หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล

สมรรถนะสนับสนุนในการทำงานผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DT200

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technology)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความสามารถในการศึกษาองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมองค์กร พร้อมทั้ง จัดทำแบบสถาปัตยกรรมองค์กรได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พ.ร.บ. การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DT201

ศึกษาองค์ประกอบของสถาปัตยกรรม องค์กรปัจจุบัน (AS IS)

1.1 วิเคราะห์ยุทธศาสตร์องค์กรภายใต้บริบทต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยง

DT201.01 191486
DT201

ศึกษาองค์ประกอบของสถาปัตยกรรม องค์กรปัจจุบัน (AS IS)

1.2 วิเคราะห์กระบวนการทำงาน

DT201.02 191487
DT201

ศึกษาองค์ประกอบของสถาปัตยกรรม องค์กรปัจจุบัน (AS IS)

1.3 วิเคราะห์เทคโนโลยี 

DT201.03 191488
DT201

ศึกษาองค์ประกอบของสถาปัตยกรรม องค์กรปัจจุบัน (AS IS)

1.4 วิเคราะห์ระบบข้อมูล 

DT201.04 191489
DT201

ศึกษาองค์ประกอบของสถาปัตยกรรม องค์กรปัจจุบัน (AS IS)

1.5 จัดทำสถานภาพปัจจุบันของสถาปัตยกรรมองค์กร

DT201.05 191490
DT202

จัดทำแบบสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย (TO BE) 

2.1 วิเคราะห์ปัญหาของสถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน

DT202.01 191491
DT202

จัดทำแบบสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย (TO BE) 

2.2 จัดลำดับความสำคัญของปัญหา 

DT202.02 191492
DT202

จัดทำแบบสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย (TO BE) 

2.3 จัดทำทางเลือกในการปรับสถาปัตยกรรมองค์กร

DT202.03 191493
DT202

จัดทำแบบสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย (TO BE) 

2.4 จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรใหม

DT202.04 191494
DT202

จัดทำแบบสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย (TO BE) 

2.5 จัดทำโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมองค์กร

DT202.05 191495

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ทักษะการเรียนรู้ในศตวววษที่ 21

  • ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารจัดการภาครัฐ

  • ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการละเมิด

  • ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ

  • ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • มองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานของตนเองและคนอื่น (Holistic View and Task Linkage)

  • ทักษะการติดตามแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล

  • ทักษะการวิเคราะห์เปรียบเทียบเทคโนโลยี

  • ชอบแก้ปัญหาที่มีความท้าทาย (Problem Solving)

  • มีความคิดริเริ่ม (Innovative)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมาย พันธกิจ กระบวนการทำงานและการให้บริการของหน่วยงาน

  • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture)

  • ความรู้ด้านการกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กร (Architecture Governance)

  • ความรู้ในระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงาน

  • ความรู้ด้านข้อมูลและการวิเคราะห์(Data and Analytic Literacy) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Quantitative and Qualitative)

  • เทคนิคการจัดทำโมเดลข้อมูล (Data Modeling)

  • ความรู้พื้นฐานด้านฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, ระบบเครือข่าย และระบบงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • ประวัติการดำรงตำแหน่ง หรือ ประวัติการทำงาน

  • ผลของการบันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน



(ข) หลักฐานความรู้(Knowledge Evidence)




  • ผลการทดสอบความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศนียบัตรต่างๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  • ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและ หลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  • วางแผน พัฒนาและกำกับดูแลโครงสร้างขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานให้เป็นไปตาม เป้าหมายของยุทธศาสตร์และตามวิสัยทัศน์เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่วัฒนธรรมดิจิทัลและสามารถสร้างคุณค่า จากการลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมกับบริบทขององค์กร แต่ละองค์กรสามารถเลือก แนวทางการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรได้ตามความเหมาะสม

  • การดำเนินการสถาปัตยกรรมองค์กรหรือ EA นั้นสามารถนำรูปแบบหรือเฟรมเวิร์กมาอ้างอิงเพื่อ ปรับปรุงและประยุกต์ใช้ก็ได้ The Open Group Architecture Framework:TOGAF เป็นรูปแบบ ที่องค์กรจำนวนมากนิยมนำมาปรับใช้ในการจัดทำพิมพ์เขียวของสถาปัตยกรรมองค์กร นอกจาก TOGAF ยังมีแนวทางการจัดการที่สนับสนุนการดำเนินการด้านสถาปัตยกรรมองค์กร (EA) เช่น คลังสถาปัตยกรรม (Architecture Repository), การบริหารสถาปัตยกรรม (Architecture Governanced), การสร้างสถาปัตยกรรม (Architecture Building Block), การสร้างคำตอบ (Solution Building), การจัดการความเสี่ยง, การจัดการความเปลี่ยนแปลง, การวางแผนสื่อสาร เป็นต้น



อย่างไรก็ตามสถาปัตยกรรมองค์กรสำหรับหน่วยงานภาครัฐควรมีองค์ประกอบอย่างน้อย ดังต่อไปนี้



(1) สถาปัตยกรรมองค์กรที่เกี่ยวกับธุรกิจ (Business Architecture)



a. โครงสร้างการจัดความรับผิดชอบและหน้าที่ของพนักงาน



b. กระบวนการทำงานและข้อมูลที่ใช้



(2) สถาปัตยกรรมองค์กรระบบข้อมูล (Information System Architecture)



a. โครงสร้างระบบงาน (Application architecture) และซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนการทำงาน ที่เกี่ยวกับธุรกิจ (Business architecture)



b. โครงสร้างของข้อมูลที่ใช้ในแต่ละระบบงาน (Data architecture)



(3) สถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยี(Technology Architecture)



a. กลุ่มอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารโทรคมนาคม



b. ซอฟต์แวร์ระบบที่สนับสนุนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล (Data architecture) และ ระบบงาน (Application architecture)



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • พิจารณาได้จากเครื่องมือประเมินสมรรถนะบุคคล (Assessment Tool)



ยินดีต้อนรับ