หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ข้อมูลภายนอก

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PCP-COCE-061B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลภายนอก

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ชื่ออาชีพ 1222 Advertising and Public Relations Managers, 2432 Public Relations Professionals


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

     ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์กร คือการวิเคราะห์ผลกระทบทางสถานการณ์สังคม การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม ที่มีผลกระทบและสามารถพัฒนาเป็นโจทย์ และวัตถุประสงค์การสื่อสารขององค์กรได้ สามารถวิเคราะห์ และตีความ เพื่อนำมาวางแผนกระบวนการการประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมขององค์กร


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาประชาสัมพันธ์ (Public Relations)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
01202.01

รวบรวมข้อมูลด้านโครงสร้างองค์กร

1. ระบุลักษณะสำคัญของโครงสร้างองค์กร 

- วัตถุประสงค์

- ภาระหน้าที่

- ลักษณะเฉพาะของงาน

- อำนาจการตัดสินใจ (รวมศูนย์ / กระจายศูนย์) 

- การบังคับบัญชา

- ขอบเขตการควบคุม

- ความเป็นทางการ 

2. ระบุแหล่งที่มาของข้อมูล

3. จัดการข้อมูลเพื่อการนำเสนอ

01202.02

รวบรวมข้อมูลของสถานการณ์ในสังคม

1. จำแนกข้อมูลและที่มาของข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

2. วิเคราะห์ความหมายของสภาวะเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายในภายนอกประเทศ

3. เชื่อมโยงสภาพสังคมจากภายนอกประเทศสู่ภายใน และจากภายในสู่ภายนอกประเทศ

01202.03

รวบรวมข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ

1. จำแนกข้อมูลเศรษฐกิจและที่มาของข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

