หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประกอบเครื่องมือแพทย์โดยใช้เครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools) และอุปกรณ์ทางกล

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-WINP-408A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประกอบเครื่องมือแพทย์โดยใช้เครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools) และอุปกรณ์ทางกล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 821 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะ ความสามารถในการใช้เครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล โดยมีความรู้ในการจำแนกประเภท วิธีการใช้งานของเครื่องมือและอุปกรณ์พื้นฐานให้เหมาะสมกับประเภทของชิ้นส่วนได้ อีกทั้งยังสามารถเตรียม ตรวจสอบความพร้อมใช้งาน ปฏิบัติงานเครื่องมือและอุปกรณ์ รวมไปถึงการดูแลรักษา ตลอดจนการจดบันทึกผลการปฏิบัติงาน


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
103MA02.1

ปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการทำงาน

1.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

1.2 ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลก่อนและหลังปฏิบัติงาน

103MA02.2

เตรียมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล

2.1 จำแนกประเภท วิธีการใช้งานของเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกลให้เหมาะสมกับประเภทของชิ้นงาน

2.2 ตรวจสอบความพร้อมใช้งานของเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์

103MA02.3

ปฏิบัติงานเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล

3.1 ดำเนินการใช้งานเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล

3.2 ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของสถานประกอบการ หรือขั้นตอนความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
2.    สามารถตรวจสอบสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
3.    สามารถสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
4.    สามารถระบุและจำแนกชิ้นส่วนทางกล จากการเห็นรูปทรงชิ้นส่วนทางกล ณ หน้างาน
5.    สามารถระบุชื่อเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools) และอุปกรณ์ทางกล จากการเห็นรูปทรงเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools) และอุปกรณ์ทางกล ณ หน้างาน
6.    สามารถจัดเตรียมเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools) และอุปกรณ์ทางกลสำหรับใช้ปฏิบัติงาน ตามใบสั่งงาน (Work Instruction)
7.    สามารถตรวจสอบสภาพเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools) และอุปกรณ์ทางกล
8.    สามารถใช้งานเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools) และอุปกรณ์ทางกลอย่างถูกหลักการ รวมถึงตรงกับวัตถุประสงค์การใช้   
9.    สามารถดูแลทำความสะอาดเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล
10.    สามารถซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกลเบื้องต้น
11.    สามารถแสดงการเก็บรักษาเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกลเบื้องต้น
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับสภาพความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และอันตรายในการทำงาน
2.    ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และการใช้งาน
3.    ความรู้เกี่ยวกับหน่วยของแรงและทอร์ก
4.    ความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วนทางกล
5.    ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของชิ้นส่วนทางกล
6.    ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ความไม่ปลอดภัย สำหรับใช้ปฏิบัติงาน
7.    ความรู้เกี่ยวกับประเภทและการใช้งานของเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools) และอุปกรณ์ทางกล
8.    ความรู้เกี่ยวกับความสภาพของเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools) และอุปกรณ์ทางกลที่ความไม่ปลอดภัยสำหรับใช้ปฏิบัติงาน
9.    ความรู้ด้านการซ่อมแซมและเก็บรักษาเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools) และอุปกรณ์ทางกล
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
      1.    แบบบันทึกรายการผลจากการการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง
(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
      1.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools) และอุปกรณ์ทางกล หรือ
      2.    เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools) และอุปกรณ์ทางกล หรือ
      3.    แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน 
(ค)    คำแนะนำในการประเมิน
      เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้
(ง)    วิธีการประเมิน
     1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง
     2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 
      1.    ผู้เข้ารับการประเมินควรให้ความสำคัญเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานขณะประกอบชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ โดยสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคลระหว่างการปฏิบัติงาน
      2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอ่านแบบทางวิศวกรรม และตีความได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบแสดงชิ้นส่วนประกอบ และ Bill of Materials
      3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องทราบศัพท์เทคนิคหรือศัพท์ทางช่างของอุปกรณ์ทางกล
(ข)    คำอธิบายรายละเอียด
      1.    เครื่องมือพื้นฐาน (Hand Tools) และอุปกรณ์ทางกล หมายถึง เครื่องมือช่างที่ทำงานได้ด้วยกำลังจากคน หรือกำลังจากไฟฟ้า เช่น ไขควง ประแจ ตะไบ เลื่อน สว่าน ฯลฯ
      2.    อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หมายถึง อุปกรณ์นิรภัยที่ป้องกันผู้ปฏิบัติงานจากอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น แว่นตานิรภัย หมวกนิรภัย เชือกนิรภัย ชุดนิรภัย รองเท้านิรภัย ถุงมือ เข็มขัดพยุงหลัง ชุดป้องกันสารเคมี ฯลฯ
     3.    เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562 
(ค)    วัสดุและอุปกรณ์
     1.    วัสดุที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย ชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ ที่ผลิตมาสำเร็จแล้ว รวมถึงชิ้นส่วนทางกลสำหรับยึด เช่น สกรู เป็นต้น
     2.    เครื่องจักรที่ควรมีในการประเมินจากการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ประกอบด้วย เครื่องทุนแรงในการยึดชิ้นส่วน (หากจำเป็น) เครื่องยกทุ่นกำลัง และเครน (หากจำเป็น) เป็นต้น 
     3.    อุปกรณ์ที่ควรมีประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันภัย เครื่องมือตัด เครื่องมือตัด ประแจ ไขควง เครื่องมือวัด และแบบหรือตัวอย่างแบบวิศวกรรมของงานชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการทำงาน
      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน
      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน
      3.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.2 เครื่องมือประเมินการสำรวจข้อมูลความต้องการเตรียมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล
      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน
      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้เครื่องมือกล
      3.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการอ่านแบบทางวิศวกรรม
      4.    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านการเตรียมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.3 เครื่องมือประเมินปฏิบัติงานเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล
      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน
      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการใช้เครื่องมือกล
      3.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านการอ่านแบบทางวิศวกรรม
      4.    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง ในด้านการเตรียมเครื่องมือพื้นฐานและอุปกรณ์ทางกล
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
 


ยินดีต้อนรับ