หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เรียกใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ (Identify geographic information)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-KVSM-486B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เรียกใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ (Identify geographic information)

3. ทบทวนครั้งที่ / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักทำแผนที่และนักสํารวจ


1 2165 นักทำแผนที่และนักสำรวจ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
         ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถเรียกใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ กำหนดขั้นตอนการทำแผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียม (Methodology) กำหนดข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ในการทำแผนที่ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนจัดการงาน วิเคราะห์แหล่งข้อมูลที่ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือหน่วยงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
       สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geomatics Technologist)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10101.01

กำหนดขั้นตอนการทำแผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียม (Methodology)

1. จำแนกข้อมูลเพื่อใช้ในการทำแผนที่คอมพิวเตอร์ 10101.01.01 188389
10101.01

กำหนดขั้นตอนการทำแผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียม (Methodology)

2. ระบุเส้นโครงแผนที่และระบบพิกัด (Map and Map Projection)

10101.01.02 214477
10101.01

กำหนดขั้นตอนการทำแผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียม (Methodology)

3. ดำเนินการใช้ข้อมูลการรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing) ของภาพถ่ายดาวเทียม

10101.01.03 214478
10101.01

กำหนดขั้นตอนการทำแผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียม (Methodology)

4. ระบุระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System)

10101.01.04 214479
10101.01

กำหนดขั้นตอนการทำแผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียม (Methodology)

5. เชื่อมโยงฐานข้อมูล(Database Management System : DBMS)

10101.01.05 214480
10101.02

กำหนดข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ในการทำแผนที่

1. ระบุองค์ประกอบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

10101.02.01 188390
10101.02

กำหนดข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ในการทำแผนที่

2. แยกประเภทข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

10101.02.02 214481
10101.02

กำหนดข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ในการทำแผนที่

3. ระบุลักษณะข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Characteristics) 

10101.02.03 214482
10101.02

กำหนดข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ในการทำแผนที่

4. ระบุลักษณะข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (Attribute Characteristics)

10101.02.04 214483

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

2.    ทักษะการวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

3.    ทักษะการบูรณาการแผนและนโยบาย

4.    ทักษะในการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

5.    ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  1.  ความรู้ด้านองค์ประกอบของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

  2.  ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

  3.  ความรู้ด้านเส้นโครงแผนที่และระบบพิกัด (Map and Map Projection)

  4.  ความรู้ด้านการอ่านแผนที่

  5.  ความรู้ด้านหลักการเบื้องต้นระบบสารสนเทศภูมิสารสนเทศ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      N/A 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

      2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์โครงการโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

     1. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

      1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และสามารถอธิบายความหมายของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-information technology) ระบุข้อมูลที่จำเป็นหรือต้องการในงาน หรือโครงการตามที่หน่วยงานหรือองค์กร ต้องการได้อย่างเหมาะสม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

      เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-information technology) หมายถึง การบูรณาการความรู้และเทคโนโลยีทางด้านการรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing : RS) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) และระบบกำหนด ตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System : GPS) เพื่อประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยที่วิทยาการด้านการรับรู้จากระยะไกลซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการศึกษาองค์ประกอบต่างๆ บนพื้นโลกและในชั้นบรรยากาศ เพื่อศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติได้โดยการเลือกใช้ข้อมูลจากดาวเทียมที่มีความละเอียดของภาพและประเภทของดาวเทียมหลากหลายขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ในแต่ละเรื่องนอกจากนี้ข้อมูลจากการสำรวจจากระยะไกลเป็นข้อมูลที่ได้มาอย่างรวดเร็ว สามารถตอบสนองความต้องการได้ทันทีสำหรับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สามารถจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลและประยุกต์ใช้ในการวางแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกสามารถนำมาใช้กำหนดตำแหน่งเชิงพื้นที่ และติดตามการเคลื่อนที่ของคนและสิ่งของได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจึงเป็นวิทยาการที่สำคัญที่หลายหน่วยงานได้นำมาพัฒนาประเทศในหลากหลายด้าน เช่น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตร ผังเมือง การจราจรและการขนส่ง ความมั่นคงทางการทหาร ภัยธรรมชาติ และการค้าเชิงธุรกิจผลการวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสามารถนำมาประกอบการวางแผนการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

องค์ประกอบของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ 

      1) การรับรู้จากระยะไกล หมายถึง การได้มาของข้อมูล (Data acquisition) โดยใช้อุปกรณ์ตรวจวัดที่อยู่ไกลออกไป และทำการสกัดสารสนเทศ (Information extraction) ต่างๆ จากข้อมูลที่ได้มาจากการตรวจวัดเพื่อทำการวิเคราะห์และประมวลผล ซึ่งองค์ประกอบทั้งสองส่วนนี้มีกระบวนการเริ่มจากการส่งพลังงานจากแหล่งพลังงานเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล การสกัดสารสนเทศต่างๆ ออกมาจากข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดไปจนถึงการนำข้อมูลไปช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ รายละเอียด แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือการรับรู้จากระยะไกลแบบแพสซิฟ (Passive remote sensing system) และการรับรู้จากระยะไกลแบบแอ็กทิฟ (Active remote sensing system)

