หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัล

สมรรถนะสนับสนุนในการทำงานผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ DT100

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัล

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานนโยบายและงานวิชาการ (Academic) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technology) และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านบริการ (Service)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้เป็นผู้ที่สามารถเลือกและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมในการทำงาน การสร้างสรรค์ผลงาน สามารถบำรุงรักษาให้เทคโนโลยีสารสนเทศใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ลดปัญหาการหยุดชะงัก จากสาเหตุของเทคโนโลยีสารสนเทศลง รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พ.ร.บ. การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
DT101

เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

1.1 วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล

DT101.01 191475
DT101

เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

1.2 วิเคราะห์เทคโนโลยีที่จะเลือกใช้ภายใต้บริบทของหน่วยงาน

DT101.02 191476
DT101

เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

1.3 รายงานผลการวิเคราะห์และเปรียบเทียบเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเลือกใช

DT101.03 191477
DT102

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

2.1 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างคุณค่าแก่งานปัจจุบัน

DT102.01 191478
DT102

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

2.2 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างงานใหม่ให้แก่องค์กร

DT102.02 191479
DT102

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

2.3 ประเมินผลของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

DT102.03 191480
DT103

บำรุงรักษาเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความต่อเนื่อง

3.1 จัดทำแผนการบำรุงรักษา

DT103.01 191481
DT103

บำรุงรักษาเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความต่อเนื่อง

3.2 ดำเนินการตามแผนการบำรุงรักษาที่กำหนด 

DT103.02 191482
DT103

บำรุงรักษาเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความต่อเนื่อง

3.3 สรุปผลการตรวจสอบและวิเคราะห์ผลการบำรุงรักษา

DT103.03 191483
DT103

บำรุงรักษาเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความต่อเนื่อง

3.4 ปรับแต่งองค์ประกอบต่างๆ ตามผลการวิเคราะห์

DT103.04 191484
DT103

บำรุงรักษาเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความต่อเนื่อง

3.5 สรุปบทเรียนเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงการบำรุงรักษา

DT103.05 191485

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ทักษะการเรียนรู้ในศตวววษที่ 21

  • ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบราชการ หน้าที่ความรับผิดชอบ และการบริหารจัดการภาครัฐ 

  • ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ กฎหมายว่าด้วยการละเมิด

  • ความรู้เกี่ยวกับทิศทางและยุทธศาสตร์ของประเทศ

  • ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • มีความคิดริเริ่ม (Innovative)

  • ทักษะในการวิเคราะห์ปัญหา (Problem analysis)

  • ชอบแก้ปัญหาที่มีความท้าทาย (Problem Solving)

  • ติดตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี(Keep Abreast with Technological Change)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้ด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Management)

  • ความรู้พื้นฐานด้านการออกแบบการให้บริการและกรอบมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ITIL (Information Technology Infrastructure Library) โดยมุ่งเน้นเรื่อง IT service management (ITSM) เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 




  • บันทึกผลการปฏิบัติงานแผนเทคโนโลยีดิจิทัลของแต่ละบุคคล 

  • รายงานผลประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละบุคคล

  • ประวัติการดำรงตำแหน่ง หรือ ประวัติการทำงาน



(ข) หลักฐานความรู้(Knowledge Evidence) 




  • ผลการทดสอบความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศนียบัตรต่างๆ จากการฝึกอบรมพัฒนาหรือการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ หน้า 162



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  • พิจารณาจากผลการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

  • ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและ หลักฐานด้านความร


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการเลือก การใช้งาน และการบำรุงรักษาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ ประกอบ ด้วยฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์ระบบเครือข่าย ระบบฐานข้อมูล ทั้งนี้เทคโนโลยีนั้นเป็นเทคโนโลยีที่มี การใช้งานทั่วไป ไม่ใช่เทคโนโลยีแบบเฉพาะด้านที่ใช้สำหรับภารกิจเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เท่านั้น รวมไปถึงการจัดทำเอกสารรายงานการวิเคราะห์การบำรุงรักษา ตลอดจนบันทึกสำหรับเรียนรู้ใน การดำเนินการบำรุงรักษาและการแก้ไขปัญหาในอนาคต



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  • เทคโนโลยีดิจิทัล หมายถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ทั้งที่เป็นเทคโนโลยีที่องค์กรใช้ งานอยู่แล้วหรือเทคโนโลยีที่องค์กรกำลังจัดหาสำหรับใช้งานในอนาคต 2-5 ปี

  • เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเลือกใช้ควรพิจารณาความเหมาะสมตามสถานการณ์และบริบทขององค์กร ซึ่ง ควรรองรับการปรับเปลี่ยนที่รวดเร็ว สามารถขยายหรือเพิ่มกำลังการให้บริการได้ง่าย (Scalablity) และเป็นมาตรฐานเปิด (Open Standard) เพื่อให้สามารถใช้ได้ต่อเนื่องในระยะยาว

  • บทเรียน (Lesson Learned) หมายถึงรูปแบบการเรียนรู้อย่างหนึ่ง เป็นความรู้ที่กลั่นกรองมาจาก ประสบการณ์การดำเนินการโครงการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผน ดำเนินการต่างๆที่จะ เกิดขึ้นในอนาคตให้ดียิ่งขึ้นได้

  • การประเมินผลการประยุกต์ใช้หมายถึงการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงจากการใช้งานเทคโนโลยี ดิจิทัลโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดว่าเป็นอย่างไร


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • พิจารณาได้จากเครื่องมือประเมินสมรรถนะบุคคล (Assessment Tool)



ยินดีต้อนรับ