คุณวุฒิวิชาชีพ
คุณวุฒิวิชาชีพ
สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ชั้น 4
รายละเอียด
- คุณวุฒิวิชาชีพ
- สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา อาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ชั้น 4
- คุณลักษณะของผลการเรียนรู้ (Characteristics of Outcomes)
- มีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทางและเทคนิคในการปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดระดับ 4 ได้แก่ การสอบเทียบตัวแปลงสัญญาณแรงบิดแบบสถิตย์ (Static Torque Transducer) โดยใช้ Torque transfer wrench หรือ ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system) เป็นเครื่องมือมาตรฐาน มีความรู้เกี่ยวกับการทวนสอบการวิเคราะห์ความถูกต้องของผลการวัดและเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้ สามารถตรวจสอบใบรับรองการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดจัดทำเอกสารขั้นตอนการทำงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับการรับรองตามข้อกำหนด ISO/IEC 17025 ให้คำแนะนำและสอนงานการสอบเทียบด้านแรงบิดแก่ผู้อื่นได้ ดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการสอบเทียบ
- การเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพ (Qualification Pathways)
-
1. ผู้สมัครต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และ 2. ผู้สมัครต้องมีหลักฐานความรู้ประกอบการพิจารณาเป็นผู้เข้ารับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ระดับ 3 โดยต้องมีคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.ว.ส.) ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 3 ปี หรือประกอบอาชีพเกี่ยวกับสาขาอาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด โดยหลักฐานต้องออกให้โดยหน่วยงานนิติบุคคลที่เชื่อถือได้ เช่น สถานประกอบการ ส่วนราชการ เป็นต้น เพื่อประกอบการพิจารณาเป็นผู้เข้ารับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ระดับ 4 หรือ 3. ผู้สมัครต้องมีหลักฐานความรู้ประกอบการพิจารณาเป็นผู้เข้ารับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ระดับ 4 โดยต้องมีคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ และมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 2 ปี หรือประกอบอาชีพเกี่ยวกับสาขาอาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด โดยหลักฐานต้องออกให้โดยหน่วยงานนิติบุคคลที่เชื่อถือได้ เช่น สถานประกอบการ ส่วนราชการ เป็นต้น เพื่อประกอบการพิจารณาเป็นผู้เข้ารับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ระดับ 4 4. ผู้สมัครต้องมีหลักฐานการปฏิบัติงานประกอบการพิจารณาเป็นผู้เข้ารับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ระดับ 4 โดยต้องมีแฟ้มสะสมผลงานมาแสดง โดยพิจารณาตามหลักฐานที่ต้องการ หรือหลักฐานการปฏิบัติงานที่กำหนดตามหน่วยสมรรถนะทั้งหมดในคุณวุฒิวิชาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ระดับ 4 หรือ 5. ผู้สมัครได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ระดับ 3 6. ผ่านเกณฑ์การประเมินตามหน่วยสมรรถนะในคุณวุฒิวิชาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ระดับ 4 ทั้งหมด 6 หน่วยสมรรถนะโดยเป็นหน่วยสมรรถนะบังคับ 2 หน่วยสมรรถนะและหน่วยสมรรถนะทางเลือกอย่างน้อย 1 กลุ่ม 7. กรณีต่ออายุหนังสือรับรองมาตรฐานอาชีพให้เป็นไปตามคู่มือสำหรับผู้เข้ารับการประเมิน
- กลุ่มบุคคลในอาชีพ (Target Group)
- หน่วยสมรรถนะ (หน่วยสมรรถนะทั้งหมดของคุณวุฒิวิชาชีพนี้)
-
- 01QS43 กำกับดูแลและพัฒนาบุคลากรห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อกำหนดห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ISO/IEC 17025
- 01QS44 ปฏิบัติตามข้อกำหนดของหน่วยรับรอง
- 01TQ41 สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้เครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิดประเภท Torque transfer wrench
- 01TQ42 วิเคราะห์ทวนสอบและรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ประเภท Static Torque Transducer โดยใช้เครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิดประเภท Torque transfer wrench
- 01TQ43 กำหนดขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้เครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิดประเภท Torque transfer wrench
- 01TQ44 ให้คำแนะนำและสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้เครื่องมือมาตรฐานด้านแรงบิดประเภท Torque transfer wrench
- 01TQ45 สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system)
- 01TQ46 วิเคราะห์ทวนสอบและรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิด ประเภท Static Torque Transducerโดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system)
- 01TQ47 กำหนดขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system)
- 01TQ48 ให้คำแนะนำและสอนงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านแรงบิดประเภท Static Torque Transducer โดยใช้ระบบคานและตุ้มน้ำหนัก (Lever mass system)
- องค์กรรับรอง ที่สามารถเข้ารับการประเมินสมรรถนะบุคคล
- ไม่มี
เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ
ชั้น 1
ชั้น 5
ชั้น 6
ชั้น 7
ชั้น 8