คุณวุฒิวิชาชีพ
สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาจิตวิทยา อาชีพนักจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย ระดับ 5
รายละเอียด
- คุณวุฒิวิชาชีพ
- สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาจิตวิทยา อาชีพนักจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย ระดับ 5
- คุณลักษณะของผลการเรียนรู้ (Characteristics of Outcomes)
-
เป็นบุคคลที่มีความรู้ ประสบการณ์ และทักษะทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการในผู้สูงวัย สามารถตรวจประเมินทางพัฒนาการในผู้สูงวัย สามารถจัดโปรแกรมทางจิตวิทยาพัฒนาการเพื่อชะลอความเสื่อมถอยทางพัฒนาการในผู้สูงวัย ส่งเสริมศักยภาพด้านต่าง ๆ ให้กับผู้สูงวัย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงวัย รวมถึงสามารถเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจด้านจิตวิทยาพัฒนาการในผู้สูงวัยที่ถูกต้องให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้
- การเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพ (Qualification Pathways)
-
ผู้ที่เข้าสู่การทดสอบคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาจิตวิทยา อาชีพนักจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย ระดับ 5 จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาโทสาขาจิตวิทยาพัฒนาการ โดย
- มีเอกสารรับรองประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านพัฒนาการกับผู้สูงวัยภายใต้การกำกับดูแลจากนักจิตวิทยา แพทย์* หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ 600 ชั่วโมง (การฝึกงาน/ การทำงานช่วงเริ่มต้น) และ
- มีเอกสารรับรองประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านพัฒนาการกับผู้สูงวัยโดยไม่ต้องมีการกำกับดูแลอย่างน้อย 2 ปี (เอกสารมีผลย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันสิ้นสุดการปฏิบัติงานที่ระบุไว้ในเอกสาร) หรือ
- มีเอกสารรับรองชั่วโมงการปฏิบัติงานด้านพัฒนาการกับผู้สูงวัย** (นับรวมเวลาการทำงานทั้งหมด ทั้งชั่วโมงปฏิบัติงานพัฒนาการผู้สูงวัยและชั่วโมงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนาการผู้สูงวัย) ไม่น้อยกว่า 600 ชั่วโมง
- กรณีจบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาจิตวิทยา หรือปริญญาโททางด้านจิตวิทยาในสาขาอื่นจะต้องมีคุณสมบัติทั้งหมดข้างต้น และต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังนี้
- มีหลักฐานการลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาผู้สูงวัย อย่างน้อย 15 หน่วยกิต
*แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถรับรองประสบการณ์การฝึกปฏิบัติงานของผู้สมัคร ควรเป็นบุคคลในสาขาความเชี่ยวชาญดังต่อไปนี้ อายุรแพทย์อนุสาขาผู้สูงวัย จิตแพทย์อนุสาขาผู้สูงวัย หรือแพทย์สาขาอื่นที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญด้านพัฒนาการผู้สูงวัย
**การปฏิบัติงานสามารถนับรวมชั่วโมงการปฏิบัติงานกับผู้สูงวัย หรือการเป็นจิตอาสาด้านพัฒนาการกับผู้สูงวัยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือด - จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาโทสาขาจิตวิทยาพัฒนาการ โดย
- กลุ่มบุคคลในอาชีพ (Target Group)
- นักจิตวิทยา (2634)
-
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย
- หน่วยสมรรถนะ (หน่วยสมรรถนะทั้งหมดของคุณวุฒิวิชาชีพนี้)
-
- HLT-NWRO-453A ตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการผู้สูงวัย
- HLT-ATAI-455A จัดโปรแกรมชะลอความเสื่อมถอยทางพัฒนาการในผู้สูงวัย
- HLT-ZDVH-456A จัดโปรแกรมส่งเสริมศักยภาพด้านพัฒนาการในผู้สูงวัย (Successful Aging)
- HLT-IXKO-457A จัดโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้สูงวัย (Behavioral and Cognitive Training)
- HLT-WYLX-461A เผยแพร่ข้อมูลด้านพัฒนาการผู้สูงวัยอันเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไป
- องค์กรรับรอง ที่สามารถเข้ารับการประเมินสมรรถนะบุคคล
- ไม่มี