     2) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นระบบสารสนเทศที่นำเอาข้อมูลมารวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ สามารถทำการสืบค้นข้อมูลและปรับปรุงข้อมูล รวมไปถึงการนำเอาข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้ ข้อมูลที่นำมารวบรวมและจัดเก็บในระบบที่สามารถนำไปจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) โดยข้อมูลเชิงพื้นที่ยังมีการเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลลักษณะประจำ (Attribute data) ที่ใช้อธิบายรายละเอียดของปรากฏการณ์และคุณลักษณะของข้อมูลเชิงพื้นที่นั้นๆ ซึ่งจะทำให้การนำข้อมูลไปใช้มีความถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

    3) ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก เป็นระบบโครงข่ายดาวเทียมระบุตำแหน่งจำนวนอย่างน้อย 24 ดวงรอบโลก โดยโคจรอยู่เหนือพื้นโลกประมาณ 20,200 กิโลเมตร ซึ่งดาวเทียมมีชื่ออ้างอิงว่า NAVSTAR เดิมระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกได้ถูกออกแบบมาใช้ในภารกิจทางทหารโดยกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของระบบ ต่อมาจึงได้เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ประโยชน์นี้โดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใด ทำให้มีผู้ใช้ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกอย่างแพร่หลาย ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกจะรับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อหาตำแหน่ง ณ จุดใดๆ บนโลกอ้างอิงกับระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่จำกัดสภาพอากาศแต่อย่างใด จึงนับได้ว่าเป็นระบบนำทางที่ดีในปัจจุบัน ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกทำงานได้โดยอาศัยการรับสัญญาณจากดาวเทียมอย่างน้อย 3 ดวง ซึ่งสามารถคำนวณตำแหน่งที่อยู่ในแบบ 2 มิติ คือ เฉพาะค่าในแนวราบ และหากระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกรับดาวเทียมได้ 4 ดวงขึ้นไป จะทราบตำแหน่งที่อยู่ในแบบ 3 มิติ คือ ตำแหน่ง และความสูง

      เส้นโครงแผนที่และระบบพิกัด (Map and Map Projection) เนื่องจากรูปทรงของโลกเป็นทรงรี (Ellipsoid) และมีพื้นผิวโค้ง การถ่ายทอดหรือจำลองสิ่งต่างๆ บน พื้นผิวโลกลงบนกระดาษแผ่นราบ หรือทำเป็นแผนที่ ทำให้มีความแตกต่างกันของพื้นผิวทั้งสอง กล่าวคือเมื่อจำลองรูปทรงของโลกให้เป็นแผนที่แผ่นแบนราบแล้วจะเกิดการบิดเบี้ยว (Distortion) ขึ้น จากข้อเท็จจริงในการจำลองผิวทรงรีของโลกลงบนแผ่นกระดาษ จึงไม่มีแผนที่ฉบับไหนที่แสดงลักษณะต่างๆ บนพื้นผิวโลกตามสภาพความเป็นจริงได้ถูกต้องทั้งหมด หากจำลองลักษณะบนพื้นผิวโลกให้ถูกต้อง ต้องจำลองบนลูกโลก (Globe) เป็นทรงกลมใกล้เคียงกับโลก แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องมาตราส่วนเนื่องจากไม่สามารถใช้ลูกโลกที่มีมาตราส่วนใหญ่ได้ รายละเอียดบนพื้นผิวโลกจึงไม่สามารถบรรจุลงบนลูกโลกได้มาก หรืออาจต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องจำลองพื้นผิวโลกบนกระดาษแผ่นราบ แผนที่ทุกแผ่นถ้าจะต้องรักษาคุณสมบัติเกี่ยวกับทิศทาง พื้นที่ หรือรูปร่าง แผนที่จะมีการบิดเบี้ยวจากพื้นผิวโลกที่แท้จริง เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาต่างๆ ในการทำแผนที่ทำให้เกิดแนวความคิดในการสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นหลักการสร้างเส้นโครงแผนที่ เป็นการฉายเงาของวัตถุต่างๆ ที่มีทรวดทรงไปปรากฏบนพื้นราบหลักการนี้นำไปสร้างเส้นโครงแผนที่โดยการฉายแสงผ่านลูกโลกจำลองที่มีลักษณะโปร่งใส เพื่อให้เงาของเส้นขนาน(Parallel) และเส้นเมริเดียน (Meridian) บนผิวโลกไปปรากฏบนพื้นราบที่ใช้ทำแผนที่ อย่างไรก็ตามในการสร้างเส้นโครงแผนที่อาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ประกอบการสร้างรูปเชิงเรขาคณิตเป็นหลักใหญ่พื้นผิวที่ใช้ในการจำลองเพื่อให้เงาของเส้นขนานและเส้นเมริเดียนปรากฏ ที่ได้รับการพัฒนาใช้แสดงเป็นเส้นโครงแผนที่ประกอบด้วย พื้นผิวทรงกรวย พื้นผิวรูปทรงกระบอก และพื้นผิวแบนหรือพื้นระนาบ

