คุณวุฒิวิชาชีพ
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาผู้สอนภาษาต่างประเทศ อาชีพผู้สอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ ระดับ 3
รายละเอียด
- คุณวุฒิวิชาชีพ
- สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาผู้สอนภาษาต่างประเทศ อาชีพผู้สอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ ระดับ 3
- คุณลักษณะของผลการเรียนรู้ (Characteristics of Outcomes)
-
1. ความรู้และทักษะภาษาไทย
1.1 สื่อสารภาษาไทยในชีวิตประจำวันได้ดี
1.2 มีความรู้เรื่องลักษณะภาษาไทยเบื้องต้น
1.3 มีความรู้เรื่องสังคม วัฒนธรรมไทยเบื้องต้น
2. ทักษะการสอน
2.1 วางแผนการจัดการเรียนการสอน
สามารถวางแผนการเรียนการสอนรายคาบให้สอดคล้องกับเนื้อหาหรือบทเรียน (ของรายวิชา) ได้แก่
การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการสอนหรือแหล่งการเรียน รวมทั้งการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ มีการกำหนดกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติทักษะภาษาเป็นสำคัญ ซึ่งมีความเหมาะสมกับวัยหรือระดับภาษาของผู้เรียน
2.2 ปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน
สามารถปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และได้ลงมือฝึกปฏิบัติทักษะทางภาษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ทักษะการคิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อการสอนหรือแหล่งการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ สร้างแรงจูงใจและบรรยากาศในการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ นำความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งมีการวัดและประเมินผลผู้เรียนตรงตามวัตถุประสงค์ เหมาะสมกับวัยหรือระดับภาษาของผู้เรียน
3. พัฒนาตนเอง
คิดไตร่ตรองเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์จุดแข็งและจุดที่ควรปรับปรุงของตนเอง และวางแผนการพัฒนาตนเองในทางวิชาชีพ
- การเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพ (Qualification Pathways)
-
ผู้เข้ารับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาผู้สอนภาษาต่างประเทศ อาชีพผู้สอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ ระดับ 3 ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. ผู้เข้ารับการประเมินชาวไทย
1.1 มีสัญชาติไทย
1.2 มีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าขึ้นไป
1.3 มีคุณสมบัติเพิ่มเติมในข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
1.3.1 มีประสบการณ์ทางการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง (โดยมี
หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด หรือองค์กร หรือบุคคลที่สามารถอ้างอิงได้)
1.3.2 สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาเอกภาษาไทยหรือวิชาโทภาษาไทยหรือวิชาเลือกเสรีภาษาไทย
รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ภาษาไทย ไม่น้อยกว่า 2 วิชา
1.3.3 ศึกษาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติในสถาบันการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 รายวิชา
1.3.4 ผ่านการอบรมการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ หรือ ผ่านการอบรมความรู้ภาษาไทย ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง
1.4 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 44 ข้อ (ข)
2. ผู้เข้ารับการประเมินชาวต่างชาติ
2.1 มีวุฒิปริญญาตรีขึ้นไป
2.2 ผ่านการทดสอบสมรรถภาพภาษาไทยสำหรับผู้พูดภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศของสถาบันภาษาไทยสิรินธร (CU-TFL) ระดับ Advanced ขึ้นไป ครบทั้ง 4 ทักษะ หรือผ่านการสอบวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาไทย (Thai Competency Test) สำหรับชาวต่างประเทศของกระทรวงศึกษาธิการ ระดับ 4 เทียบมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป ทุกทักษะ หรือมีประสบการณ์การสอนภาษาไทยไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง (โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานหรือองค์กรต้นสังกัด)
2.3 มีคุณสมบัติเพิ่มเติมในข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
2.3.1 สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาเอกภาษาไทย หรือสาขาการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ หรือสาขาการสอนภาษาต่างชาติ หรือภาษาที่สอง หรือศึกษาภาษาไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 8 รายวิชา
2.3.2 ผ่านการอบรมความรู้ภาษาไทย หรือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ (หลักสูตรที่ใช้ภาษาไทยในการอบรมเท่านั้น) ไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง
2.4 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตรา 44 ข้อ (ข)
- กลุ่มบุคคลในอาชีพ (Target Group)
-
ผู้สอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างชาติ
- หน่วยสมรรถนะ (หน่วยสมรรถนะทั้งหมดของคุณวุฒิวิชาชีพนี้)
-
- ILS-RTKN-281B ใช้ภาษาไทยสื่อสารในชีวิตประจำวัน
- ILS-RZOA-284B มีความรู้เรื่องลักษณะภาษาไทยเบื้องต้น
- ILS-VGRD-287B มีความรู้เรื่องสังคม วัฒนธรรมไทยเบื้องต้น
- ILS-UTUG-290B วางแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารรายคาบ
- ILS-MLNP-293B ปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
- ILS-BXNX-296B พัฒนาบทบาทในวิชาชีพ
- องค์กรรับรอง ที่สามารถเข้ารับการประเมินสมรรถนะบุคคล
- CB-0443-A : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต