หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (Develop geographic information)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-LWUC-502B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (Develop geographic information)

3. ทบทวนครั้งที่ / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักทำแผนที่และนักสํารวจ


1 2165 นักทำแผนที่และนักสำรวจ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
         ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถพัฒนาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ สร้าง Geodatabase วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ จัดทำแผนที่ และสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน โครงการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือหน่วยงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geomatics Technologist)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10204.01

สร้าง Geodatabase

1. จัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ในรูปแบบ Geodatabase

10204.01.01 188533
10204.01

สร้าง Geodatabase

2. สร้างความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย

10204.01.02 214693
10204.01

สร้าง Geodatabase

3. กำหนดให้แสดงรายละเอียดข้อมูลใน Detail view/ File extension 

10204.01.03 214694
10204.02

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล

1. แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ และข้อมูลเชิงบรรยาย (Spatial Relationship)

10204.02.01 188534
10204.02

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล

2. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Analysis)

10204.02.02 214699
10204.02

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล

3. วิเคราะห์การซ้อนทับ (Overlay Analysis)

10204.02.03 214700
10204.02

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล

4. วิเคราะห์ภูมิประเทศ (Terrain Analysis)

10204.02.04 214701
10204.02

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล

5. สร้างแบบจำลองความสูงภูมิประเทศ (Digital Elevation Model: DEM)

10204.02.05 214702
10204.02

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล

6. วิเคราะห์ความลาดชันและทิศด้านลาด (Slope and Aspect Analysis)

10204.02.06 214703

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

2.    ทักษะการวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

3.    ทักษะการบรูณาการแผนและนโยบาย

4.    ทักษะในการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

5.    ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  1.  ความรู้ด้านองค์ประกอบของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

  2.  ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

  3.  ความรู้ด้านเส้นโครงแผนที่และระบบพิกัด (Map and Map Projection)

  4.  ความรู้ด้านการอ่านแผนที่

  5.  ความรู้ด้านหลักการเบื้องต้นระบบสารสนเทศภูมิสารสนเทศ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

       N/A 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

     2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์โครงการโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

   1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ ความเข้าใจ วิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ขั้นสูง ระบุข้อมูลที่จำเป็นหรือต้องการในงาน หรือโครงการตามที่หน่วยงานหรือองค์กร ต้องการได้อย่างเหมาะสม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    Geodatabase คือ การจัดเก็บชุดข้อมูลทางภูมิศาสตร์ประเภทต่าง ๆ ให้อยู่ในโฟลเดอร์ ได้แก่ Personal Geodatabase และ File Geodatabase ในระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational database management system: RDBMS) สามารถจัดการเป็นแบบผู้ใช้พร้อมกันหลายคน (Multi-useror) ส่วนการทำงานแบบผู้ใช้คนเดียว (Single-user) ก็จะเป็นรูปแบบ personal geodatabases. สำหรับ Personal geodatabase จัดเก็บฐานข้อมูลโดยอาศัยโปรแกรม Microsoft Access ซึ่งเป็นไฟล์นามสกุล.mdb เหมาะสำหรับโครงงานเล็ก ๆ ส่วน Multi-user databases จำเป็นต้องมีโปรแกรม ArcSDE สำหรับจัดการฐานข้อมูลใน RDBMS ซึ่ง ArcGIS และ ArcSDE สามารถทำงานได้บนหลายระบบปฎิบัติการ และรองรับการทำงานพร้อม ๆ กันหลายคนบนฐานข้อมูลเดียวกัน ใน Geodatabase สามารถจัดรวมกลุ่มฟีเจอร์เป็น Feature dataset geodatabase จะมีลักษณะคล้ายกับ coverages

  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ : ฟังก์ชันของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาตั้งแต่ระดับง่ายไปถึงยาก ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการแสดงผลระหว่างความสัมพันธ์ของ Topology กับข้อมูลลักษณะประจำ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยาก เช่น การระบุลักษณะประจำของกราฟิก การวัดระยะทาง การคำนวณพื้นที่ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการวิเคราะห์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การค้นหาผลการซ้อนทับปัจจัย การวิเคราะห์เส้นทางเข้าถึงที่ใกล้ที่สุด การประเมินค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมในการสร้างสิ่งปลูกสร้าง หรือการพยากรณ์แนวโน้มความเปลี่ยนแปลง เป็นต้น

   แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข ได้จากการรังวัดความสูงหรือจุดระดับความสูงที่เป็นตัวแทนของภูมิประเทศ มีการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และการนำเสนอแบบจำลองในรูปแบบต่างๆ เช่น การสร้างแบบจำลองสามมิติ (3D) แบบจำลองสามมิติเสมือนจริง แบบจำลองระดับสูงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการนำไปสร้างภาพถ่ายออร์โธเนื่องจากแบบจำลองระดับสูงจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการปรับแก้ความคลาดเคลื่อนทางตำแหน่งเนื่องจากความสูงต่างของภูมิประเทศ (Relief Displacement) ซึ่งหากแบบจำลองระดับสูงมีความถูกต้องสูงก็จะส่งผลให้ภาพถ่ายออร์โธมีความถูกต้องสูงด้วยเช่นกัน

    แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (DIGITAL ELEVATION MODEL : DEM) กำหนดหมายเลขระวางแช่นเดียวกับภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข 1 : 4,000 ขนาดระวาง 2 x 2 ตารางกิโลเมตร จัดเก็บจุดระดับเป็นแถวเป็นคอลัมถ์ (Row, Column) ขนาดความละเอียดจุดภาพ 5 เมตร (pixel size) จัดเก็บในรูปแบบของ Raster (Filename.img) ขนาดของไฟล์ ประมาณ 2 MB/ระวางแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข(DEM) มาตราส่วน 1 : 4,000 มีเกณฑ์ความถูกต้องที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ดังนี้ บริเวณพื้นที่ราบ และบริเวณที่มีความลาดชันไม่เกิน 35% ความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ 2 เมตร หรือดีกว่า บริเวณพื้นที่สูงชัน มีความลาดชันเกิน 35% ความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ 4 เมตร หรือดีกว่า

    การวิเคราะห์แบบจําลองพื้นผิว Surface model analysis การวิเคราะห์แบบจำลองพื้นผิวสูงเชิงเลขเป็นการนำเทคนิคการใช้งานหรือการผลิตแผนที่โดยการใชเ้ครื่องมือ 3D Analyst ในการสืบค้นค่าของข้อมูลพื้นผิว ข้อมูลความสูง จากข้อมูลแบบจำลองความสูงเชิงเลขในรูปแบบ DEM เมทริกซ์ระดับความสูง ข้อมูลจุดที่ไม่สม่ำเสมอและเครือข่ายสามเหลี่ยม ไปประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการเตรียมข้อมูลประกอบการประมวลผล การวิเคราะห์ แสดงผลความแตกต่างของพื้นผิวที่ซ้อนกันอยู่ การแสดงระดับของแสงสะท้อนบนพื้นที่ผิว การแบ่งระดับข้อมูลภาพ เพื่อใช้ในการแสดงผล วิเคราะห์ และการแยกชั้นข้อมูลออกมาตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการสร้าง Geodatabase

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