หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบแนวคิดสร้างสรรค์งาน

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-WJEN-079B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบแนวคิดสร้างสรรค์งาน

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

     ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวการออกแบบแนวคิดการสร้างสรรค์งาน โดยมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบรูปแบบงานประเภทต่างๆ สามารถถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน และสามารถนำไปสร้างสรรค์สื่อที่มีคุณภาพต่อไป


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
03301.01

ศึกษารายละเอียดของงาน

1. ระบุรายละเอียดขององค์กรได้

2. ระบุรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ได้

3. ระบุกลุ่มเป้าหมายของการประชาสัมพันธ์ได้

03301.02

หารือสมาชิกในทีมเพื่อออกแบบแนวคิดที่สร้างสรรค์

1. สรุปประเด็นการหารือได้

2. นำเสนอแนวคิดได้

3. สามารถสื่อสารกับทีมได้

03301.03

ออกแบบ Theme & Concept ที่เหมาะสมกับการนำเสนอ Key Message

1. กำหนดแนวคิดหลัก

2. ออกแบบ Mood &Tone 

3. ออกแบบวิธีการเล่าเรื่อง


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.ทักษะความคิดสร้างสรรค์
2.ทักษะการถ่ายทอดแนวคิด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับออกแบบวิธีการเล่าเรื่อง
2 ความรู้การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
3. ความรู้เกี่ยวกับออกแบบ Theme & Concept


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน
2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
     หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถการออกแบบแนวคิดการสร้างสรรค์งาน โดยมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบรูปแบบงานประเภทต่างๆ สามารถถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน และสามารถนำไปสร้างสรรค์สื่อที่มีคุณภาพต่อไป
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
    การออกแบบ  หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน
ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายประการ กล่าวคือ
1. ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวางแผนการทำงานก็ได้
2. ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกันอย่างชัดเจน  ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจระหว่างกัน
3. เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมายซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นหรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผู้ออกแบบได้ทั้งหมด
4. แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิตเป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงานหรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง
ขั้นตอนกระบวนการคิด Creative
1. แนวคิดในการออกแบบ Concept การคิดที่อยูบนพื้นฐานของความเป็นจริง+ความต้องการของลูกค้า และการสื่อความหมาย-สื่อสารให้ ตรงกลุ่มเป้ าหมายให้มากที่สุด (ประโยชน์ใช้สอย+ความสวยงาม) 
2. ข้อมูลรายละเอียด-เนื้อหาของโครงการ DATA/Project ทําความเข้าใจเกี่ยวกบโครงการและเป้าหมายของกิจกรรม/โครงการ 
3. รูปภาพ Picture + สี Color คํานึงถึงการสื่อความหมายให้ตรงมากที่สุด และความเหมาะสมของภาพ ทําให้ดูน่าสนใจ ดึงดูด และ สวยงาม เช่น การใช้สีให้ตรงกบองค์กร  
4. ข้อความ ตัวอักษร (Font) การใช้ตัวอักษรให้เหมาะสมกับลักษณะงาน บรรยากาศ และโอกาส 
5. การจัดวางรูปแบบ Lay Out


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน
1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์
2. ผลข้อสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน
18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน
1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์
2. ผลข้อสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน
18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน
1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์
2. ผลข้อสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน


ยินดีต้อนรับ