หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-RAXQ-073B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

     ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Identification and prioritization) ซึ่งเป็นขั้นตอนในการแบ่งประเภทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยทำการจัดลำดับความสำคัญของผู้มี่ส่วนได้เสีย ว่ากลุ่มใดสำคัญมากน้อยกับธุรกิจ โดยกำหนดจากสิ่งที่ผู้มีส่วนได้เสียต้องการจากธุรกิจ กับสิ่งที่ธุรกิจต้องการจากผู้มีส่วนได้เสีย โดยทำการจัดลำดับความสำคัญจากการพึ่งพากัน โดยกำหนดให้ความสัมพันธ์ที่สำคัญอยู่ในลำดับต้น ๆในกระบวนการเชื่อมโยง หากพึ่งพากันมากก็จะให้ลำดับสูง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
03102.01

ทำความเข้าใจสถานการณ์ของผู้มีส่วนได้เสียปัจจุบัน

1. ระบุจุดมุ่งหมายของการจัดลำดับได้

2. วิเคราะห์ผลกระทบจากการจัดลำดับได้

3. ระบุตัวชี้วัดของการจัดลำดับได้

03102.02

วิเคราะห์สถานการณ์ของผู้มีส่วนได้เสียปัจจุบัน

1. สามารถกำหนดแผนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้

2. สามารถกำหนดประเด็นที่ให้ความสำคัญได้

3. สามารถจำแนก บทบาทและอำนาจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักที่มีต่อภาระกิจที่ได้รับมอบหมายได้

03102.03

จัดวางตำแหน่งผู้มีส่วนได้เสีย

1. สามารถระบุเกณฑ์การจัดลำดับได้

2. สามารถระบุลำดับก่อนหลังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะด้านการเรียงลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
2. ทักษะการวิเคราะห์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการพึ่งพากัน
2. มีความรู้ในการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นของผู้มีส่วนได้เสีย
3. มีความรู้ในเรื่องระดับความสำคัญของประเด็น มีส่วนสำคัญในการกำหนดว่าธุรกิจควรตอบสนองต่อประเด็นนั้นๆอย่างไร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน
2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
     หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Identification and prioritization) ซึ่งเป็นขั้นตอนในการแบ่งประเภทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยทำการจัดลำดับความสำคัญของผู้มี่ส่วนได้เสีย ว่ากลุ่มใดสำคัญมากน้อยกับธุรกิจ 
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม หรือ3 ระดับ ดังนี้ คือ 
1. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก (key stakeholders) คือ ผู้ซึ่งสามารถมีอิทธิพลที่สำคัญ หรือมีความสำคัญต่อความสำเร็จของ กิจกรรม เช่น ลูกค้า ผู้ส่งมอบ มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญต่อการผลิต และ/หรือการบริการตลอดจนการปรับปรุง 
2. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขั้นพื้นฐาน (primary stakeholders) คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากกิจกรรม ซึ่ง อาจจะได้รับผลกระทบทางบวกหรือทางลบได้ โดยทั่วไปจะเป็นองค์การที่เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) เช่น ผู้บริโภค (consumer) ตัวแทนทางการค้า (dealer) ผู้ผลิตในขั้นต้น (primary production) จะได้รับผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงราคาขาย การปรับเปลี่ยนนโยบายทางการค้าทั้งการจัดซื้อและการขาย เป็นต้น 
3. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขั้นรอง (secondary stakeholders) คือ ทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากการดำเนินงานขององค์การ ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อองค์การโดยตรง เช่น กิจกรรมบางประเภทที่เป็นที่เฝ้าติดตามจากหน่วยงานภายนอก เช่น กิจกรรม โรงพยาบาล องค์การสื่อสารมวลชนจะให้ความสนใจต่อคุณภาพการรักษาพยาบาล การบริการตามระบบที่เป็นมาตรฐาน การ ป้องกันความเสี่ยง เป็นต้น หรือกิจกรรมการค้าสินค้าโภคภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ เช่น อาหาร น้ำมัน ยารักษาโรค องค์การ ภายนอกย่อมให้ความสนใจต่อการกำกับดูแลกิจกรรมขององค์การ เช่น การโฆษณาเกินจริง คุณภาพและความปลอดภัยของการ ใช้ผลิตภัณฑ์ การควบคุมด้านกลไกราคาที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค กิจกรรมขององค์การเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลกิจการ ที่ดี (good governance)
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาจแบ่งเป็น 2 ระดับใหญ่ ๆ คือ     
    ระดับปฐมภูมิ เป็นกลุ่มที่ มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินงานขององค์กรในการ แลกเปลี่ยนเชิงเศรษฐกิจ ได้แก่ พนักงาน ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ คู่ค้าลูกค้าผู้แทนจำหน่าย
    ระดับทุติยภูมิ เป็นกลุ่มที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการแลกเปลี่ยนเชิงเศรษฐกิจ แต่ได้รับ ผลกระทบจากการดำ เนินงานขององค์กรธุรกิจ ได้แก่ ชุมชน รัฐบาล กลุ่มกิจกรรม สื่อมวลชน กลุ่มสนับสนุนธุรกิจ และ กลุ่มสาธารณชนทั่วไป (Lawrence & Weber, 2016) โดยแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอธิบายว่า การที่องค์กรธุรกิจจะประสบความสำเร็จในระยะยาวได้นั้น องค์กร ต้องมีการบริหารโดยให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร (Freeman, 2010)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน
1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์
2. ผลข้อสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน
18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน
1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์
2. ผลข้อสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน
18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน
1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์
2. ผลข้อสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน


ยินดีต้อนรับ