หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินผลการปฏิบัติงานของแม่บ้าน

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-AXJL-154B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินผลการปฏิบัติงานของแม่บ้าน

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)

1 5152 พนักงานดูแลงานบ้านแม่บ้าน

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงานของแม่บ้าน การกำหนดเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของแม่บ้านอย่างชัดเจน จะช่วยให้การประเมินเป็นไปอย่างเป็นธรรมและสอดคล้องกับงานที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของแม่บ้านได้เป็นอย่างดี


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

อาชีพแม่บ้าน


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

Unit Group 5152 Domestic Housekeepers (ISCO – 08)


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
40231

ประเมินการปฏิบัติงานแม่บ้านให้สอดคล้องกับงานที่ปฏิบัติจริง

กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนประเมินผลการปฏิบัติงานของแม่บ้านที่ชัดเจน

ใช้เครื่องมือประเมินสอดคล้องกับงานที่ปฏิบัติจริง

40232

สรุปผลการปฏิบัติงานของแม่บ้านที่อยู่ในการดูแลอย่างเป็นธรรมและซื่อตรง

สรุปผลประเมินการปฏิบัติงานของแม่บ้าน

แจ้งผลการประเมินและให้คำแนะนำแก่แม่บ้าน

ระบุแนวทางปรับปรุงแก้ไขจากการประเมินผลงานรายบุคคล


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

สามารถสื่อสารเพื่อกำกับดูแล และควบคุมการปฏิบัติงานแม่บ้านได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการกำหนดเป้าหมายและการวางแผนการทำงาน
- ทักษะการสื่อสารกับทีมงาน การสั่งงานและมอบหมายงาน
- ความสามารถในการตัดสินใจ และการแก้ไขปัญหา
- เทคนิคการให้คำปรึกษาแก่พนักงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการบริหารผลการปฏิบัติงาน รูปแบบของมาตรฐานการปฏิบัติงาน ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน
- นโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารผลการปฏิบัติงาน
- ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ/เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการบริหารผลการปฏิบัติงาน เช่น แบบจำลอง (Model) การประเมินผลการปฏิบัติงาน หลักเกณฑ์การประชุมเพื่อชี้แจงวิธีการประเมินผลและผลการประเมิน
- ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับการให้คำปรึกษา เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
- แสดงความสามารถในการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานพนักงาน ตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายและการวางแผนการทำงาน การสื่อสารกับทีมงาน การสั่งงานและมอบหมายงาน การให้คำปรึกษาแก่พนักงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
- แสดงความสามารถในการตัดสินใจ และการแก้ไขปัญหา
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
- แสดงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารผลการปฏิบัติงาน หลักการบริหารผลการปฏิบัติงาน รูปแบบของมาตรฐานการปฏิบัติงาน ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน วิธีการ/เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการบริหารผลการปฏิบัติงาน
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
N/A
(ง) วิธีการประเมิน
- สังเกตการณ์ผลการดำเนินงาน
- ทดสอบโดยให้แสดงบทบาทสมมติ
- ทำแบบทดสอบกรณีศึกษา
- ทดสอบความรู้โดยการตอบคำถามด้วยวาจาหรือข้อเขียน
- พิจารณารายงานจากหน่วยงานภายนอก
- มอบหมายงาน/โครงการ
- ทดสอบโดยการฝึกซ้อมกับสถานการณ์จำลอง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
(ก) คำแนะนำ 
N/A
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. การกำหนดเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน โดยเกณฑ์การประเมิน เช่น
- ความสะอาด: ประเมินความสะอาดของพื้นผิวต่างๆ เช่น พื้น กระเบื้อง เฟอร์นิเจอร์ ห้องน้ำ ห้องครัว
- ความเรียบร้อย: ประเมินการจัดเรียงสิ่งของ การจัดเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด
- คุณภาพงาน: ประเมินความละเอียดรอบคอบในการทำงาน เช่น การขัดเงา การขจัดคราบ
- ความตรงต่อเวลา: ประเมินการปฏิบัติงานตามเวลาที่กำหนด
- ทัศนคติในการทำงาน: ประเมินความขยันหมั่นเพียร ความรับผิดชอบ และความกระตือรือร้น
- การปฏิบัติตามกฎระเบียบ: ประเมินการปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กร
2. เครื่องมือที่ใช้ประเมินควรหลากหลาย ประกอบด้วย
- แบบประเมิน: ใช้แบบประเมินที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมและเป็นรูปธรรม
