster Data))
ICT-BMAY-493B จัดการข้อมูลภาพ (Data Pre-Processing) (Manage and analyze image data (Data Pre-Processing))
ICT-KGMX-494B พัฒนาข้อมูลภาพ (Image Processing) (Develop image data (Image Processing))
ICT-ZMYB-495B แปลตีความข้อมูลภาพ (Raster Data) (Interpreting image data (Raster Data))
ICT-OUIM-496B จัดทำแผนที่ (Layout) (Create a map (Layout))
ICT-PTCO-497B สร้างผลิตภัณฑ์จากข้อมูลภูมิสารสนเทศ (Create products from geospatial data)
ICT-DOPA-498B ประยุกต์ใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ (Apply geographic information)
องค์กรรับรอง ที่สามารถเข้ารับการประเมินสมรรถนะบุคคล
CB-0439-A : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

ยินดีต้อนรับ