หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ร่วมจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ระดับต้น

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-SOQE-499A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ร่วมจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ระดับต้น

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยนี้ครอบคลุมความรู้ ทักษะและทัศนคติที่จำเป็นในการร่วมจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ระดับต้นโดยจะทำการทดสอบสมรรถนะย่อย ได้แก่ รวบรวม ข้อมูลการบำรุงรักษาเครื่องมือ และจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์โดยอ้างอิงแนวทางมาตรฐาน


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

อาชีพนักเทคโนโลยีคลินิก


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
3030101

รวบรวม ข้อมูลการบำรุงรักษาเครื่องมือ

1.1 รวบรวมข้อมูลการใช้งาน ความต้องการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ในระดับต้น

1.2 วิเคราะห์ความต้องการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์

3030102

จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์โดยอ้างอิงแนวทางมาตรฐาน

2.1 วางแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ตามมาตรฐานสากลหรือตามแนวทางของบริษัท

2.2 จัดทำรายการ อะไหล่ เครื่องมือแพทย์ เพื่อใช้ในการบำรุงรักษา

2.3 สร้างแบบฟอร์มข้อมูลการบำรุงรักษาได้เหมาะสมสอดคล้องกับกระบวนการ

2.4 จัดเตรียมเครื่องมือวัดและเครื่องมือทดสอบที่จะใช้ในการบำรุงรักษา


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการบำรุงรักษา
-    ทักษะการจัดทำแผนงาน
-    ทักษะการสื่อสารเพื่อตีความและนิยามและอธิบายขั้นตอนการทำงาน
-    ทักษะการแก้ปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน    
-    ทักษะการบัดกรี
-    ทักษะการการแก้ไขปัญหาการทำงานของเครื่อง    
-    ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เรื่องข้อมูลจำเพาะของเครื่องมือและการใช้งานที่เหมาะสม
-    แนวคิดและหลักการทั่วไปด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
      •    แหล่งจ่ายไฟตรง/ไฟสลับ (AC/DC power supplies)
      •    อุปกรณ์ขยายสัญญาณ (Operational amplifiers)
      •    ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์
      •    เทคนิคการเดินสายไฟ
      •    ไมโครโพรเซสเซอร์
      •    โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
-    การใช้งานอุปกรณ์ (Instrument) และ/หรือเครื่อง (Equipment) ทดสอบ
-    การประยุกต์ใช้ทางคลินิกของ เครื่อง/อุปกรณ์/เครื่องมือ (Tools)
-    การบำรุรักษาเครื่องมือแพทย์ตามมาตรฐานสากล
-    การจัดการเครื่องมือแพทย์ตามมาตรฐาน
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
      (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
              -    มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้อง
      (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
              -    มีหลักฐานการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
      (ค)    คำแนะนำในการประเมิน
              -    หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่นำมาแสดงจะต้องออกให้หรือรับรองโดยหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งเป็นที่ยอมรับสายงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย
      (ง)    วิธีการประเมิน
              -   ยื่นหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
      (ก)    คําแนะนํา
             N/A
      (ข)    คำอธิบายรายละเอียด 
             เครื่องมือช่าง (Tools)
             -    มัลติมิเตอร์ (Multi meter)
             -    ชุดทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้า (Electrical Safety Test Device)
             -    คีม (Pliers)
             -    ไขควง (Screwdriver)
             -    ปืนบัดกรี (Soldering iron)
             -    ประแจ (Wrench)
            เครื่อง (Equipment)
             -    ระบบเครื่องไตเทียม (Hemodialysis system) ได้แก่
                   •    ระบบน้ำบริสุทธิ์ (Water purification system)
                   •    เครื่องไตเทียม (Dialysis machine)
                   •    ตัวกรอง (Dialyzer)
              -    เครื่องมือในระบบหายใจ (Respiration) ได้แก่
                   •    เครื่องช่วยหายใจเบิร์ด (Bird’s ventilator)
                   •    เครื่องช่วยหายใจแบบเมคคานิกส์ แบบโหมดพื้นฐาน (Mechanical ventilators (Basic mode))
                   •    เครื่องช่วยหายใจแบบไม่รุกล้ำ (Noninvasive Oxygen therapy)
              -    เครื่องมือในระบบประสาท (Neurological)
                   •    เครื่องควบคุมอุณหภูมิผู้ป่วยร้อน/เย็น (Hypo/hyperthermia)
                   •    เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)
                   •    เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG)
                   •    เครื่องตรวจการนอนหลับ (Sleep lab)
              -    เครื่องเฝ้าระวังและติดตามสัญญานชีพผู้ป่วย (Patient Monitors)
                   •    เครื่องวัดความดันโลหิตแบบไม่รุกล้ำ (NIBP)
                   •    เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Oxymeter)
                   •    เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)
                   •    เครื่องวัดความดันโลหิตแบบรุกล้ำ (Arterial blood pressure, CVP monitoring)
              สถานที่ปฏิบัติงาน (Worksite) 
              -    แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) /หอผู้ป่วย (Ward) /ห้องฉุกเฉิน (Emergency Room) /หอผู้ป่วยหนัก (ICU)
              -    ห้องผ่าตัด (Operation Room) / ห้องคลอด (Delivery Room)
              -    หน่วยงานไตเทียม (Dialysis Unit)
              -    หน่วยงานส่องกล้อง (Endoscope Unit)
             ข้อมูลและคู่มือบริการ (Service manuals and information) 
              -    คู่มือการทำงาน    
              -    แผ่นรายงานการทำงาน
              -    คู่มือบริการ คู่มือทางเทคนิค    
              -    ใบสั่ง/ใบคำขอ การทำงาน
              -    คู่มือติดตั้ง    
              -    บัตรประวัติเครื่อง
              -    คู่มือรายการชิ้นส่วน    
              -    ดัชนีผู้จำหน่าย
              -    มาตรฐาน ECRIและมาตรฐานการสอบเทียบเครื่องมือแพทย์สากล
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินผ่าน:
      -    การสัมภาษณ์ / ข้อสอบข้อเขียน
      -    สาธิตการปฏิบัติงาน (จำลอง)
โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น

 


ยินดีต้อนรับ