หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำโครงร่างการผลิตสื่อ

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-RYIG-080B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำโครงร่างการผลิตสื่อ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

     ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำโครงร่างการผลิตสื่อชนิดต่างๆ โดยเข้าใจวัตถุประสงค์ เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย กำหนดแนวคิดในการสื่อสาร ออกแบบเนื้อหา และนำเสนอโครงร่างได้ เพื่อให้สามารถนำไปผลิตสื่อเพื่อการสื่อสารต่อไปได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
03302.01

เข้าใจวัตถุประสงค์การสื่อสาร

1. สามารถกำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสารได้

2. สามารถกำหนดช่องทางในการสื่อสารได้

3. สามารถระบุแนวทางที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้

03302.02

เข้าใจกลุ่มเป้าหมายการสื่อสาร

1. สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายได้

2. สามารถพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้

3. สามารถเลือกช่องทางให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้

03302.03

กำหนดแนวคิดในการสื่อสาร

1. สามารถกำหนดประเด็นหลักในการสื่อสารที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้

2. สามารถกำหนดแนวคิดต้องนำไปใช้กับสื่อได้หลากหลาย

3. สามารถนำไปใช้ได้จริง แปลกใหม่ ไม่ซ้ำ

03302.04

ออกแบบเนื้อหา

1. กำหนดลีลาและการนำเสนอ (Mood & Tone) ได้

2. ออกแบบ Key Element องค์ประกอบต่างๆได้ (การใช้ภาษา ภาพ เสียง และประสบการณ์)

03302.05

นำเสนอโครงร่าง

1. จัดเตรียมการนำเสนอได้

2. จัดทำตัวอย่างโครงร่างสื่อที่จะผลิตได้

3. สามารถกำหนดงบประมาณ ระยะเวลา และบุคคลากร


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการออกแบบโครงร่าง
2. ทักษะด้านการนำเสนอ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงร่างการผลิตสื่อ
2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายของการจัดทำโครงร่างการผลิตสื่อ 
3. มีความรู้ในการกำหนดแนวคิดในการสื่อสาร 
4. มีความรู้เกี่ยวกับออกแบบเนื้อหา 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน
2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
     หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
1)  ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการจัดทำโครงร่างการผลิตสื่อชนิดต่างๆ โดยเข้าใจวัตถุประสงค์ เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย กำหนดแนวคิดในการสื่อสาร ออกแบบเนื้อหา และนำเสนอโครงร่างได้ เพื่อให้สามารถนำไปผลิตสื่อเพื่อการสื่อสารต่อไปได้
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
    การจัดทำโครงร่างการผลิตสื่อจำเป็นต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการสื่อสารก่อนเป็นดับแรก ต้องสามารถตีโจทย์ได้ว่าสื่อที่ต้องการเผยแพร่ออกไปนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสารไปนั้นคือกลุ่มเป้าหมายใด จำเป็นต้องทำการสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ทำการสื่อสารออกไปมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องกำหนดช่องทางในการสื่อสาร  ซึ่งช่องทางการสื่อสาร คือ ตัวกลางที่ช่วยในการนำส่งสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ช่องทางเปรียบเหมือนทางหรือพาหะระหว่างผู้ร่วมสื่อสาร แบ่งช่องทางการสื่อสารออกเป็น 3 ประเภท
1. ช่องทางที่เป็นตัวกลางนำสารจากผู้ส่งสารไปให้ผู้รับสาร ซึ่งได้แก่ คลื่นแสง คลื่นเสียง วิทยุ โทรเลข โทรทัศน์หนังสือพิมพ์ เป็นต้น ช่องทางเหล่านี้เน้นหนักในเรื่องสื่อทางเทคโนโลยี
2. ช่องทางที่เป็นพาหนะของสิ่งที่นำสาร เช่น อากาศ ซึ่งเป็นตัวนำคลื่นเสียงไปสู่ประสาทรับความรู้สึกต่างๆ หรือประสาททั้งห้า (ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การสัมผัส และการลิ้มรส) ช่องทางประเภทนี้พบในกระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคล
3. วิธีในการเข้ารหัสและถอดรหัสสาร (mode of encoding and decoding) เช่น การใช้วิธีพูด การใช้วิธีเขียน เป็นต้น ซึ่งนักทฤษฎีนิเทศศาสตร์โดยทั่วไปไม่ยอมนิยาม “ช่องทางการสื่อสาร” ในความหมายนี้ เรโอ (Rao) เน้นว่าช่องทางการสื่อสารมีลักษณะดังต่อไปนี้
   -  ช่องทางเป็นหน่วยพลังงานมวลสาร (matter – energy unit) ประเภทหนึ่งที่เรียกว่าสื่อ (medium)
   -  ช่องทางเป็นตัวนำส่งหน่วยพลังงานมวลสารซึ่งมีการจัดเป็นระเบียบแบบแผนที่เรียกว่าสารสนเทศ (information)
   -  ช่องทางเป็นตัวเชื่อมระหว่างบุคคลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง
    นอกจากนั้นการออกแบบเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นกำหนดลีลาและการนำเสนอ (Mood & Tone) หรือแม้แต่การออกแบบองค์ประกอบต่างๆนั้น จำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถในการออกแบบเพื่อให้น่าสนใจและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน
1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์
2. ผลข้อสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน
18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน
1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์
2. ผลข้อสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน
18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน
1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์
2. ผลข้อสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน


ยินดีต้อนรับ