2. เชื่อมโยงสภาวะเศรษฐกิจระดับโลกและภายในประเทศ

01202.04

ประมวลข้อมูลทางเทคโนโลยี

1. ศึกษาข้อมูลทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต

2. จำแนกข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีและที่มาของข้อมูล

3. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางออนไลน์ให้ทันสมัยได้

01202.05

ตีความข้อมูล

1. ประเมินสถานะความพร้อมการสื่อสารภายนอกองค์กรได้

2. ระบุโอกาสและอุปสรรคขององค์กรได้

3. ประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรได้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการค้นคว้าข้อมูล
2. ทักษะการเรียบเรียงข้อมูล
3. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องโครงสร้างองค์กร 
2. ความรู้ด้านนโยบายองค์กรและนโยบายการสื่อสารประชาสัมพันธ์
3. ความรู้เกี่ยวกับการจัดแบ่งประเภทนโยบาย
4. ความรู้ทางการเมือง
5. ความรู้ทางด้านเศรษฐกิจทุกระดับ
6. ความรู้เรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์
7. ความรู้ด้านสภาพแวดล้อม
8. ความรู้การสรุปความและประเด็นสำคัญ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
2. แบบบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการการวิเคราะห์ข้อมูลภายนอกโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน
2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
     หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลภายนอกโดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้
1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลภายนอกขององค์กร คือการวิเคราะห์ผลกระทบทางสถานการณ์สังคม การเมือง เศษฐกิจ เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม ที่มีผลกระทบและสามารถพัฒนาเป็นโจทย์ และวัตถุประสงค์การสื่อสารขององค์กรได้ การระบุข้อมูลใหม่ๆที่จำเป็นสำหรับสนับสนุนการสร้างประเด็นทางการสื่อสาร
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
     ความคิดเกี่ยวกับเพื่อนมนุษย์หรือสังคมมนุษย์ ในประวัติศาสตร์มนุษย์มีความคิดเกี่ยวกับเพื่อนมนุษย์ในลักษณะเป็นกลุ่มน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนที่ทำให้กับเรื่องต่างๆใน 4 ข้อแรก และได้หันมาสนใจเรื่องของเพื่อนมนุษย์เมื่อไม่นานมานี้ โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ระหว่างมนุษย์กับสังคม ภาระหน้าที่ความผูกพันที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อสังคม ลักษณะของชีวิตสังคม แนวโน้มทางสังคม ปัญหาสังคม หลักการ การศึกษาวิเคราะห์สังคม อันเป็นความคิดพื้นฐานของสังคมศาสตร์ในสังคมสมัยใหม่
การวิเคราะห์เศรษฐกิจ เป็นวิธีการที่จะทำให้เรานั้นสามารถทราบถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจนั้นได้ดี ซึ่งนักลงทุนทั้งหลายนั้น สามารถหาข้อมูลได้ที่แหล่งข้อมูลมากมาย อาทิเช่น หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์เกี่ยวกับข่าวเศรษฐกิจ หรือขอรายละเอียดข้อมูลต่างๆนั้นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ทราบถึงตัวเลขทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่หลายหน่วยงานนั้นออกมาประการ ทั้งอัตราเงินเฟ้อ GDP  แม้กระทั่งอัตราการว่างงาน ทั้งหมดนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเลขของเศรษฐกิจ หรืออัตราการส่งออกและนำเข้า รวมไปถึงนโยบายต่างๆของรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความอยู่รอดของประชาชนทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้ประกอบการต่างๆ  ที่สำคัญคือข้อมูลที่เกี่ยวกับมาตรการต่างๆที่สอดคล้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) เนื่องจากระยะนี้เศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในภาวะถดถอยจะเกิดภาวะเงินฝืดและตึงตัว (Deflation and tight money) ให้กำไรของธุรกิจต่างๆมีแนวโน้มลดลง การลงทุนในหุ้นให้ผลตอยแทนไม่ดีเท่ากับลงทุนในพันธบัตร ผู้ถือพันธบัตรได้ดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในพันธยบัตร ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยลดลงทำให้ราคาพันธบัตรสูงขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว (Recovery) ระยะเศรษฐกิจช่วงนี้เริ่มฟื้นตัวภาวะเงินคลายตัว และดอกเบี้ยมีอัตราลดลงไปแล้วจากภาวะถอถอย ทำให้ต้นทุนด้านการเงินต่ำลง ส่งผลให้ธุรกิจมีอัตราการเจริญเติบโตสูงขึ้นการลงทุนในช่วงระยะเวลานี้นักลงทุนจะโยกย้ายเงินจากตลาดพันธบัตรไปสู่ตลาดหุ้น
ภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง (Prosperity) ช่วงนี้เศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวที่สูงมาก ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อสูงขึ้นในช่วงนี้ธนาคารกลางประเทศต่างเริ่มแทรกแทรงตลาดทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้นซึ่งไม่เป็นผลดีต่อตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร สินทรัพย์ที่ได้รับการตอบแทนสูงจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ รวมไปถึงทองคำด้วย เพราะสิ้นค้าเหล่านี้ปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อนักลงทุนจึงโยกออกจากตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรนำเงินไปลงทุนในสินค้าโภคพันธ์
    ภาวะเศรษฐกิจชะงักงันพร้อมกับภาวะเงินเฟ้อ (Stagflation) ในช่วงเศรษฐกิจโดยรวมมีอัตรา ขยายตัวสูง ธุรกิจต่างๆ ธุรกิจต่างๆจะเริ่มกู้เงินลงทุนสูงขึ้นแต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้น ต้นทุนทางการเงินของธุรกิจจะปรับตัวขึ้น ในช่วงนี้ผลกำไรบริษัทต่างลดลง ในช่วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้นนักลงทุนจะนำเงินมาฝากธนาคาร    
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เช่น มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสืบค้นข้อมูล หรือรับ-ส่งข้อมูลระหว่างกัน ตลอดจนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile phone) หรือโทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารนักเรียนเข้ามาใช้งานในทุกระดับระดับขององค์กร เช่น งานด้านการบริหาร การจัดการ และการปฏิบัติการ รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร มีการลงทุนเกี่ยวกับโครงการพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเป็นจำนวนมาก เช่น มีการขยายระบบโทรศัพท์ และขยายเครือข่ายการสื่อสาร มีการสร้างระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ และการสร้างระบบจัดเก็บภาษีอากรด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 
คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) เรียกย่อว่า “ไอที” ประกอบด้วยคำว่า “เทคโนโลยี” และคำว่า “สารสนเทศ” นำมารวมกันเป็น “เทคโนโลยีสารสนเทศ” และคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) หรือเรียกย่อว่า “ไอซีที” ประกอบด้วยคำที่มีความหมายดังนี้
•    เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ วิธีการหรือกระบวนการ เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคล กลุ่มคน หรือองค์กร
•    สารสนเทศ (information) หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ จนได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าและสาระ หรือมีเนื้อหาและรูปแบบที่เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้
•    เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการกับสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร ทั้งนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ซึ่งเป็นวิธีการที่จะส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อการแลกเปลี่ยนหรือเผยแพร่ข้อมูล และสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วทันต่อการใช้ประโยชน์ ผ่านอุปกรณ์สื่อสาร เช่น วิทยุ โทรศัพท์ เครื่องโทรสาร คอมพิวเตอร์ คลื่นวิทยุ และดาวเทียม ดังนั้นในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารจึงมักใช้คู่กัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน
1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์
2. ผลข้อสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน
18.2 เครื่องมือประเมินการกำหนดโจทย์หรือปัญหาในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน
1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์
2. ผลข้อสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน
18.3 เครื่องมือประเมินการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน
1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์
2. ผลข้อสอบข้อเขียน
ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน


ยินดีต้อนรับ