หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

อ่านแบบและสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-UNXK-407A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ อ่านแบบและสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 821 ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะการอ่านแบบ ข้อกำหนด มาตรฐาน และคู่มืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการติดตั้ง การบำรุงรักษา และการควบคุมกระบวนการ รวมถึงหลักการของการควบคุมกระบวนการซึ่งประกอบไปด้วยแบบ มาตรฐาน ข้อกำหนด และคู่มืออุปกรณ์ เข้าใจการจับคู่อุปกรณ์กับฟังก์ชันและตำแหน่งที่ระบุไว้ เข้าใจการเชื่อมต่อที่จำเป็นระหว่างอุปกรณ์นิวแมติก อุปกรณ์ไฮดรอลิก และอุปกรณ์ไฟฟ้าจากแบบเครื่องมือและข้อกำหนด


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
103MA01.1

เลือกแบบเทคนิคทางไฟฟ้ามาใช้งานได้ถูกต้องกับงาน

1.1 ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของแบบเทคนิคทางไฟฟ้าได้ตรงตามความต้องการของงานหรืออุปกรณ์ที่ใช้งาน

1.2 ตรวจสอบและยืนยันความสมบูรณ์ เวอร์ชันของแบบเทคนิคทางไฟฟ้า

103MA01.2

ตีความแบบเทคนิคทางไฟฟ้า

2.1 เข้าใจส่วนประกอบ แอสเซมบลี หรือวัตถุได้ตามที่กำหนด

2.2 เข้าใจสัญลักษณ์ต่างๆ ในแบบเทคนิคทางไฟฟ้า

103MA01.3

ระบุข้อกำหนดของแบบเทคนิคทางไฟฟ้า

3.1 ระบุขนาดได้เหมาะสมกับลักษณะงาน

3.2 ระบุคำสั่งและปฏิบัติตามได้ตามที่กำหนด

3.3 ระบุข้อกำหนดของวัสดุได้ตามที่กำหนด


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถตรวจสอบและชี้แจงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงาน 
2.    สามารถรับรองความถูกต้องและยืนยันความสมบูรณ์เวอร์ชันของแบบเทคนิคทางไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิคส์ ได้ตรงตามความต้องการของงานหรืออุปกรณ์ที่ใช้งาน
3.    สามารถอ่าน ตีความ สัญลักษณ์ต่างๆในแบบเทคนิคทางไฟฟ้าและส่วนประกอบ แอสเซมบลี หรือวัตถุได้ตามที่กำหนด
4.    สามารถระบุขนาดและระบุตำแหน่งสัมพัทธ์ของชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิคส์ได้เหมาะสมกับลักษณะงาน
5.    สามารถระบุคำสั่ง ข้อมูลที่เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงาน ข้อกำหนด กระบวนการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน แผนภูมิ รายการ ภาพวาด และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับแบบเทคนิคไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิคส์
6.    สามารถระบุข้อกำหนดของวัสดุในแบบเทคนิคไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิคส์ได้ตามที่กำหนด
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่ใช้ในแบบเทคนิคไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์
2.    ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งสัมพัทธ์ของชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์
3.    ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดของชิ้นส่วนประกอบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด
4.    ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดสำหรับวงจรและแบบเทคนิคไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิคส์
5.    ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดการออกแบบของวงจร/ชิ้นส่วนประกอบ
6.    ความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วนประกอบและวัสดุที่เหมาะสมจากแคตตาล็อกของซัพพลายเออร์/ผู้ผลิต
7.    ความรู้เกี่ยวกับเหตุผลในการเลือกชิ้นส่วนประกอบและ/หรือวัสดุที่เลือก
8.    ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบ รับรอง และยืนยันความสมบูรณ์ของแบบเทคนิคทางไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิคส์
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
      1.    แบบบันทึกรายการผลจากสาธิตการปฏิบัติงาน
(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
      1.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการอ่านแบบเทคนิคไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิคส์ หรือ
      2.    เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการอ่านแบบเทคนิคไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิคส์ หรือ
      3.    แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน
(ค)    คำแนะนำในการประเมิน
      เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้
(ง)    วิธีการประเมิน
      1.    เอกสารรับรองการทำงานด้านการผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือแพทย์ด้วยเครื่องขึ้นรูป Multi-function จากสถานประกอบการ หรือ
      2.    แบบบันทึกรายการผลจากการการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 
      1.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้ด้านสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า พารามิเตอร์ทางไฟฟ้า และหน่วยวัดทางไฟฟ้า
      2.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้ด้านแบบทางไฟฟ้า
      3.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้ด้าน Electrical Component
(ข)    คำอธิบายรายละเอียด
      N/A
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการเลือกแบบเทคนิคทางไฟฟ้ามาใช้งานได้ถูกต้องกับงาน
      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน
      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านพื้นฐานทางไฟฟ้า
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.2 เครื่องมือประเมินการตีความแบบเทคนิคทางไฟฟ้า
      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน
      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านพื้นฐานทางไฟฟ้า
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.3 เครื่องมือประเมินการระบุข้อกำหนดของแบบเทคนิคทางไฟฟ้า
      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน
      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านพื้นฐานทางไฟฟ้า
      3.    ประเมินโดยการสังเกตการปฏิบัติงาน ณ หน้างานจริง ด้านการระบุข้อกำหนดของแบบเทคนิคทางไฟฟ้า
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
 


ยินดีต้อนรับ