   เส้นโครงแผนที่ หมายถึง ระบบของเส้นที่ประกอบไปด้วยเส้นขนาน และเส้นเมริเดียน ที่ใช้ในการถ่ายทอดลักษณะทรงกลมของโลกลงบนพื้นราบ โดยใช้หลักการสร้างรูปเรขาคณิต หรือการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อรักษาระยะทาง พื้นที่ ทิศทาง หรือรูปร่าง ไว้ตามอัตราส่วน ให้ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงบนโลกเส้นโครงแผนที่เมื่อนำไปใช้ในการทำงานด้านแผนที่

    ระบบพิกัดในแผนที่ (Coordinate systems on maps) เนื่องจากโลกเป็นทรงกลมเมื่อมีการกำหนดตำแหน่งต่างๆ บนโลก จึงต้องถ่ายทอดตำแหน่งจากพื้นที่จริงลงมาสู่แผนที่ด้วยระบบพิกัด โดยระบบพิกัดแผนที่ คือ การอ้างอิงตำแหน่งของโลกที่ถ่ายทอดลงมาสู่แผนที่ซึ่งมีลักษณะแบนราบ โดยกำหนดให้มีจุดกำเนิดของพิกัดอยู่บนผิวโลก และมีลักษณะเป็นระบบพิกัดฉาก อันเกิดจากการตัดกันของแกนสมมติ ตั้งแต่ 2 แกนขึ้นไป ระบบพิกัดแผนที่มีอยู่ด้วยกันสองชนิด คือ ระบบพิกัด 2 มิติ และระบบพิกัด 3 มิติ ซึ่งพิกัดเหล่านี้ได้อ้างอิงกับตำแหน่งบนโลกด้วยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์

   ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic coordinate systems) เป็นระบบพิกัดที่กำหนดตำแหน่งต่างๆ บนพื้นโลก ด้วยวิธีการอ้างอิงบอกตำแหน่งเป็นค่าระยะเชิงมุมของละติจูด (Latitude) และลองจิจูด (Longitude) ตามระยะเชิงมุมที่ห่างจากศูนย์กำเนิดของละติจูดและลองจิจูดที่กำหนดขึ้นสำหรับศูนย์กำเนิดของละติจูด (Origin of latitude) นั้น กำหนดขึ้นจากแนวระดับที่ตัดผ่านศูนย์กลางของโลกและตั้งฉากกับแกนหมุน เรียกแนวระนาบศูนย์กำเนิดนั้นว่า เส้นระนาบศูนย์สูตรซึ่งแบ่งโลกออกเป็นซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ฉะนั้นค่าระยะเชิงมุมของละติจูด จะเป็นค่าเชิงมุมที่เกิดจากมุมที่ศูนย์กลางของโลก กับแนวระดับฐานกำเนิดมุมที่เส้นระนาบศูนย์สูตร โดยวัดค่าของมุมออกไปทางซีกโลกเหนือและทางซีกโลกใต้ ค่าของมุมจะสิ้นสุดที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ มีค่าเชิงมุม 90 องศาพอดี ดังนั้นการใช้ค่าระยะเชิงมุมของละติจูดอ้างอิงบอกตำแหน่งต่างๆ นอกจากจะกำหนดเรียกค่าวัดเป็น องศา ลิปดา และพิลิปดา แล้ว จะกำกับด้วยตัวอักษรบอกทิศทางเหนือหรือใต้เสมอ

    ระบบพิกัดยูทีเอ็ม (UTM coordinate systems) ระบบพิกัดยูทีเอ็ม เป็นระบบที่ปรับมาจากระบบเส้นโครงแผนที่แบบทรานสเวิร์สเมอร์เคเตอร์ เพื่อเป็นการรักษารูปร่างโดยใช้ทรงกระบอกตัดลูกโลกระหว่างละติจูด 84 องศาเหนือ - 80 องศาใต้ โดยมีรัศมีทรงกระบอกสั้นกว่ารัศมีของลูกโลก ผิวทรงกระบอกจะผ่านเข้าไปตามแนวเมริเดียนของโซน 2 แนว คือ ตัดเข้ากับตัดออกเรียกลักษณะนี้ว่า เส้นตัด (Secant) ทำให้ความถูกต้องมีมากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณสองข้างเมริเดียนกลาง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการกำหนดขั้นตอนการทำแผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียม (Methodology)   

     1. แบบฟอร์มประเมินผลข้อสอบข้อเขียน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินความกำหนดข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ในการทำแผนที่

     1. แบบฟอร์มประเมินผลข้อสอบข้อเขียน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