หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แปลตีความข้อมูลภาพ (Raster Data) (Interpreting image data (Raster Data))

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-ZMYB-495B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แปลตีความข้อมูลภาพ (Raster Data) (Interpreting image data (Raster Data))

3. ทบทวนครั้งที่ / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักทำแผนที่และนักสํารวจ


1 2165 นักทำแผนที่และนักสำรวจ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
         ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถแปลตีความข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม จำแนกประเภทข้อมูลภาพแบบกำกับ จำแนกประเภทข้อมูลภาพแบบไม่กำกับดูแล ประเมินความถูกต้องของการจำแนกประเภทข้อมูลภาพ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ จัดทำแผนที่ และสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน โครงการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือหน่วยงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
       สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10304.01

จำแนกประเภทข้อมูลภาพแบบกำกับดูแล (Supervised classification)

1. จำแนกแบบความน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum likelihood classification)

10304.01.01 188461
10304.01

จำแนกประเภทข้อมูลภาพแบบกำกับดูแล (Supervised classification)

2. จำแนกแบบระยะห่างต่ำสุด (Minimum distance to means)

10304.01.02 214608
10304.01

จำแนกประเภทข้อมูลภาพแบบกำกับดูแล (Supervised classification)

3. จำแนกแบบสี่เหลี่ยมด้านขนาน (Parallelepiped classification or box classifier)

10304.01.03 214609
10304.02

จำแนกประเภทข้อมูลภาพแบบไม่กำกับดูแล (Unsupervised classification)

1. กำหนดช่วงคลื่นข้อมูลดาวเทียม

10304.02.01 188462
10304.02

จำแนกประเภทข้อมูลภาพแบบไม่กำกับดูแล (Unsupervised classification)

2. กำหนดจำนวนประเภทข้อมูล 

10304.02.02 214610
10304.02

จำแนกประเภทข้อมูลภาพแบบไม่กำกับดูแล (Unsupervised classification)

3. กำหนดสมการจำแนกประเภทข้อมูล

10304.02.03 214611
10304.02

จำแนกประเภทข้อมูลภาพแบบไม่กำกับดูแล (Unsupervised classification)

4. กำหนดจำนวนวงรอบการคำนวณ

10304.02.04 214612
10304.03

ประเมินความถูกต้องของการจำแนกประเภทข้อมูลภาพ (Accuracy assessment)

1. กำหนดขนาดของตัวอย่าง (Sample size)

10304.03.01 188463
10304.03

ประเมินความถูกต้องของการจำแนกประเภทข้อมูลภาพ (Accuracy assessment)

2. ระบุวิธีการสุ่มตัวอย่าง (Sampling design)

10304.03.02 214613
10304.03

ประเมินความถูกต้องของการจำแนกประเภทข้อมูลภาพ (Accuracy assessment)

3. ระบุเมทริกซ์ความผิดพลาด (Error matrix) 

10304.03.03 214614
10304.03

ประเมินความถูกต้องของการจำแนกประเภทข้อมูลภาพ (Accuracy assessment)

4. ประเมินผลเมทริกซ์ความผิดพลาด (Evaluation of error matrix)

10304.03.04 214615

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

2.    ทักษะการวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

3.    ทักษะการบรูณาการแผนและนโยบาย

4.    ทักษะในการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

5.    ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  ความรู้ด้านองค์ประกอบของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

2.  ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

3.  ความรู้ด้านเส้นโครงแผนที่และระบบพิกัด 

4.  ความรู้ด้านการอ่านแผนที่

5.  ความรู้ด้านหลักการเบื้องต้นระบบสารสนเทศภูมิสารสนเทศ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน 

     N/A 

(ข) หลักฐานความรู้ 

     1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

     2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์โครงการโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

     1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ ความเข้าใจ การเครื่องมือประเมินการประเมินความถูกต้องของการจำแนกประเภทข้อมูลภาพ ระบุข้อมูลที่จำเป็นหรือต้องการในงาน หรือโครงการตามที่หน่วยงานหรือองค์กร ต้องการได้อย่างเหมาะสม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     การจำแนกประเภทข้อมูลภาพ ข้อมูลที่ต้องประมวลผลและสกัดรูปลักษณ์ต้องถูกวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อกำหนดประเภทข้อมูล เฉพาะให้แต่ละจุดภาพ โดยแต่ละจุดภาพที่ถูกจัดเข้ากลุ่มเดียวกันอาจสอดคล้องกับขอบเขตบนพื้นดิน ซึ่งมีคุณสมบัติทางธรณีวิทยาและชีวภาพเหมือนกัน เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน คุณภาพน้ำธรณีวิทยา เป็นต้นโดยทั่วไป

