คุณวุฒิวิชาชีพ
คุณวุฒิวิชาชีพ
สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก สาขาธุรกิจขายตรง อาชีพผู้ประกอบการ ชั้น 7
รายละเอียด
- คุณวุฒิวิชาชีพ
- สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก สาขาธุรกิจขายตรง อาชีพผู้ประกอบการ ชั้น 7
- คุณลักษณะของผลการเรียนรู้ (Characteristics of Outcomes)
- บุคคลที่มีคุณลักษณะมีความสามารถในการบริหารงาน สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ มีความเป็นผู้นำ ผู้ประกอบการชั้น 7 เป็นผู้มีคุณลักษณะมีความสามารถในการบริหารงาน จัดหาสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานไปสู่ผู้บริโภค สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ มีความเป็นผู้นำ พัฒนาบุคลากรให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ บริหารธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจขายตรงทั้งกระบวนการ จัดหาสินค้า พัฒนาบุคลากร วางกลยุทธ์ทางการตลาดได้ พัฒนาสินค้าหรือบริการด้วยนวัตกรรมใหม่ได้ ใช้ระบบเทคโนโลยีในการทำงานได้ทั้งระบบ มีทักษะที่สำคัญดังต่อไปนี้ 1. ทักษะการบริหารจัดการ 2. ทักษะการทำงานเป็นทีม 3. ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร ประสานงาน 4. มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา 5. มีความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงาน
- การเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพ (Qualification Pathways)
- 1. ผู้ที่เข้าสู่การประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ประกอบการ ชั้น 7 จะต้อง 1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือ ระดับอนุปริญญา หรือสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ 1.2 เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับธุรกิจขายตรง ไม่น้อยกว่า 3 ปี 2. ผู้ที่จะผ่านการประเมินและได้รับการรับรองความสามารถตามคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ประกอบการ ชั้น 7 จะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินหน่วยสมรรถนะทั้งหมด 40 หน่วยสมรรถนะ 3. ผู้ที่สอบผ่านมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ชั้น 6 มาแล้ว ไม่ต้องสอบหน่วยสมรรถนะของชั้น 6 และจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินหน่วยสมรรถนะเพิ่มเติมอีก .19.....หน่วยสมรรถนะ 4. กรณีที่ไม่เคยผ่านการประเมินมาตรฐานอาชีพผู้ประกอบการ ชั้น 6 จะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ประกอบการ ชั้น 7 ทั้งหมด 40 หน่วยสมรรถนะ 5. ผู้ที่มีคุณวุฒิวิชาชีพผู้ประกอบการ ชั้น 7 สามารถเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพในระดับที่สูงขึ้นโดยไม่น้อยกว่า 1 ปี หลังจากได้รับคุณวุฒิวิชาชีพผู้ประกอบการชั้น 7
- กลุ่มบุคคลในอาชีพ (Target Group)
- N/A
- หน่วยสมรรถนะ (หน่วยสมรรถนะทั้งหมดของคุณวุฒิวิชาชีพนี้)
-
- RTS-DSB-7-020ZA วิเคราะห์แหล่งที่มาของวัตถุดิบ และตัวสินค้า ที่ได้มาตรฐานสากล (Source of Origin) : GMP
- RTS-DSB-7-037ZA จัดให้มีระบบเทคโนโลยีในการบริหารจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain)
- RTS-DSB-7-040ZA พิจารณาจัดหาช่องทางการรับชำระเงินด้วยระบบการชำระเงินสดและอีเล็กทรอนิกส์ Electronic Payment
- RTS-DSB-7-041ZA ตรวจสอบความถูกต้องและแม่นยำจากการชำระเงินของลูกค้าจากเงินสดและเงินอิเล็กทรอนิกส์
- RTS-DSB-7-034ZA จัดให้มีพื้นที่ศูนย์กระจายสินค้าและศูนย์จำหน่ายที่มีขนาดที่เหมาะสมกับลูกค้าในตลาดและกระจายตัวในพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการจัดส่งสินค้าให้ถึงสาขาต่างด้วยความรวดเร็ว ครบถ้วน
- RTS-DSB-7-022ZA พัฒนานวัตกรรมใหม่ในตัวสินค้าหรือบริการ (new product innovation) เพื่อขับเคลื่อนก่อน first mover
- RTS-DSB-7-023ZA กำหนดรูปแบบการวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของลูกค้าเพื่อเข้าถึงความต้องการได้อย่างแท้จริง
- RTS-DSB-7-024ZA พัฒนาคุณภาพและการรับประกันการใช้งานในตัวสินค้าหรือบริการ
- RTS-DSB-7-025ZA จัดให้มีแผนกค้นคว้า พัฒนาและวิจัยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการอย่างเป็นรูปธรรม
