คุณวุฒิวิชาชีพ

คุณวุฒิวิชาชีพ

สมรรถนะสนับสนุนในการทำงานผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (GCIO)


รายละเอียด

คุณวุฒิวิชาชีพ
สมรรถนะสนับสนุนในการทำงานผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (GCIO)
คุณลักษณะของผลการเรียนรู้ (Characteristics of Outcomes)

บุคคลที่มีคุณลักษณะของผลการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (Government Chief Information Officer : GCIO) โดยมีความสามารถด้านการควบคุมกำกับ และการปฏิบัติตามกฏหมาย นโยบาย และมาตรฐานการจัดการด้านดิจิทัล (Digital Governance, Standards, and Compliance) ความสามารด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับศักยภาพองค์กร (Digital Technology) ความสามารถด้านการออกแบบกระบวนการและการให้บริการ ด้วยระบบดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพงานภาครัฐ (Digital process and service design) ความสามารถด้านการบริหารกลยุทธ์และการจัดการโครงการ (strategic and project management) ความสามารถด้านผู้นำดิจิทัล (Digital Leadership) ความสามารถด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล (Digital Transformation) เป็น ผู้สนับสนุนการขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Transformation in Chief) ตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ รวมถึงนโยบายและแผนที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติตามความเห็นของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยมีบทบาทในการบูรณาการและนำเทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูล และนวัตกรรม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์องค์กร นำการพัฒนาการบริการและปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของรัฐ (Business and Operating Model) ให้มีความทันสมัยมีประสิทธิภาพ สอดรับกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมรวมถึงความต้องการและวิถีชีวิตของประชาชนและผู้รับบริการ จัดระเบียบองค์กร กระบวนการทำงาน ข้อมูล และเทคโนโลยีภาครัฐ ให้มีลักษณะเปิดกว้าง กะทัดรัด เป็นบูรณาการ เชื่อมโยงกันแบบไร้รอยต่อ มีการแบ่งปันและใช้ประโยชน์ร่วมกันรวมทั้งพัฒนาระบบนิเวศและวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืนบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล ความมั่งคงปลอดภัย และความเป็นส่วนบุคคล

การเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพ (Qualification Pathways)

การเข้าสู่สมรรถนะสนับสนุนการทำงานผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ นั้น ควรเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในองค์กรหรือดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer : CIO) เป็นไปตามแนวทางการบริหารจัดการผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ (Government Chief Information Officer Management Guideline) (ฉบับปรับปรุง) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ และ วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๓ หรือเมื่อมีการปรับปรุง โดย สำนักงาน ก.พ.

กลุ่มบุคคลในอาชีพ (Target Group)
ผู้จัดการด้านการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (1330)

ผู้ที่หน้าที่หรือดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer : CIO) ประจำกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐที่เทียบเท่า หรือ เป็นรองหัวหน้าหน่วยงานระดับ กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานที่เทียบเท่า หรือ ผู้ดำรงตำแหน่ง ประเภทอำนวยการ ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

หน่วยสมรรถนะ (หน่วยสมรรถนะทั้งหมดของคุณวุฒิวิชาชีพนี้)
DG100 ปฏิบัติตามกฎหมายกรอบธรรมาภิบาล (Governance Framework) และหลักปฏิบัติ (Principles) ที่ดีด้านดิจิทัล
DG200 กำกับและตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายกรอบธรรมาภิบาล (Governance Framework) และหลักปฏิบัติที่ดีด้านดิจิทัล
DG300 ประยุกต์ใช้กรอบการดำเนินงานร่วมกันสำหรับพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government InterOperability Framework)
DG500 บริหารความเสี่ยงดิจิทัล (Digital Risk Management)
DG600 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานร่วมระหว่างหน่วยงานของรัฐ
DL100 นำการพัฒนาคนพันธุ์ใหม่ (Digital DNA) สำหรับพัฒนาองค์กรดิจิทัล
DL200 นำการพัฒนาการทำงานร่วมกันเป็นทีมแบบข้ามหน่วยงาน (Across Boundaries)
DL300 เก่งกระบวนงาน เข้าใจองค์กรดิจิทัล และสื่อสารต่อยอดการเปลี่ยนแปลง
DS100 กำหนดกรอบการให้บริการแบบเชื่อมโยงและเทคนิคการออกแบบกระบวนการ
DS200 วางกลยุทธ์การให้บริการสมาร์ทดิจิทัลและนำสู่การปฏิบัติ
DS300 ออกแบบนวัตกรรมบริการ
DS400 สร้างเครือข่ายเพื่อสร้างนวัตกรรมบริการดิจิทัล
DS500 สร้างนวัตกรรมบริการแก่นที่ใช้การได้และสำเร็จได้ (Minimum Viable Service) ในระยะเวลาสั้นและใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด
DS600 ปรับปรุงกระบวนงานและพัฒนานวัตกรรมบริการเพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการดิจิทัลได้อย่างต่อเนื่อง
DS700 บริหารจัดการประสิทธิภาพการบริการและการทำงานดิจิทัล
DT100 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัล
DT200 จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล
DT300 กำกับการใช้งานสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture)
DT500 พัฒนาแผนบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยและความต่อเนื่องการให้บริการแบบดิจิทัล
DT600 วิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อตีความและหาข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
DTR100 ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Transformation)
DTR200 บริหารจัดการกระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัล
DTR300 สนับสนุนการปรับเปลี่ยนสู่องค์กรดิจิทัลได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
SPM100 กำหนดนโยบายและทิศทางเพื่อพัฒนาองค์กรดิจิทัลที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลและการทำงานข้ามหน่วยงาน
SPM200 ออกแบบองค์กรดิจิทัล (Future Design)
SPM300 จัดเตรียมทรัพยากรเพื่อการบูรณาการสำหรับองค์กรดิจิทัล
SPM400 ริเริ่มและวางแผนโครงการภายใต้รัฐบาลดิจิทัล (Project Initiation and Planning)
SPM500 ดำเนินโครงการและควบคุมโครงการดิจิทัล
SPM600 ทบทวนโครงการและ ปิดโครงการ
องค์กรรับรอง ที่สามารถเข้ารับการประเมินสมรรถนะบุคคล
ไม่มี

เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ

ยินดีต้อนรับ