หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการผลิตสื่อ

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-MMYU-084B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการผลิตสื่อ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

     ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตสื่อ โดยผู้ควบคุมการผลิตจะต้องดำเนินการจัดการดูแล ควบคุม และชี้แนะ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้สำเร็จตามเป้าหมาย ทำหน้าที่ดูแลสถานการผลิต อีกทั้งยังต้องมีความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่อย่างมาก เพราะจะต้องรายงานความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับจุดที่เป็นปัญหาหรือจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
03402.01

ตรวจสอบขั้นตอนของกระบวนการผลิต

1. สามารถเข้าใจกระบวนการผลิตอย่างถูกต้อง

2. ติดตามขั้นตอนของกระบวนการผลิตได้

3. สามารถควบคุมการผลิตให้ดำเนินการ ได้จำนวนตามแผนที่กำหนดไว้อย่างถูกต้องครบถ้วน

4. สามารถบันทึกการตรวจสอบ และผลการผลิตได้อย่างถูกต้อง

5. สามารถรายงานผลการตรวจสอบ และผลการผลิตได้อย่างถูกต้อง

03402.02

ให้คำแนะนำ

1. สามารถบอกถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายได้อย่างถูกต้อง

2. สามารถชี้แนะเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการตรวจเช็ค
2. ทักษะการบันทึกผล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตอย่างถูกต้อง
2. มีความรู้เกี่ยวกับการรายงานผลการตรวจสอบและผลการผลิต


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน
2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
     หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
1)  ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการผลิตสื่อใหม่ เข้าใจในบทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน รวมถึงประเภทของสื่อใหม่ กลุ่มเป้าหมายของการใช้สื่อใหม่ และช่องทางต่างๆในการใช้สื่อใหม่ เพื่อให้สามารถผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
    การควบคุมการผลิต
    เป็นรักษาความสม่ำเสมอของกระบวนการผลิตให้เกิดความราบรื่น มีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดผลเสียน้อยที่สุด ใช้เวลาน้อยที่สุด ได้ผลผลิตมากที่สุด และทันต่อความต้องการ ซึ่งการควบคุมการผลิตในที่นี้เป็นการควบคุมการผลิตที่ทำการผลิตขึ้นเองภายในองค์กรและภายนอกองค์กร โดยเป็นการตรวจสอบขั้นตอนของกระบวนการผลิต ซึ่งผู้ควบคุมการผลิตจำเป็นต้องเข้าใจกระบวนการผลิตทั้งหมดอย่างถูกต้องเสียก่อน นอกจากนั้นยังทำการติดตามขั้นตอนของกระบวนการผลิต และสิ่งสำคัญคือการคุมการผลิตให้ได้จำนวนตามแผนที่กำหนดไว้ หรือให้ได้ตามรูปแบบของแผนที่วางไว้ รวมถึงทำการบันทึกผลการตรวจสอบและผลการผลิตเพื่อรายงานสถานการผลิต และชี้แนะเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบขณะควบคุมการผลิตเพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีประสิทธิภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน
1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์
2. ผลข้อสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน
18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน
1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์
2. ผลข้อสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน
18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน
1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์
2. ผลข้อสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน


ยินดีต้อนรับ