การจำแนกแบบกำกับดูแล เป็นการกำหนดประเภทข้อมูลจากสารสนเทศที่รู้จักมาก่อนล่วงหน้าใน พื้นที่ตัวอย่าง เพื่อให้เป็นตัวแทนของประเภทข้อมูลทั้งบนพื้นดินและบนภาพโดยอาศัยคุณลักษณะเชิงคลื่น จากนั้นจะถูกใช้เพื่อกฏเกณฑ์ทาง สถิติให้กับขั้นตอนวิธีการจำแนกสิ่งปกคลุมดินของข้อมูลจุดภาพที่ยังไม่ได้ระบุประเภทข้อมูลส่วนที่เหลือทั้งนี้จะใช้ค่าทางสถิติแบบหลายตัวแปร เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เมทริกซ์ของค่าความแปรปรวนร่วม เมทริกซ์สหสัมพันธ์ เป็นต้น ในการคำนวณพื้นที่ตัวอย่างของแต่ละประเภทข้อมูล จากนั้นจุดภาพที่อยู่ภายในและภายนอก พื้นที่ตัวอย่างแต่ละจุดภาพจะถูกประเมินและกำหนดประเภท โดยพิจารณาค่าควรจะเป็นสูงที่สุดของการเป็นสมาชิกของแต่ละประเภทข้อมูล 

     1) การจำแนกแบบความน่าจะเป็นสูงสุด การตัดสินความน่าจะเป็นสูงสุดจะขึ้นอยู่กับความน่าจะเป็น ซึ่งกำหนดให้มีการวัดรูปแบบของค่าการสะท้อนในแต่ละจุดภาพให้กับประเภทข้อมูลใด ๆ ซึ่งมีความน่าจะเป็นหรือมีโอกาสเป็นรูปลักษณ์ของประเภทข้อมูลนั้น ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า ความน่าจะเป็นของการเป็นสมาชิกของจุดภาพในแต่ละประเภทข้อมูลทั้งหมดที่ถูกกำหนดไว้ในพื้นที่ตัวอย่างจะถูกการคำนวณ หลังจากนั้นจุดภาพจะถูกกำหนดให้เป็นประเภทข้อมูลใดประเภทข้อมูลหนึ่งจากค่าความน่าจะเป็นสูงสุด

   2) การจำแนกแบบระยะห่างต่ำสุด การตัดสินการเป็นสมาชิกของจุดภาพในแต่ละประเภทข้อมูลที่กำหนดขึ้น อาศัยระยะห่างของจุดภาพนั้นเทียบกับศูนย์กลางของกลุ่มข้อมูลทั้งหมดที่ถูกระบุไว้ในพื้นที่ตัวอย่าง ซึ่งคือจุดที่เป็นตำแหน่งค่าการสะท้อนเฉลี่ยของแต่ละประเภทข้อมูลใด ๆ จากนั้นแต่ละจุดภาพจะถูกกำหนดเข้าสู่กลุ่มข้อมูลที่มีระยะห่างดังกล่าวน้อยที่สุดอย่างไรก็ตาม แม้ว่าตัดสินให้แต่ละจุดภาพเข้าสู่ประเภทข้อมูลลักษณะนี้ จุดภาพทั้งหมดจะถูกจัดเข้าสู่ประเภทข้อมูลใดประเภทข้อมูลหนึ่งได้เสมอ แต่ในบางกรณี บางจุดภาพอาจไม่สามารถเข้ากับกลุ่มข้อมูลใด ๆ ได้ เนื่องจากอยู่ห่างจากศูนย์กลางของแต่ละกลุ่มมากเกินไป ในกรณีนี้ อาศัยการกำหนดระยะห่างมากที่สุดที่ยอมรับได้ มาใช้กำหนดการเข้าสู่กลุ่ม และแยกจุดภาพที่ไม่สามารถเป็นสมาชิกของกลุ่มใด ๆ ได้เลย ออกมาเป็นอีกประเภทข้อมูลหนึ่ง วิธีการนี้จะกำหนดให้จุดภาพที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางของกลุ่มข้อมูลใด ๆ เกินระยะที่กำหนดไว้จะไม่สามารถเข้าสู่ประเภทข้อมูลนั้น ถึงแม้ว่าระยะห่างจากจุดภาพถึงศูนย์กลางจะน้อยที่สุดก็ตาม

