หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาข้อมูลภาพ (Image Processing) (Develop image data (Image Processing))

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-KGMX-494B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาข้อมูลภาพ (Image Processing) (Develop image data (Image Processing))

3. ทบทวนครั้งที่ / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักทำแผนที่และนักสํารวจ


1 2165 นักทำแผนที่และนักสำรวจ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
         ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถพัฒนาข้อมูลภาพ ปรับแก้ข้อมูลจากดาวเทียม ปรับปรุงคุณภาพข้อมูลจากดาวเทียม ตรวจสอบความคลาดเคลื่อน เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ จัดทำแผนที่ และสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน โครงการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือหน่วยงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
       สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10303.01

ปรับแก้ข้อมูลภาพ 

(Image Processing)

1. ปรับปรุงข้อมูลภาพเชิงรังสี (Radiometric image enhancement)

10303.01.01 188456
10303.01

ปรับแก้ข้อมูลภาพ 

(Image Processing)

2. ปรับปรุงข้อมูลภาพเชิงพื้นที่ (Spatial image enhancement)

10303.01.02 214549
10303.01

ปรับแก้ข้อมูลภาพ 

(Image Processing)

3. ปรับปรุงข้อมูลภาพเชิงคลื่น (Spectrometric image enhancement)

10303.01.03 214550
10303.02

แก้ไขขนาดข้อมูลภาพ

1. เชื่อมต่อภาพ (Image Mosaic)

10303.02.01 188457
10303.02

แก้ไขขนาดข้อมูลภาพ

2. ตัดภาพ (Subset Image)

10303.02.02 214606
10303.03

ตรวจสอบความคลาดเคลื่อน

1. ตรวจสอบความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นระบบ (Systematic errors)

10303.03.01 188458
10303.03

ตรวจสอบความคลาดเคลื่อน

2. ตรวจสอบความคลาดเคลื่อนอย่างไม่เป็นระบบ (Nonsystematic errors)

10303.03.02 214607

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

2.    ทักษะการวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

3.    ทักษะการบรูณาการแผนและนโยบาย

4.    ทักษะในการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

5.    ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  1.  ความรู้ด้านองค์ประกอบของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

  2.  ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

  3.  ความรู้ด้านเส้นโครงแผนที่และระบบพิกัด 

  4.  ความรู้ด้านการอ่านแผนที่

  5.  ความรู้ด้านหลักการเบื้องต้นระบบสารสนเทศภูมิสารสนเทศ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน 

     N/A 

(ข) หลักฐานความรู้ 

      1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

      2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

      1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์โครงการโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

     1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

    1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาข้อมูลภาพ ระบุข้อมูลที่จำเป็นหรือต้องการในงาน หรือโครงการตามที่หน่วยงานหรือองค์กร ต้องการได้อย่างเหมาะสม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    การประเมินคุณภาพของข้อมูลภาพ ข้อมูลภาพที่ได้จากการบันทึกของเครื่องตรวจวัดจากการรับรู้ระยะไกลในช่วงแรก เรียกว่า ข้อมูลดิบ ซึ่งมักจะมีค่าความคลาดเคลื่อนปรากฏอยู่หลายรูปแบบ รวมถึงคุณภาพโดยรวมยังไม่ดีมากพอสำหรับการนำมาศึกษาหรือวิเคราะห์ผลตามที่ผู้ปฏิบัติต้องการ ด้วยเหตุนี้ การประมวลผลเบื้องต้นในการประมวลผลภาพเชิงเลข ซึ่งคือการประเมินคุณภาพของภาพและการประเมินผลทางสถิติเบื้องต้น จึงเป็นกระบวนการที่ผู้ปฏิบัติงานควรทำการนำไปใช้งานเสมอ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษาและเพิ่มระดับความถูกต้องของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลภาพนั้น โดยทั่วไป ในการประเมินคุณภาพข้อมูลภาพและการประเมินผลทางสถิติจะดำเนินการโดยอาศัยการแสดงผลกราฟของคุณลักษณะของฮิสโตแกรมของข้อมูลภาพ ซึ่งแต่ละช่วงจะถูกวิเคราะห์ในหลายรูปแบบ

   การปรับแก้ข้อมูลภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับแก้ความผิดพลาดของข้อมูล ความผิดพลาดเชิงรังสี ที่เกิดจากสัญญาณรบกวน และความผิดพลาดเชิงเรขาคณิต ที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจวัด การบันทึกสัญญาณการสะท้อนของพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า การส่งสัญญาณ และการโคจรของดาวเทียม โดยกระบวนการปรับแก้ข้อมูลภาพ 

  1. การปรับแก้เชิงรังสี เป็นการชดเชยความผิดพลาดเชิงคลื่นรังสีซึ่งเกิดความบกพร่องในการทำงานของเครื่องตรวจวัด การดูดซับ และการกระเจิงในบรรยากาศ การแปรผันของการสแกนภาพ การแปรผันของความสว่างของภาพ สัญญาณรบกวน

