หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-KGFC-377A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 311 ช่างเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถวางแผนการประเมินความเสี่ยง คาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานเครื่องมือแพทย์ และดำเนินการควบคุมความเสี่ยงเพื่อให้การใช้งานเครื่องมือแพทย์เป็นไปอย่างปลอดภัยได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
101MC03.1

วางแผนการประเมินความเสี่ยง

1.1 เตรียมข้อมูลความมุ่งหมายการใช้งานเครื่องมือแพทย์

1.2 กำหนดแผนงาน ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบในการประเมินความเสี่ยง

101MC03.2

คาดการณ์ความเสี่ยง

2.1 ระบุสถานการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานตามความมุ่งหมาย

2.2 ประเมินระดับความเสี่ยง

101MC03.3

ควบคุมความเสี่ยง

3.1 กำหนดรายการทดสอบเครื่องมือแพทย์เพื่อลดความเสี่ยง

3.2 รวบรวมผลการทดสอบเครื่องมือแพทย์ เพื่อยืนยันผลการลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถเตรียมข้อมูลรายละเอียดเครื่องมือแพทย์
2.    สามารถวางแผนงานประเมินความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์
3.    สามารถกำหนด ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบ ในแต่ละขั้นตอนการประเมิน
4.    สามารถระบุรายละเอียดความเสี่ยงของการใช้งานเครื่องมือแพทย์
5.    สามารถใช้เครื่องมือเพื่อประเมินระดับความเสี่ยง
6.    สามารถระบุความเสี่ยงสำคัญของเครื่องมือแพทย์
7.    สามารถระบุการทดสอบสมรรถนะและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง
8.    สามารถแสดงรวบรวมผลการทดสอบ
9.    สามารถยืนยันผลการควบคุมความเสี่ยง
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านกระบวนการประเมินความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์ตามข้อกำหนด ISO14971
2.    ความรู้เกี่ยวกับ Gantt chart ใช้ในการวางแผนงานการออกแบบเครื่องมือแพทย์
3.    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์
4.    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือประเมินความเสี่ยง เช่น FMEA เป็นต้น
5.    ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบเครื่องมือแพทย์
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
      1.    เอกสารรับรองการทำงานด้านการประเมินความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์จากสถานประกอบการ หรือ
      2.    แบบบันทึกรายการผลจากสาธิตการปฏิบัติงานออกแบบเครื่องมือแพทย์ หรือ
      3.    แฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องมือแพทย์ 
(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
      1.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์ หรือ
      2.    เอกสารรับรองผลการอบรมเกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์ หรือ
      3.    แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน
(ค)    คำแนะนำในการประเมิน
      เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานด้านความรู้ที่เกี่ยวข้อง
(ง)    วิธีการประเมิน
      1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก ใบรับรองการทำงาน หรือแฟ้มสะสมผลงาน
      2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ
      1.    ผู้รับการประเมินควรมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือประเมินความเสี่ยง
      2.    ผู้รับการประเมินควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ISO14971 และวิธีประเมินความเสี่ยง
(ข)    คำอธิบายรายละเอียด
      1.    เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562
      2.    รายละเอียดเครื่องมือแพทย์ หมายถึง คุณลักษณะเครื่องมือแพทย์ เช่น ลักษณะรูปทรงทั่วไป หลักการทำงาน ข้อบ่งใช้ วัตถุประสงค์การใช้ การเก็บรักษา ฯลฯ
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมินการวางแผนการประเมินความเสี่ยง
      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน
      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์ หรือ ISO14971
      3.    ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการประเมินความเสี่ยง
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.2  เครื่องมือประเมินการคาดการณ์ความเสี่ยง
      1.    การสอบข้อเขียน 
      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์ หรือ ISO14971
      3.    ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ความเสี่ยง
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.3  เครื่องมือประเมินการควบคุมความเสี่ยง
      1.    การสอบข้อเขียน 
      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้านความเสี่ยงเครื่องมือแพทย์ หรือ ISO14971
      3.    ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความเสี่ยง
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน


ยินดีต้อนรับ