หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บรรจุภัณฑ์และจัดเก็บยางแท่งที่ผลิตจากยางแห้ง

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-SEQQ-132A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บรรจุภัณฑ์และจัดเก็บยางแท่งที่ผลิตจากยางแห้ง

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง (Block Rubber)
ISCO-08    1311 หัวหน้าแผนกผลิตผลิตภัณฑ์ยาง/ผู้จัดการโรงงานผลิตยางแผ่น
                  2145 ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียาง
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับอาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตยางแท่ง โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานยางแท่ง การบรรจุและจัดเก็บยางแท่ง การขนย้ายและการขนส่งยางแท่ง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

คู่มือมาตรการยางเอสทีอาร์ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
BS441

เตรียมการบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานยางแท่ง

1. อธิบายการเตรียมบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานยางแท่ง

2. ใช้สัญลักษณ์และรหัสสีประจำชั้นยางตามมาตรฐานยางแท่งที่ผลิต

3. ใช้ชนิดและขนาดบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานยางแท่ง 

BS442

ดำเนินการบรรจุและจัดเก็บยางแท่ง

1. อธิบายวิธีการบรรจุและจัดเก็บยางแท่ง

2. จัดเรียงแท่งยางในลังบรรจุ

3. ทำเครื่องหมายและรายละเอียดข้างลังบรรจุยางแท่ง

4. จัดเรียงลังบรรจุยางแท่งในที่จัดเก็บ

5. ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในการเก็บรักษา 

BS443

ดำเนินการขนย้ายและขนส่ง

1. อธิบายกระบวนการขนย้ายและขนส่งยางแท่ง

2. วางแผนการขนย้ายและขนส่งยางแท่ง

3. เลือกใช้พาหนะในการขนส่งยางแท่ง

4. จัดเรียงยางแท่งบนพาหนะขนส่ง


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    มีทักษะการประเมินคุณภาพของยางแท่งก่อนการบรรจุภัณฑ์
2)    มีทักษะการใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการขนย้ายและเคลื่อนย้าย
3)    มีทักษะทางด้านการสื่อสาร
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    มีความรู้เรื่องบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานกำหนด
2)    มีความรู้เรื่องการควบคุมคุณภาพยางแท่งก่อนการบรรจุภัณฑ์
3)    มีความรู้เรื่องการจัดเก็บยาง
4)    มีความรู้เรื่องการเคลื่อนย้ายและขนส่งยางแท่ง
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะเป็นแนวทางในการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินร่วมกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ
    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
2)    หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้
3)    แฟ้มสะสมงาน (ถ้ามี)
4)    เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หรือ เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน
    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1)    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา
2)    หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ
3)    ผลการสอบข้อเขียน
4)    ผลการสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ
    (ค) คำแนะนำในการประเมิน
1)    ผู้ประเมินจะต้องดำเนินการตรวจประเมินความรู้เกี่ยวกับหน่วยสมรรถนะย่อยที่รับการ
พิจารณา
2)    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานต้องแสดงถึง
    - ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง
    - วิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    - ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    (ง) วิธีการประเมิน
1)    การสอบข้อเขียน
2)    การสอบสัมภาษณ์
3)    การสอบปฏิบัติ
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

       อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุตามรายละเอียดมาตรฐานยางแท่งเอสทีอาร์
1)    สัญญาลักษณ์มาตรฐานยางแท่งเอสทีอาร์ 
สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับมาตรฐานยางแท่งเอสทีอาร์เป็นเครื่องหมายสามเหลี่ยมด้านเท่ากลับฐานขึ้นด้านบน ภายในรูปสามเหลี่ยม ด้านบนเป็นอักษร STR ถัดลงมาเป็นอักษรและเลขแสดงชั้นยาง และล่างสุดเป็นรหัสประจำโรงงานผลิต
       สีประจำชั้นยางจะมีความแตกต่างกัน คือ 
                  - STR XL     ใช้สีฟ้า 
                  - STR 5L     ใช้สีเขียวอ่อน 
                  - STR 5     ใช้สีเขียวอ่อน
                  - STR 5CV     ใช้ตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีเขียวอ่อน
                  - STR 10     ใช้สีน้ำตาล
                  - STR 10CV      ใช้ตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีน้ำตาล
                  - STR 20     ใช้สีแดง
                  - STR 20CV     ใช้ตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีแดง
        มาตรฐานน้ำหนักและขนาดยางแท่ง ยางแท่งเอสทีอาร์มีน้ำหนักและขนาดแท่งยางมาตรฐาน ดังนี้
                น้ำหนัก    33.33 กิโลกรัม
                ขนาด    กว้าง 330 มิลลิเมตร  ยาว 670 มิลลิเมตร  สูง 170 มิลลิเมตร
                หรือน้ำหนักและขนาดอื่นนอกเหนือจากนี้ ตามที่สถาบันวิจัยอนุญาต หรือตาม
ความต้องการของลูกค้า
2)    การบรรจุยางแท่ง
         1. การตัดเก็บตัวอย่าง การผลิตยางแท่งจะจัดเป็นชุด (Lot) ชุดหนึ่ง ๆ มียางแท่งจำนวน 2 ตัน (60 แท่ง) หรือ 5 ตัน (150 แท่ง) หรือ 6 ตัน (180 แท่ง) หลักเกณฑ์การเก็บตัวอย่างมีดังนี้
            1.1 สุ่มตัวอย่างละ 10% โดยให้มีตัวอย่างอย่างน้อยที่สุดไม่ต่ำกว่า 6 ตัวอย่าง และอย่างมากที่สุด 30 ตัวอย่าง การตัดเก็บตัวอย่าง อาศัยหลักอนุกรมเลขคณิต เช่น ตัดเก็บตัวอย่างที่ 5, 15, 25, 35, 45 และ 55
            1.2 ให้ตัดยางที่มุมตรงกันข้ามกัน 2 มุม แล้วนำยางทั้ง 2 ชิ้นดังกล่าวมาประกบกันให้น้ำหนักรวมกันไม่น้อยกว่า 250 กรัม
            1.3 นำชิ้นตัวอย่างที่ตัดได้ใส่ถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้สนิท จดบันทึกรายละเอียดของชิ้นตัวอย่างไว้นอกถุง ดังนี้
                  - วัตถุดิบที่ใช้ผลิต
                  - หมายเลขตัวอย่าง
                  - หมายเลขแท่งยางที่ตัดเก็บตัวอย่าง
                  - หมายเลขชุดที่ผลิต                                    
                  - วันที่เก็บตัวอย่าง
                  - วันที่ผลิตยาง
                  - ชื่อบริษัทผู้ผลิต
        2. ให้บรรจุยางแท่งลงในลัง เรียงหมายเลขตามลำดับแท่งที่ผลิตได้จนเต็มลัง แล้วบรรจุลงในลังถัดไปจนครบชุด
        3. ระบุวัน เดือน ปี หมายเลขชุด หมายเลขลังแต่ละชุดที่ผลิตได้ด้วยหมึกแห้ง หรือหมึกพิมพ์ไว้ตรงมุมบนขวาของลังทุกด้านให้ชัดเจน
        4. การคาดแถบระบุชั้นยางแท่งเอสทีอาร์ ต้องให้ตรงกับผลการจัดชั้นยาง หากคาดแถบยางไว้แล้ว ถ้าผลการตรวจสอบคุณภาพยางได้ไม่ตรงตามชั้นยาง ผู้ผลิตจะต้องลอกแถบออก หรือเปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับชั้นยางทันที
