หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (Analysis geographic information)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-UPMJ-501B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ (Analysis geographic information)

3. ทบทวนครั้งที่ / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักทำแผนที่และนักสํารวจ


1 2165 นักทำแผนที่และนักสำรวจ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
         ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ประเมินข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) สืบค้นข้อมูล (Query database)  เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ จัดทำแผนที่ และสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน โครงการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือหน่วยงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geomatics Technologist)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10203.01

ประเมินข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)

1. ค้นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial search)

10203.01.01 188527
10203.01

ประเมินข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)

2. ซ้อนทับเชิงพื้นที่ (Spatial Overlay)

10203.01.02 214679
10203.01

ประเมินข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)

3. สร้างแนวกันชน (Buffer operation)

10203.01.03 214680
10203.01

ประเมินข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)

4. ประมาณค่าเชิงพื้นที่ (Spatial interpretation)

10203.01.04 214681
10203.01

ประเมินข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)

5. ประเมินพื้นที่ (Area)

10203.01.05 214682
10203.01

ประเมินข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)

6. ประเมินระยะทาง (Length)

10203.01.06 214683
10203.01

ประเมินข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)

7. ประเมินพิกัด (X,Y)

10203.01.07 214684
10203.02

สืบค้นข้อมูล (Query database) ขั้นพื้นฐาน

1. สืบค้นข้อมูลทั่วไป (Identify)

10203.02.01 188532
10203.02

สืบค้นข้อมูล (Query database) ขั้นพื้นฐาน

2. ค้นหาข้อมูล (Find)

10203.02.02 214685
10203.02

สืบค้นข้อมูล (Query database) ขั้นพื้นฐาน

3. วัดระยะทางบนแผนที่ (Measurements)

10203.02.03 214686

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

2.    ทักษะการวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

3.    ทักษะการบรูณาการแผนและนโยบาย

4.    ทักษะในการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

5.    ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  1.  ความรู้ด้านองค์ประกอบของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

  2.  ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

  3.  ความรู้ด้านเส้นโครงแผนที่และระบบพิกัด (Map and Map Projection)

  4.  ความรู้ด้านการอ่านแผนที่

  5.  ความรู้ด้านหลักการเบื้องต้นระบบสารสนเทศภูมิสารสนเทศ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      N/A

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

     2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์โครงการโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

     1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1)    ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ระบุข้อมูลที่จำเป็นหรือต้องการในงาน หรือโครงการตามที่หน่วยงานหรือองค์กร ต้องการได้อย่างเหมาะสม



(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

  กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา โดยทั่วไปเป็นการแสดงผลระหว่างความสัมพันธ์ของทอพอโลยี (Topology) กับข้อมูลเชิงบรรยาย โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการทำงาน เช่น ระบุลักษณะประจำของกราฟฟิก การวัดระยะทาง การคำนวณพื้นที่ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการวิเคราะห์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การค้นหาผลของการซ้อนทับปัจจัย การวิเคราะห์เส้นทางเข้าถึงที่ใกล้ที่สุด การประเมินค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมในการปลูกพืช การพยากรณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น รูปแบบการทำงานดังกล่าว ผู้ปฏิบัติงานเป็นฝ่ายตั้งถามและเลือกใช้ความสามารถในการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แบ่งออกตามลักษณะการทำงานได้ 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ การค้นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial search) การซ้อนทับเชิงพื้นที่ (Spatial overlay) การสร้างแนวกันชน (Buffer operation) และการประมาณค่าเชิงพื้นที่ (Spatial interpretation) โดยในแต่ละกระบวนการ สามารถจำแนกลักษณะการทำงานที่มีความคล้ายคลึงกันได้ดังนี้

    การค้นหาเชิงพื้นที่  ถือเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องการทราบข้อมูล

ต่าง ๆ เพื่อใช้ในประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นการสอบถามเพื่อทราบรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ การสอบโดยการตั้งเงื่อนไข (Condition) แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง (Trend) รูปแบบการเปลี่ยนแปลง (Pattern) การสร้างแบบจำลอง (Modeling) ทั้งนี้การค้นข้อมูลเชิงพื้นที่แบ่งออกเป็นการค้นหาจากข้อมูลลักษณะประจำ การค้นหาจากข้อมูลเชิงพื้นที่โดยตรง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ร่วมกับข้อมูลเชิงบรรยาย

การซ้อนทับเชิงพื้นที่ จำเป็นต้องวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยมากกว่า 1 ปัจจัย วิธีการที่นิยมใช้ตอบโจทย์ปัญหาเชิงพื้นที่ลักษณะดังกล่าว คือ “การซ้อนทับข้อมูล” ตามเงื่อนไขที่ได้จากการวิเคราะห์ซึ่งอาจเป็นแบบคณิตศาสตร์ หรือตรรกศาสตร์ เพื่อได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่ละชั้นข้อมูลจำเป็นต้องมีระบบพิกัดที่ตรงกัน ผลการซ้อนทับจะได้ชั้นข้อมูลใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ที่ต้องการได้ ลักษณะการซ้อนทับชั้นข้อมูล ประเภทจุด เส้น และพื้นที่รูปปิด

    การสร้างแนวกันชน หลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ได้รับความนิยม คือ การหาพื้นที่ใกล้เคียง (ใกล้ชิด)  ของวัตถุ กระบวนการดังกล่าวนอกจากใช้ตอบคำถามว่าตำแหน่งไหนอยู่ที่ใดแล้ว ยังตอบได้ว่ามีสิ่งใดอยู่ใกล้กับวัตถุเป้าหมายอีกด้วย วิธีการฟังก์ชันใกล้เคียง การคำนวณค่าที่อยู่ใกล้เคียง การคำนวณพื้นที่ส่วนที่ขยายออก 

และการคำนวนเพื่อค้นหา 

   การประมาณค่าเชิงพื้นที่ เป็นการพยากรณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ยังไม่เกิดขึ้น รวมถึงการประมาณค่าข้อมูลที่ไม่เพียงพอ การประมาณค่าดังกล่าวนอกจากจะใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าที่สูญหายไปแล้ว ยังใช้เพื่อจำลองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ลักษณะภูมิประเทศ แนวโน้มการกระจายตัวของประชากรในพื้นที่หนึ่ง เพื่อวิเคราะห์ความหนาแน่นของข้อมูล

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) 

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการสืบค้นข้อมูล (Query database) 

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