  2. การปรับแก้เชิงเรขาคณิต เป็นการชดเชยความผิดพลาดเชิงพื้นที่ทางเรขาคณิตของข้อมูลภาพ โดยเป็นความผิดพลาดทางตำแหน่งของความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลภาพที่ใช้แสดงรูปลักษณ์ทางภาคพื้นดินและความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์จริงของข้อมูลภาพที่ปรากฎบนพื้นทีผิวโลก ผลที่เกิดขึ้นจากการปรับแก้ความผิดพรากเชิงเรขาคณิต ตำแหน่งของจุดภาพจะถูกย้ายเข้าสู่ตำแหน่งจริงทางภาคพื้นดิน

   a. ความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นระบบ เกิดขึ้นจากตัวระบบการรับรู้จากระยะไกลเอง รวมถึงการหมุนของโลกหรือความโค้งของโลก ซึ่งทำให้สามารถคาดการณ์สาเหตุได้ การเฉของภาพ เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของดาวเทียมขณะบันทึกของภาพ ในขณะที่โลกหมุนรวบตัวเอง การแปรผันความละเอียดของจุดภาพ เกิดขึ้นจากระดับความสูงของระบบตรวจวัดที่แตกต่างกัน การเลื่อนตำแหน่งจากความสูงต่ำของผิวโลก เกิดขึ้นจากการเลื่อนตำแหน่งความสูงต่ำของผิวโลกในขณะบันทึกของภาพ การบิดเบี้ยวของมาตราส่วนจากแนวสัมผัส เกิดขึ้นจากเครื่องตรวจวัดจะสแกนระยะทางในภูมิประเทศในแนวดิ่งสั้นกว่าบริเวณของภาพ

   b. ความคลาดเคลื่อนอย่างไม่เป็นระบบ เกิดจาการแปรผันในธรรมชาติตามเวลาและสถานที่ ตัวแปรภายนอกที่สำคัญ คือ การเคลื่อนที่ของสถานีติดตั้งขณะบันทึกข้อมูล การเปลี่ยนแปลงระดับความสูง เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนระดับความสูงของสถานีติดตั้ง การเปลี่ยนแปลงการวางตัวของอากาศยานหรือยานอวกาศ เกิดขึ้นจากสถานีติดตั้งเผชิญกับสภาพบรรยากาศขณะบันทึกข้อมูล ทำให้สถานีติดตั้งหมุนที่เรียกว่า การเอียงข้าง การกระดก การหันเห 

 การเน้นข้อมูลภาพ เป็นเลือกใช้เทคนิคเพื่อปรับปรุงวัตถุหรือรูปลักษณ์ที่ปรากฎในภาพ โดยการเน้นความคมชัดภาพจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลภาพต้นฉบับ ดังนั้นการเน้นภาพคมชัดภาพส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการแปลตีความด้วยสายตาและจะไม่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ผลเชิงผล



     การเน้นข้อมูลภาพเชิงรังสี เป็นการเน้นข้อมูลภาพโดยการพิจารณาค่าความสว่างของจุดภาพเดี่ยว โดยไม่พิจารณาจุดภาพข้างเคียง วัตถุประสงค์ของการเน้นข้อมูลแบบนี้คือเพื่อทำให้ประเภทข้อมูล ที่ต้องการปรากฏให้เห็นชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าความสว่างของจุดภาพและช่วงคลื่นที่ใช้ การเน้นข้อมูลเชิงรังสีที่ใช้กับช่วงคลื่นหนึ่งอาจไม่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้กับช่วงคลื่นอื่นๆ ดังนั้น ในการเน้นข้อมูลภาพเชิงรังสีกับข้อมูลแบบหลายช่วงคลื่นจะต้องพิจารณาเป็นชุดข้อมูลที่เป็นอิสระจากกัน โดยทำการเน้นข้อมูลภาพในแต่ละช่วงคลื่นแยกกัน การเน้นความคมชัดของภาพมีหลายรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทข้อมูลของผลลัพธ์ที่ผู้ปฏิบัติสนใจ

     การเน้นข้อมูลภาพเชิงพื้นที่ เป็นการปรับเปลี่ยนค่าความสว่างจากจุดภาพโดยอาศัยค่าความสว่างโดยรอบจุดภาพนั้น โดยเกี่ยวข้องกับความถี่เชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่างค่าสูงสุด และต่ำสุดของจุดภาพบนพื้นที่ที่กำหนด หากการเปลี่ยนแปลงของค่าความสว่างบนพื้นที่กำหนดในข้อมูลภาพมีน้อย เรียกว่า พื้นที่ความถี่ต่ำ และหากค่าความสว่างมีการเปลี่ยนแปลงมีมาก เรียกว่า พื้นที่ความถี่สูง ความถี่เชิงพื้นที่ในข้อมูลภาพจะถูกเน้นความคมชัดของภาพที่มีจำนวนน้อยเข้ากับจุดภาพที่มีจำนวนมากหรือกำจัดจุดภาพที่มีส่วนน้อยออกไป

     การเน้นข้อมูลภาพเชิงคลื่น เป็นการปรับแปลี่ยนข้อมูลภาพมากกว่าหนึ่งช่วงคลื่น โดยทั่วไป การเพิ่มความคมชัดของภาพเชิงคลื่นนิยมนำมาใช้งานเพื่อเป้าหมายหลัก เช่น บีบอัดข้อมูลของช่วงคลื่นที่มีความคล้ายคลึง สร้างข้อมูลช่วงคลื่นใหม่ที่สามารถแปลตีความด้วยสายตาได้มากขึ้น นำขั้นตอนวิธีและการแปลงทางคณิตศาสตร์มาใช้งาน และการแสดงผลทางภูมิศาสตร์ที่มีความหลากหลายในรูปภาพสี (R, G, B) ได้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการปรับแก้ข้อมูลจากดาวเทียม 

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการปรับปรุงคุณภาพข้อมูลจากดาวเทียม

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินการตรวจสอบความคลาดเคลื่อน

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