        5. หากมีการนำยางที่จัดชั้นไม่ได้ไปทำการรีดใหม่ ให้ผู้ผลิตแจ้งให้สถาบันวิจัยยางทราบเพื่อจะได้ดำเนินการตามระเบียบต่อไป
            ถ้าผู้ผลิตยางแท่งเอสทีอาร์เพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศโดยมิได้บรรจุยางลงในภาชนะหีบห่อต้องพิมพ์หมายเลขชุดยางลงในบัตร แล้วสอดไว้ในถุงพลาสติกกับแท่งยางทุกแท่งเป็นชุด ๆ เพื่อให้ผู้ตรวจการยางสามารถตรวจสอบได้
        6. ห้ามนำยางชนิดอื่นที่ไม่ได้อยู่ในสายการผลิตยางแท่งเอสทีอาร์ มาอัดรวมในยางแท่งเอสทีอาร์
a.    การบรรจุหีบห่อ
       การใช้พลาสติกห่อแท่งยางและพันแท่งยาง พลาสติกที่ใช้ในการห่อแท่งยางเป็นพลาสติกพอลิเอทิลีน (Polyethylene, PE) หรือพอลิโพรไพลีน (Polypropylene, PP) ชนิดความหนาแน่นต่ำ 
    1. สมบัติของพลาสติก
                  อุณหภูมิจุดหลอมเหลว (ไม่เกิน)          109 °C
                  สามารถผสมเข้ากับยางได้ที่อุณหภูมิ (ไม่เกิน) 110 °C                    
                  ความหนา                 0.03-0.04 °C
    2. ขนาดของพลาสติก
                 2.1 พลาสติกที่ใช้ห่อแท่งยางเป็นชนิดใส กว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 90 เซนติเมตร
                 2.2 พลาสติกที่ใช้พันแท่งยางเป็นชนิดสีขาวทึบแสง กว้าง 5 เซนติเมตร และระบุรายละเอียด
b.    อุณหภูมิของลังบรรจุยาง
          เมื่ออัดยางเป็นแท่งแล้วและก่อนห่อแท่งยางอุณหภูมิภายในแท่งยางจะต้องต่ำกว่า 60°C จึงทำการห่อและเย็บปากถุงพอลิเอทิลีนให้ติดกันเรียบร้อยด้วยเครื่องเย็บพลาสติกหรือหัวแร้งบัดกรีก็ได้ ห้ามใช้เทปกาวติด
c.    ขนาดของลังบรรจุยาง
         ลังที่ใช้บรรจุยางแท่งขนาดมาตรฐานต้องมีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักยาง 1 ตัน ซึ่งมีจำนวน 30 แท่ง มีขนาด กว้าง 110 เซนติเมตร ยาว 142.5 เซนติเมตร สูง 91.5 เซนติเมตร หรือน้ำหนักและขนาดอื่นนอกเหนือจากนี้ ตามที่สถาบันวิจัยยางอนุญาต
         กรณีใช้ไม้ประกอบเป็นลังจะต้องเป็นไม้ใหม่ที่ผึ่งแห้งแล้ว และปราศจากแมลงทำลายไม้และแมลงชนิดอื่น ๆ ไม่มีเปลือกไม้และกระพี้ ตะปูที่ใช้ตอกลังต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 2.5 มิลลิเมตร และยาว 60 มิลลิเมตร
         แถบเหล็กที่ใช้รัดลังไม้ควรมีขนาดไม่ต่ำกว่าขนาดดังต่อไปนี้
                กว้าง  16   มิลลิเมตร
                หนา  0.55 มิลลิเมตร
                หรือมีความสามารถต้านทานแรงดึง 580 กิโลกรัม แถบรัดชนิดอื่นที่ใช้ต้องสามารถต้านทานแรงดึงได้ในระดับเดียวกัน
d.    การบรรจุยางแท่ง
         ในการบรรจุยางแท่งลงลัง ควรวางยางแท่งให้สามารถเห็นเครื่องหมายชั้นยางจากการวางเรียงแต่ละชั้นได้สะดวก
e.    การใช้พอลิเอทิลีนคั่น
         ระหว่างชั้นของยางแท่งที่บรรจุในลัง ต้องคั่นด้วยพอลิเอทิลีนขนาด 0.03-0.04 มิลลิเมตร พอลิเอทิลีนที่คั่นระหว่างยางแท่งแต่ละชั้นจะต้องคลุมมิดยางแท่งทั้งหมดและเหลือชายพับลงไปประมาณ 100 มิลลิเมตร พอลิเอทิลีนที่ใช้จะต้องเป็นชนิดสีขาวขุ่นทึบแสงและสามารถดึงออกได้หมดหากติดกับยาง
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)    ประเมินโดยใช้แบบทดสอบเขียน


ยินดีต้อนรับ