หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทวนสอบ สอบเทียบและปรับแต่งเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-SCHF-463A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทวนสอบ สอบเทียบและปรับแต่งเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสและอาชีพตาม ISCO-08 ได้แก่
      2149 วิศวกร (ยกเว้นวิศวกรเทคโนโลยีไฟฟ้า) ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น 
                -  วิศวกรชีวการแพทย์
 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยนี้ครอบคลุมความรู้ ทักษะและทัศนคติที่จำเป็นในการทวนสอบ สอบเทียบและปรับแต่งเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์จะทดสอบโดยใช้การโดยจะทำการทดสอบสมรรถนะย่อย ได้แก่ วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการทวนสอบ สอบเทียบ/ปรับแต่ง(ตั้งค่า) เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์ปรับแต่ง(ตั้งค่า) เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์ ทวนสอบ/สอบเทียบเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์ และจัดทำเอกสารบันทึกข้อมูลการทวนสอบ สอบเทียบ และปรับแต่ง เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

วิศวกรชีวการแพทย์
นักอุปกรณ์การแพทย์
 


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
2010901

วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการทวนสอบ สอบเทียบ ปรับแต่ง (ตั้งค่า) เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์

1.1 วางแผนการทวนสอบ สอบเทียบ ปรับแต่ง (ตั้งค่า) เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์ โดยมีการประเมินความถี่ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของผู้ผลิตหรือมาตรฐานสากล

1.2 สร้างแบบฟอร์มข้อมูลการทวนสอบ สอบเทียบ ปรับแต่ง (ตั้งค่า) เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์ได้เหมาะสมสอดคล้องกับกระบวนการ

1.3 ระบุเครื่องมือช่างและเครื่องมือทดสอบที่ใช้ในการทวนสอบ สอบเทียบ ปรับแต่ง (ตั้งค่า) เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์ตามที่กำหนด

2010902

ปรับแต่งครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์

2.1 จัดเตรียมเครื่องมือวัดและเครื่องมือทดสอบที่จะใช้ในการปรับแต่ง (ตั้งค่า) เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์

2.2 ตั้งค่าการทำงาน/การทดสอบของเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงเพื่อใช้ในการปรับแต่ง (ตั้งค่า) เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์ ตามมาตรฐานการใช้งานของผู้ผลิตหรือตามมาตรฐานสากล

2.3  ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและอุปกรณ์เสริม/ต่อพ่วงก่อนการปรับแต่ง (ตั้งค่า) เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์

2.4 ทำการตรวจสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูง ตามกระบวนการที่กำหนดและสามารถวิเคราะห์ผลการปรับแต่ง (ตั้งค่า) ตามที่กำหนด

2.5 มีการบันทึกผลการปรับแต่ง (ตั้งค่า) เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์อย่างครบถ้วน และถูกต้อง

2.6 ปรับตั้ง/แก้ไขเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงหากผลการปรับแต่ง (ตั้งค่า) เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน และทำการปรับแต่ง (ตั้งค่า) ซ้ำ/บันทึกผลการปรับแต่ง (ตั้งค่า) อีกครั้ง

2.7 ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน

2010903

ทวนสอบ สอบเทียบ เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์

3.1 จัดเตรียมเครื่องมือวัดและเครื่องมือทดสอบที่จะใช้ในการทวนสอบ สอบเทียบเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์และควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตามมาตรฐานการสอบเทียบตามที่กำหนด

3.2 ตั้งค่าการทำงาน/การทดสอบของเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงเพื่อใช้ในการทวนสอบ สอบเทียบเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์ตามมาตรฐานการใช้งานของผู้ผลิตหรือตามมาตรฐานสากล

3.3 ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและอุปกรณ์เสริม ต่อพ่วงก่อนทวนสอบ สอบเทียบ เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์

3.4 ทำการทวนสอบ สอบเทียบเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงตามกระบวนการที่กำหนดและสามารถวิเคราะห์ผลการปรับแต่ง (ตั้งค่า)ตามที่กำหนด

3.5 มีการบันทึกผลการทวนสอบ สอบเทียบ เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์อย่างครบถ้วน และถูกต้อง

3.6 ปรับตั้ง/แก้ไขเครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงหากผลการทวนสอบ สอบเทียบ เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูง/อุปกรณ์การแพทย์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานและทำการทวนสอบสอบเทียบซ้ำ/บันทึกผลการทวนสอบสอบเทียบอีกครั้ง

3.7 ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน

2010904

จัดทำเอกสารบันทึกข้อมูลการทวนสอบ สอบเทียบ และปรับแต่ง เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์

