หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการผู้สูงวัย

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-NWRO-453A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการผู้สูงวัย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย


1 2634 นักจิตวิทยา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการผู้สูงวัย โดยสามารถรวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการผู้สูงวัยด้วยการสังเกตและการใช้เครื่องมือ และรายงานผลการประเมินพัฒนาการผู้สูงวัยในแง่ทั้งการประเมินและการถ่ายทอดถึงคนทั่วไป

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาพัฒนาการผู้สูงวัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10501.1

รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการผู้สูงวัย

1. ประเมินปัญหาเบื้องต้นโดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้สูงวัย

10501.1.01 154955
10501.1

รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการผู้สูงวัย

2. รวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ของผู้สูงวัย โดยการสัมภาษณ์บุตรหลาน ผู้ดูแล และผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัย

10501.1.02 154956
10501.1

รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการผู้สูงวัย

3. คัดเลือกเครื่องมือการประเมินที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์

10501.1.03 154957
10501.1

รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการผู้สูงวัย

4. ดำเนินการตามขั้นตอนในการประเมินพัฒนาการผู้สูงวัยดังที่ระบุไว้ในคู่มือ และปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินการตามความเหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

10501.1.04 154958
10501.1

รวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการผู้สูงวัย

5. ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่นหากพบปัญหาที่เกินขอบเขตความชำนาญ

10501.1.05 154959
10501.2

รายงานผลการประเมินพัฒนาการผู้สูงวัย

1. บันทึกข้อมูลการประเมินลงในแบบฟอร์มมาตรฐานหรือที่ออกแบบไว้อย่างเหมาะสม

10501.2.01 154960
10501.2

รายงานผลการประเมินพัฒนาการผู้สูงวัย

2. ตีความผลการประเมินตามคู่มือการใช้มาตรวัด/เครื่องมือ

10501.2.02 154961
10501.2

รายงานผลการประเมินพัฒนาการผู้สูงวัย

3. แจ้งผลการประเมินทางวาจาให้บุตรหลาน ผู้ดูแล หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัยอย่างชัดเจน ถูกต้อง และเข้าใจง่าย

10501.2.03 154962
10501.2

รายงานผลการประเมินพัฒนาการผู้สูงวัย

4. เขียนรายงานผลการประเมินพร้อมข้อเสนอแนะต่อบุตรหลาน ผู้ดูแล หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัย

10501.2.04 154963
10501.2

รายงานผลการประเมินพัฒนาการผู้สูงวัย

5. เลือกใช้หรือออกแบบรายงานการประเมินให้บุตรหลาน ผู้ดูแล หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัยอย่างชัดเจน ถูกต้อง และเข้าใจง่าย

10501.2.05 154964

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะในการวัดและประเมินผลทางจิตวิทยาพัฒนาการในผู้สูงวัยโดยใช้เครื่องมือและรูปแบบการประเมินที่เหมาะสมตามวัย

  • ทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้สูงวัย และครอบครัว

  • ทักษะในการสื่อสารข้อมูลเชิงวิชาการได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับผู้รับสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการผู้สูงวัยทุกด้าน อันประกอบด้วย การเสื่อมถอยของร่างกาย พัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมถึงปัญหาพัฒนาการในผู้สูงวัย

  • ความรู้ในการวัดและการประเมินพัฒนาการผู้สูงวัย

  • ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือประเมินพัฒนาการผู้สูงวัยที่ได้มาตรฐานหรือที่ใช้อย่างแพร่หลายในวงการวิชาการ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • เอกสาร/หลักฐานรับรองการปฏิบัติงาน

  • แบบบันทึกผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

  • แฟ้มสะสมผลงาน



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

  • แบบบันทึกผลการอบรม (ถ้ามี)

  • แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน



คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการผู้สูงวัย โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน




  • พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสาธิตการปฏิบัติงาน

  • พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน



 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการในผู้สูงวัย เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลและประเมินพฤติกรรมและพัฒนาการผู้สูงวัย ตั้งแต่การสังเกตพฤติกรรม การรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินพัฒนาการในเบื้องต้น และการประเมินด้วยเครื่องมือ การคัดเลือกเครื่องมือ จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรในการประเมิน และดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อประเมิน และปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินการตามความเหมาะสม



คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องตรวจประเมินทางด้านพัฒนาการผู้สูงวัย โดยการตรวจประเมินพฤติกรรม พัฒนาการ และปัจจัยแวดล้อมของผู้สูงวัย พร้อมทั้งรายงานผลได้อย่างถูกต้องชัดเจน ทั้งทางวาจาและการจัดทำรายงาน



คำอธิบายรายละเอียด  

1. พัฒนาการผู้สูงวัย หมายถึง การเรียนรู้และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์สังคม ที่มาพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้น

1.1 พัฒนาการด้านร่างกาย หมายถึง ความสามารถในการควบคุมและประสานการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก การเคลื่อนไหวร่างกายที่ประสานกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อการดำรงชีวิตประจำวัน โดยมีข้อจำกัดทางกายที่มาพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้น

1.2 พัฒนาการด้านสติปัญญา หมายถึง ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสิ่งรอบตัวผ่านประสาทสัมผัส และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยตีความและเชื่อมโยงกับประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาในชีวิต การสื่อสาร ทั้งในรูปแบบวัจนภาษาและอวัจนภาษา การใช้เหตุผล โดยมีข้อจำกัดที่มาพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้น

1.3 พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม หมายถึง ความสามารถในการรับรู้ เข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ และอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมทั้งของตนเองและผู้อื่น และแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม สามารถกำกับ ควบคุมและจัดการพฤติกรรมทางอารมณ์และพฤติกรรมทางสังคมของตนเอง การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ทางสังคมกับคนรอบข้าง การเข้าใจภาพรวมของชีวิตตนเองและสัจธรรมของชีวิต

2. ปัจจัยแวดล้อมของผู้สูงวัย หมายถึง ปัจจัยหรือเงื่อนไขภายนอกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาย ชีวภาพ สังคมและวัฒนธรรม ที่ส่งอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้สูงวัย เช่น ผู้เลี้ยงดู บุคคลรอบข้าง ครู ที่พักอาศัย โรงเรียน เป็นต้น

3. เครื่องมือ/มาตรวัดที่ใช้ในการประเมินพัฒนาการผู้สูงวัย หมายถึง เครื่องมือประเมินพัฒนาการผู้สูงวัยที่ได้มาตรฐานหรือที่ใช้อย่างแพร่หลายในวงการวิชาการ เช่น การประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Activities of Daily Living, ADL) การทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai, 2002) การประเมินภาวะความเครียด ภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า การประเมินสุขภาวะ การประเมินการสนับสนุนทางสังคม เป็นต้น



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • สอบข้อเขียน

  • สาธิตการปฏิบัติงาน โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น



 



ยินดีต้อนรับ