- การสังเกตการณ์: สังเกตพฤติกรรมการทำงานของแม่บ้านในขณะปฏิบัติงาน
- การสัมภาษณ์: สัมภาษณ์แม่บ้านเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
- การตรวจสอบงาน: ตรวจสอบผลงานที่แม่บ้านได้ปฏิบัติ
- การให้คะแนน: ใช้เกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน เช่น ระดับ 1-5 หรือ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง
3. การให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง
- ผู้บังคับบัญชา: ประเมินจากมุมมองของผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม    
- เพื่อนร่วมงาน: ประเมินจากมุมมองของเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับการทำงานร่วมกัน
- ผู้รับบริการ: ประเมินจากความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
4. การให้โอกาสในการพัฒนา
- ระบุจุดแข็งและจุดอ่อน: ชี้ให้เห็นถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละบุคคล
- วางแผนการพัฒนา: วางแผนการพัฒนาศักยภาพเพื่อให้แม่บ้านสามารถแก้ไขจุดอ่อนและพัฒนาตนเอง
- ให้การฝึกอบรม: จัดอบรมให้ความรู้และทักษะที่จำเป็น
5. หน้าที่ของหัวหน้างานในการตรวจสอบการทำงาน ประกอบด้วย การให้ข้อมูลป้อนกลับแก่พนักงานถึงผลการปฏิบัติงานจริงที่เกิดขึ้น (Performance Feedback) และคิดหาวิธีการหรือเครื่องมือนำไปสู่การพัฒนาพนักงาน (Performance Development)
6. ความยุติธรรมหรือความเท่าเทียมกันในการประเมินผลงาน ประกอบด้วย
- ความยุติธรรมเชิงกระบวนการหมายถึง ความเหมาะสมของกระบวนการประเมิน ได้แก่ โอกาสในการแสดงความคิดเห็น ความคงเส้นคงวาในการประเมิน และความเกี่ยวข้องกับงานและปราศจากอคติ
- ความยุติธรรมเชิงการปฏิบัติต่อบุคคลหมายถึง การติดต่อสื่อสารและการปฏิบัติต่อบุคคลอย่างเหมาะสม ได้แก่ ความซื่อสัตย์และการปฏิบัติอย่างมีจรรยาบรรณ และการสื่อสารและการแจ้งผลการประเมินอย่างรวดเร็วและละเอียด
- ความยุติธรรมเชิงผลลัพธ์หมายถึงความเหมาะสมของการตัดสินและผลลัพธ์ที่ตามมา โดยที่ผลลัพธ์มีความสอดคล้องกับความคาดหวังของพนักงาน
7. การนำแนวคิดตัวชี้วัดผลงานหลัก (Key Performance Indicators: KPIs) มาใช้ จะต้องประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ปัจจัยที่ใช้ประเมินผลงาน น้ำหนักของปัจจัยที่กำหนด และวิธีการประเมินผลงาน
8. แนวทางการกำหนดดัชนีชี้วัดผลการปฏิบัติงาน แบ่งได้เป็น ประเภทที่มุ่งเน้นปริมาณของงาน (จำนวนผลงานที่ทำได้สำเร็จเปรียบเทียบกับปริมาณงานที่กำหนด หรือ ปริมาณงานที่ควรจะทำได้ในเวลาที่ควรจะเป็น) ประเภทที่มุ่งเน้นคุณภาพของงาน (ความถูกต้อง ความประณีต ความเรียบร้อยของงาน และตรงตามมาตรฐานของงาน) ประเภทที่มุ่งเน้นความรวดเร็วหรือทันการณ์ (เวลาที่ใช้ปฏิบัติงานเทียบกับเวลาที่กำหนดไว้) และประเภทที่มุ่งเน้นความประหยัดหรือความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร (การประหยัดในการใช้วัสดุอุปกรณ์ต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายในการทำงาน การระวังรักษาเครื่องมือเครื่องใช้)
9. ดัชนีชี้วัดผลการปฏิบัติงาน รวมถึง
- ตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินผลการดำเนินงานจริงเปรียบเทียบกับชุดของเป้าหมายที่กำหนด
- มาตรฐานการดำเนินงานที่เป็นการระบุระดับของการปฏิบัติงานที่ต้องการจากแต่ละบุคคลหรือจากกลุ่ม ซึ่งอาจจะแสดงเป็นเป้าหมายในเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ และอาจจะเกี่ยวข้องกับ
- ประสิทธิภาพ
- ความตรงต่อเวลา
- การนำเสนอส่วนบุคคล
- ระดับความถูกต้องในการปฏิบัติงาน
- ความสอดคล้องกับระเบียบ/ขั้นตอนการทำงาน
- มาตรฐานการให้บริการแก่ลูกค้า
- การมีปฏิสัมพันธ์กับทีมงาน
- เวลาที่ใช้ในการตอบสนอง
- การสูญเสียที่น้อยที่สุด
- ต้นทุนต่ำที่สุด
10. การให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลลัพธ์แก่พนักงาน หมายถึง
- การให้ข้อมูลย้อนกลับที่ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง/หลักฐานของผลการดำเนินงาน
- การเห็นชอบร่วมกันในผลการดำเนินงานจริงและระดับผลการดำเนินงานที่ต้องการ
- การบ่งชี้กิจกรรมที่ควรปรับปรุง กำหนดเวลาและเป้าหมายสำหรับการประเมินครั้ง/รอบถัดไป
11. การระบุมาตรการปรับปรุงแก้ไข หมายถึง
- การให้การสนับสนุนอย่างเพียงพอ เช่น การใช้ระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษา (Mentoring) การสอนงาน (Coaching) การฝึกอบรม ทรัพยากรที่ต้องการ ข้อมูล
- การให้การสนับสนุน/แก้ไขปัญหานอกเหนือจากหน้าที่งานที่พนักงานกำลังเผชิญ
- การจัดสรรหน้าที่ความรับผิดชอบและการปรับภาระงาน
- การปรับโครงสร้างการปฏิบัติงาน
- การปรับปรุงภาะงานที่ต้องการและ/หรือมาตรฐานการทำงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสาธิตการปฏิบัติงาน
2. การสัมภาษณ์


ยินดีต้อนรับ