4.1 บันทึกข้อมูลและตรวจสอบเอกสารบันทึกข้อมูลการทวนสอบ สอบเทียบ และปรับแต่ง (ตั้งค่า) เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์ตามขั้นตอนของการบริหารจัดการเอกสาร 

4.2 จัดเก็บเอกสารบันทึกข้อมูลการทวนสอบ สอบเทียบ และปรับแต่ง (ตั้งค่า) เครื่องมือแพทย์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิคระดับสูงและระบบสนับสนุนทางการแพทย์อย่างเป็นระบบและมีการปรับปรุงฐานข้อมูลขั้นตอนของการบริหารจัดการเอกสาร


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    การตีความคำแนะนำในการทำงาน (Work Instruction)
-    การตีความและกำหนดขั้นตอนการทำงาน
-    การคัดเลือกและการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสม
-    ทักษะการกำหนดค่า (ตั้งค่า)
-    ทักษะการสอบเทียบ
-    การแก้ปัญหาในกรณีที่ไม่ได้วางแผน
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    มาตรวิทยา/การวัด    
-    ทฤษฎีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
-    หลักการของเครื่องมือ    
-    ทฤษฎีการควบคุมกระบวนการ
-    Programmable logic controllers    
-    การใช้งานคอมพิวเตอร์
-    การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทดสอบและปรับเทียบ
-    เซ็นเซอร์ ตัวส่งสัญญาณ ทรานส์ดิวเซอร์ และ ตัวแปลง
-    การวัดตัวแปรกระบวนการ (ความดัน  การไหล  อุณหภูมิ การวิเคราะห์ และอื่น ๆ)
-    ระบบการควบคุมกระบวนการ (single-& multi-loop controllers, DCS, DAS, SCADA)
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
      (ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
              -   มีหลักฐานการผ่านงานที่เกี่ยวข้อง
      (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
              -   มีหลักฐานการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
      (ค)    คำแนะนำในการประเมิน 
              -   หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่นำมาแสดงจะต้องออกให้หรือรับรองโดยหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งเป็นที่ยอมรับสายงานวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย
      (ง)    วิธีการประเมิน
              -   ยื่นหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
      (ก)    คําแนะนํา
              N/A
      (ข)    คำอธิบายรายละเอียด 
              มาตรฐานอุปกรณ์ชีวการแพทย์ (Biomedical equipment standard)    
              -    OIML (International Organization for Legal Metrology Standards)
              -    ANSI (American National Standards Institute)
              -    ASME (American Society of Mechanical Engineers)
              -    NEC (National Electric Code)
              -    IEC (International Electro technical Commission)
             ระบบ/อุปกรณ์ชีวการแพทย์ (Biomedical equipment/systems)    
              -    Sensor elements    
              -    Electronic logic control
              -    Electro-mechanical element     
              -    Actuator & output devices
              -    Hydraulic elements    
              -    Pneumatic and electro-pneumatic elements 
             อุปกรณ์/เครื่องมือทดสอบ (Measurement/testing device)       
              -    คอมพิวเตอร์    
              -    เครื่องปรับแต่ง (ตั้งค่า) ชนิดพกพา
              -    ตัวส่งสัญญาณ หรือ ตัวแปลงสัญญาณ    
              -    สเต็ปมอเตอร์
              -    อุปกรณ์แหล่งจ่ายไฟ    
              -    มัลติมิเตอร์
              -    เครื่องกำเนิดสัญญาณ    
              -    Oscilloscope
              -    มาตรวัดมาตรฐาน
              -    ตัวสอบเทียบ ตัวปรับแต่งหรือตัวโปรแกรม อุปกรณ์ทรานส์ดิวเซอร์
             อุปกรณ์ป้องกันเฉพาะบุคคล (Personal protective equipment)   
              -    อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ที่ปิดหู/ที่อุดหู แว่นตา หน้ากาก    
              -    เครื่องแต่งกายเพื่อความปลอดภัย 
             ข้อผิดพลาดหรือปัญหา (Faults or problem)  
              -    ทางกล        
              -    ทางคอมพิวเตอร์
              -    ทางไฟฟ้า        
              -    นิวเมติก
              -    อิเล็กทรอนิกส์    
              -    ไฮดรอลิกส์  
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินผ่าน
      -    การสัมภาษณ์/การตอบคำถามปากเปล่า/ข้อสอบข้อเขียน
      -    การสังเกตการณ์ ณ สถานที่ปฏิบัติงาน/การสาธิต
โดยสมรรถนะอาจจะได้รับการประเมินในที่ทำงานหรือในสถานที่ทำงานจำลองที่มีการจัดตั้งขึ้น
 


ยินดีต้อนรับ