หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ระบุข้อมูลภาพ (Raster Data) (Specify image data (Raster Data))

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-TOEO-492B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ระบุข้อมูลภาพ (Raster Data) (Specify image data (Raster Data))

3. ทบทวนครั้งที่ / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักทำแผนที่และนักสํารวจ


1 2165 นักทำแผนที่และนักสำรวจ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
         ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถระบุข้อมูลภาพ (Raster Data) เข้าใจโครงสร้างของข้อมูลภาพ คุณลักษณะของข้อมูลภาพ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ จัดทำแผนที่ และสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน โครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือหน่วยงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
       สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อาชีพนักเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geomatics Technologist)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10301.01

บ่งชี้โครงสร้างของข้อมูลภาพ

1. จำแนกข้อมูลอนาล็อก (Analog data) และ ข้อมูลภาพเชิงเลข (Digital data)

10301.01.01 188452
10301.01

บ่งชี้โครงสร้างของข้อมูลภาพ

2. เลือกประเภทของข้อมูลภาพที่เหมาะสมแก่ผู้ใช้งาน

10301.01.02 214530
10301.02

จำแนกคุณลักษณะของข้อมูลภาพ

1. ระบุความละเอียดเชิงคลื่น (Spectral resolution) 

10301.02.01 188453
10301.02

จำแนกคุณลักษณะของข้อมูลภาพ

2. ระบุความละเอียดเชิงพื้นที่ (Spatial resolution)

10301.02.02 214531
10301.02

จำแนกคุณลักษณะของข้อมูลภาพ

3. ระบุความละเอียดเชิงคลื่นรังสี (Radiometric resolution)

10301.02.03 214532
10301.02

จำแนกคุณลักษณะของข้อมูลภาพ

4. ระบุความละเอียดเชิงเวลา (Temporal resolution)

10301.02.04 214533

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

2.    ทักษะการวางแผนและวิเคราะห์โครงการ

3.    ทักษะการบรูณาการแผนและนโยบาย

4.    ทักษะในการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

5.    ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  1.  ความรู้ด้านองค์ประกอบของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

  2.  ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

  3.  ความรู้ด้านเส้นโครงแผนที่และระบบพิกัด (Map and Map Projection)

  4.  ความรู้ด้านการอ่านแผนที่

  5.  ความรู้ด้านหลักการเบื้องต้นระบบสารสนเทศภูมิสารสนเทศ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      N/A 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

     2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์โครงการโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

    1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และสามารถเข้าใจและเลือกใช้ข้อมูลภาพ ระบุข้อมูลที่จำเป็นหรือต้องการในงาน หรือโครงการตามที่หน่วยงานหรือองค์กร ต้องการได้อย่างเหมาะสม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     เครื่องรับรู้ จำแนกระบบออกเป็น 3 แบบ คือ ระบบกล้องถ่ายรูป ระบบแพสซีฟ และ ระบบแอกทีฟ ผู้ปฎิบัติต้องทราบถึงคุณลักษณะของข้อมูลภาพเพื่อใช้ในงานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

      1) ความละเอียดเชิงคลื่น หมายถึง ช่วงความยาวคลื่นเฉพาะในสเปคตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่เครื่องมือตรวจวัดสามารถบันทึกได้ เช่น แบนด์ 1 ของเครื่องมือตรวจวัดของดาวเทียมแลนด์แซต (LANDSAT) ระบบ Thematic Mapper (TM) จะบันทึกพลังงานระหว่างช่วงคลื่น 0.45-0.52 ไมครอน ในช่วงคลื่นสายตามองเห็นของสเปคตรัม

      2) ความละเอียดเชิงพื้นที่ หมายถึง ขนาดของวัตถุเล็กที่สุดที่สามารถแยกชัดโดยเครื่องมือตรวจวัด หรือความสามารถแสดงผลพื้นที่ทางภาคพื้นดินในแต่ละจุดภาพ ความละเอียดเชิงพื้นที่จะมีค่าตัวเลขน้อยลง เช่น ความละเอียดเชิงพื้นที่เท่ากับ 79 เมตร จะหยาบกว่าความละเอียดเชิงพื้นที่เท่ากับ 10 เมตร ความละเอียดเชิงพื้นที่จะสัมพันธ์กับมาตราส่วนของภาพ

     3) ความละเอียดเชิงคลื่นรังสี หมายถึง จำนวนของค่าไฟล์ข้อมูลที่เป็นไปได้ในแต่ละช่วงคลื่นความละเอียดเชิงคลื่นรังสีถูกบ่งชี้ด้วยจำนวนของบิตซึ่งเป็นค่าพลังงานที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ในการบันทึก เช่น ในข้อมูล 8 บิตค่าไฟล์ข้อมูลมีพิสัยระหว่าง 0 ถึง 255

   4) ความละเอียดเชิงเวลา หมายถึง ความสามารถในการถ่ายภาพซ้าของเครื่องมือตรวจวัดที่จะบันทึกภาพในพื้นที่เดิม เช่น ดาวเทียมแลนด์แซตสามารถถ่ายภาพซ้ำในพื้นที่เดิมของทั่วโลกทุก ๆ 16 วัน ในขณะที่ ดาวเทียมสปอต (SPOT) สามารถถ่ายภาพซ้ำในพื้นที่เดิมทุก ๆ 26 วัน เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินความเข้าใจโครงสร้างของข้อมูลภาพ

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินคุณลักษณะของข้อมูลภาพ

     1. สาธิตการปฏิบัติงาน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