   3) การจำแนกแบบสี่เหลี่ยมด้านขนาน การจำแนกแบบสี่เหลี่ยมด้านขนานหรือแบบกล่อง ถือว่าเป็นวิธีการจำแนกประเภทข้อมูลที่ง่ายที่สุด โดยที่ขอบเขตของแต่ละกลุ่มข้อมูลจะถูกกำหนดโดยอาศัยค่าต่ำสุดและสูงสุดคงที่ค่าหนึ่ง โดยทั่วไปจะใช้ค่าการสะท้อนสูงสุดและต่ำสุดในแต่ละช่วงคลื่น แต่ในบางครั้งอาจใช้ค่าเฉลี่ย หรือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ได้เช่นกัน ทั้งนี้ในการกำหนดค่าสูงสุดและต่ำสุดอาศัยค่าการสะท้อนเป็นขอบเขตของกลุ่มข้อมูล ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ของแต่ละกลุ่มข้อมูลคล้ายกับกล่องสี่เหลี่ยมในปริภูมิรังสี โดยในการคำนวณค่าทางสถิติดังกล่าวจะจำแนกให้แต่ละจุดภาพไปอยู่ในกล่องใดกล่องหนึ่ง แต่หากไม่สามารถจำแนกเพื่อเข้าสู่กล่องใด ๆ ได้จะถูกจัดไว้ในประเภทข้อมูลที่จำแนกไม่ได้ (Rejected หรือ unknown class)

การจำแนกแบบไม่กำกับดูแล มักนำมาใช้ในกรณีที่ไม่ทราบชื่อประเภทข้อมูลของสิ่งปกคลุมดินที่ต้องการใช้กำหนดประเภทข้อมูลภายในข้อมูลภาพ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการขาดข้อมูลอ้างอิงทางภาคพื้นดินหรือรูปลักษณ์ของพื้นผิวภายในข้อมูลภาพไม่สามารถกำหนดได้อย่างชัดเจนโดยขั้นตอนวิธีการ ที่เลือกใช้จะทำการจัดกลุ่มจุดภาพที่มีคุณลักษณะของค่าการสะท้อนคล้ายคลึงกันเข้าในกลุ่มตามกฏเกณฑ์ที่ถูกกำหนดทางสถิติ หลังจากนั้นจึงทำการกำหนดชื่อประเภทข้อมูลในภายหลัง โดยในการการจัดกลุ่มจุดภาพจะใช้เทคนิคการจัดกลุ่มข้อมูล ทั้งนี้ในการทำงานข้อมูลที่อยู่บนภาพ จะถูกแยกออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ โดยอาศัยรูปแบบการกระจายตัวของจุดภาพที่ปรากฏในปริภูมิรังสีเรียกว่า กลุ่มเชิงรังสี ของการจำแนก จากนั้นจึงกำหนดจำนวนกลุ่มที่ต้องการจำแนกออก เช่น 3 กลุ่ม 5 กลุ่ม หรือ 15 กลุ่ม เป็นต้น

    การประเมินความถูกต้องของการจำแนกประเภทข้อมูลภาพ จะกระทำภายหลังการจำแนกเสร็จสมบูรณ์ โดยเปรียบเทียบผลการจำแนกประเภทที่ได้จากภาพกับข้อมูลในภาคสนาม โดยการพัฒนาสารสนเทศในรูปของของตารางเมตริกซ์ของความผิดพลาด สำหรับใช้ในการประเมินความถูกต้องของแต่ละประเภทและผลการจำแนกโดยรวมสามารถประเมินได้จากเกณฑ์ 2 ประเภทคือ ความถูกต้องของตำแหน่งที่ตั้ง หมายถึง การวัดความถูกต้องเชิงตำแหน่งของสิ่งที่ปรากฏบนแผนที่เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับตำแหน่งจริงในภาคพื้นดินว่ามีความถูกต้องมากน้อยอย่างไร และความถูกต้องของการจำแนก หมายถึง ความถูกต้องของประเภทที่จำแนกว่าสอดคล้องกับประเภททางภาคพื้นดินมากน้อยอย่างไรอย่างไรก็ตาม การตรวจสอบความถูกต้องของผลการจำแนกเพื่อความน่าเชื่อถือของผลการศึกษาควรทำทั้งเชิงคุณภาพ โดยจะเน้นศึกษาความถูกต้องโดยรวมของผลการจำแนก เมื่อเทียบกับตำแหน่งจริงในภาคพื้นดิน และเชิงปริมาณ ที่จะเน้นศึกษาเรื่องรูปแบบและระดับของความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด

    ขนาดของตัวอย่าง เป็นการอ้างอิงทางภาคพื้นดินสำหรับใช้ในการประเมินความถูกต้องของแต่ละประเภทของแผนที่ที่สร้างจากการจำแนกข้อมูลการรับรู้จากระยะไกล โดยทั่วไป สามารถประมาณขนาดของตัวอย่างได้หลายวิธีการ เช่น วิธีการทางสถิติแบบดั้งเดิม การคำนวณบนพื้นฐานการแจกแจงทวินาม และการคำนวณบนพื้นฐานการแจกแจงอเนกนาม เป็นต้น

วิธีการสุ่มตัวอย่าง เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทดสอบอ้างอิงภาคพื้นดินสำหรับการประเมินความถูก เช่น การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ การสุ่มตัวอย่างแบบจำแนกชั้น การสุ่มตัวอย่างแบบจำแนกชั้นอย่างมีระบบแบบไม่เป็นเส้นตรง และการสุ่มตัวอย่างแบบรวมกลุ่ม เป็นต้น

     เมทริกซ์ความผิดพลาด สามารถแสดงในรูปของตาราง โดยที่ คอลัมน์ของเมทริกซ์แสดงข้อมูลอ้างอิงภาคพื้นดินและแถวของเมทริกซ์แสดงผลการจำแนกประเภทข้อมูล จำนวนของตัวอย่างทั้งหมดเท่ากับ N จุดภาพ แนวเส้นทแยงมุมของเมทริกซ์แสดงจำนวนจุดภาพที่จำแนกได้ถูกต้อง ความผิดพลาดของการจำแนกประเภทข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูลอ้างอิงภาคพื้นดินแสดงไว้ในเซลล์นอกแนวเส้นทแยงมุมของเมทริกซ์โดยความผิดพลาดที่เกิดขึ้นแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ส่วนที่ขาดหายไป ของประเภทข้อมูลที่ต้องจำแนกให้ถูกต้อง และส่วนที่เกินเข้ามา ของประเภทที่ได้จำแนกผิดพลาด ผลรวมของคอลัมน์ภายในตารางของเมทริกซ์นอกแนวเส้นทแยงมุมของเมทริกซ์จะใช้ในการคำนวณความถูกต้องของผู้ผลิต และความผิดพลาดของส่วนที่ขาดหายไป ในขณะเดียวกัน ผลรวม ของแถวภายในตารางของเมทริกซ์นอกแนวเส้นทแยงมุมของเมทริกซ์จะใช้ในการคำนวณความถูกต้องสำหรับผู้ใช้ และความผิดพลาดของส่วนเกินเข้ามา 

      การประเมินผลเมทริกซ์ความผิดพลาด จะทำภายหลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลทดสอบอ้างอิงทางภาคพื้นดินจากตำแหน่งที่ตั้งที่กำหนดแบบสุ่ม ข้อมูลทดสอบจะถูกนำมาเปรียบเทียบแบบจุดภาพต่อจุดภาพ (หรือพื้นที่รูปพื้นต่อพื้นที่รูปปิดหากข้อมูลจากการรับรู้จากระยะไกลแปลตีความด้วยสายตา) กับแผนที่การจำแนกจากข้อมูลระยะไกล ความสอดคล้องหรือขัดแย้งถูกแสดงในเซลล์ของเมทริกซ์ความผิดพลาดจากนั้น ข้อมูลในเมทริกซ์ความผิดพลาดจะถูกนำไปใช้ประเมินโดยอาศัยหลักการทางสถิติ ด้วยวิธีสถิติเชิงพรรณาแบบง่ายและสถิติการวิเคราะห์หลายตัวแปร 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการจำแนกประเภทข้อมูลภาพแบบกำกับ 

    1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินการจำแนกประเภทข้อมูลภาพแบบไม่กำกับดูแล 

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.3 เครื่องมือประเมินความถูกต้องของการจำแนกประเภทข้อมูลภาพ 

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