- RTS-DSB-7-026ZA ทำการสำรวจตลาดผู้บริโภคที่ได้ใช้สินค้าใหม่ที่ได้พัฒนาขึ้นมาแล้ว
- RTS-DSB-7-035ZA พัฒนาระบบเครือข่ายโลจิสติกส์และศูนย์กระจายสินค้าที่ทันสมัยเพื่อรองรับการขนส่ง จัดเก็บและกระจายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพ
- RTS-DSB-7-036ZA จัดหาเทคโนโลยีสำหรับการจัดจำหน่าย การปฏิบัติการคลังสินค้า ระบบการชำระเงินที่เหมาะสม
- RTS-DSB-7-021ZA ตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าหรือบริการ
- RTS-DSB-7-029ZA จัดแผนกงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์อย่างเป็นรูปธรรม
- RTS-DSB-7-019ZA วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจ (Best Practices)
- RTS-DSB-7-001ZA วิเคราะห์ความต้องการและค่าแนวโน้มของสินค้าที่จะนำมาจำหน่าย
- RTS-DSB-7-002ZA จัดหาสินค้าหรือบริการโดยผ่านการผลิตเอง
- RTS-DSB-7-003ZA จัดให้มีแผนกเพื่อจัดหานำเข้าข้อมูล เปรียบเทียบวิเคราะห์ และตัดสินใจในการนำเข้าสินค้า
- RTS-DSB-7-004ZA จัดนำสินค้าคุณภาพที่ได้วิเคราะห์คัดเลือกแล้วมากำหนดกลยุทธ์ STP
- RTS-DSB-7-038ZA จัดทำรายละเอียดรายการสินค้าที่ลูกค้าสั่งซื้ออย่างถูกต้องครบถ้วน
- RTS-DSB-7-039ZA ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารใบแจ้งหนี้อย่างถูกต้องครบถ้วน
- RTS-DSB-7-005ZA วิเคราะห์ค่าแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต
- RTS-DSB-7-007ZA จัดทำแผนการตลาดที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ตรงกลุ่มเป้าหมายของผู้ร่วมธุรกิจ
- RTS-DSB-7-027ZA ขยายตลาดลูกค้าเพื่อรองรับสินค้าที่ได้ผลิตจากนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์
- RTS-DSB-7-028ZA สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าโดยการจัดกิจกรรมทางการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย
- RTS-DSB-7-030ZA จัดให้มีนักวิเคราะห์ทางการตลาดเพื่อประเมินผลที่ได้รับจากการขยายตลาดลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ โดยประเมินผลที่ได้รับจากการเพิ่มขึ้นของลูกค้า
- RTS-DSB-7-032ZA วิเคราะห์และประเมินต้นทุนทางทางการเงินขององค์กร
- RTS-DSB-7-033ZA พัฒนาระบบการบริหารการเงินที่มีความทันสมัยเพื่อเสริมสร้างความ สามารถในการสร้างและจัดการธุรกิจให้มีผลกำไร
- RTS-DSB-7-031ZA จัดให้มีนักวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อประเมินศักยภาพจากการเพิ่มขึ้นของตลาดลูกค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ
- RTS-DSB-7-008ZA จัดทำระบบโปรแกรมที่ใช้คำนวณแผนการตลาดหรือแผนการจ่ายผลตอบแทนที่มีความถูกต้องแม่นยำและมีความทันสมัย
- RTS-DSB-7-009ZA กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดโดยวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายด้วย STP Marketing
- RTS-DSB-7-010ZA ควบคุมกลยุทธ์ทางการตลาดให้เป็นไปตามแผนการตลาดขององค์กร
- RTS-DSB-7-014ZA กำหนดรูปแบบการติดตามและประเมินผลโครงการฝึกอบรมต่าง ๆ
- RTS-DSB-7-011ZA ออกแบบหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านการตลาดให้มีความรู้ด้านการนำเสนอ ด้านการขายและการบริหารคนทั้งแบบอบรมในสถานที่และ/หรืออบรมผ่านระบบ E-learning
- RTS-DSB-7-012ZA ออกแบบหลักสูตรภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำธุรกิจให้กับบุคลากรในองค์กร
- RTS-DSB-7-013ZA กำหนดรูปแบบการชี้วัดจากการเรียนรู้ทางด้านการนำเสนอ ด้านการขายและด้านการบริหารคน
- RTS-DSB-7-015ZA จัดให้มีหลักจรรยาบรรณหรือกฎบัตรในการปฏิบัติงานตามหลักบรรษัทภิบาล
- RTS-DSB-7-016ZA จัดให้มีการประเมินผล เพื่อหาแนวทางการพัฒนากรอบการปฏิบัติงานตามหลักจรรยาบรรณของธุรกิจเพื่อยั่งยืน
- RTS-DSB-7-017ZA จัดให้มีกระบวนการคัดกรองและตรวจสอบสินค้าและบริการให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด
- RTS-DSB-7-018ZA กำหนดเกณฑ์คุณสมบัติที่ต้องการในการผลิตเพื่อจำหน่าย
- องค์กรรับรอง ที่สามารถเข้ารับการประเมินสมรรถนะบุคคล
- ไม่มี
เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ
ชั้น 1
ชั้น 2
ชั้น 3
ชั้น 4
ชั้น 5