หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ตาม Regulation และมาตรฐานระบบงานสากล

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-RQRR-369A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ตาม Regulation และมาตรฐานระบบงานสากล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 311 ช่างเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความเข้าใจและทักษะด้านการปฏิบัติตาม Regulation และ มาตรฐานระบบงานเกี่ยวกับการดำเนินสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ ติดตามและควบคุมให้สถานประกอบการผลิตรายการเครื่องมือแพทย์ตามรายการที่จดแจ้งได้ไว้ ตลอดจนจดส่งเสริมให้บุคลากรมีเจตคติที่ดีในการปฏิบัติตาม Regulation และ มาตรฐานระบบงานสากล


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
101MD09.1

ตรวจสอบและสืบค้น Regulation และมาตรฐานระบบงานที่เกี่ยวข้อง

1.1 สืบค้นข้อ Regulation และมาตรฐานระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องมือแพทย์

1.2 คัดกรอง Regulation และมาตรฐานระบบงานให้ได้มาซึ่งฉบับที่ทันสมัยและมีผลบังคับใช้

1.3 บันทึก Regulation และมาตรฐานระบบงานสากลที่เกี่ยวข้องในศูนย์ควบคุมเอกสาร

101MD09.2

ควบคุมการดำเนินงานสถานประกอบการผลิตให้ถูกต้องตาม Regulation และมาตรฐานระบบงาน

2.1 วางแผนตรวจสอบการดำเนินงาน

2.2 ตรวจสอบการดำเนินงานให้เป็นไปตาม Regulation และมาตรฐานระบบงานสากล

2.3 แก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตาม Regulation และมาตรฐานระบบงาน

101MD09.3

ส่งเสริมให้เกิดเจตคติแก่บุคลากรที่ดีในการทำงานตาม Regulation และมาตรฐานระบบงาน

3.1 จัดกิจกรรมที่ช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีและตระหนักรู้ในการปฏิบัติงานตาม Regulation รวมถึงมาตรฐานระบบงาน แก่บุคลากรในสถานประกอบการ

3.2 ส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมการอบรมเพื่อทราบ Regulation และมาตรฐานระบบงานที่เป็นปัจจุบัน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถแสดงการหา Regulation และ มาตรฐาน จากฐานข้อมูล
2.    สามารถเลือกใช้ Regulation และ มาตรฐาน ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานสถานประกอบการออกแบบและผลิตเครื่องมือแพทย์
3.    สามารถสกัดเนื้อหาภายใน Regulation และ มาตรฐาน ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานสถานประกอบการออกแบบและผลิตเครื่องมือแพทย์เพื่อนำมาใช้งาน
4.    สามารถแสดงการตรวจสอบการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ และระยะเวลา ลงในแต่ละขั้นตอนลงของแผนงานได้
5.    สามารถแสดงการบันทึกข้อมูลและระบุประเด็นสำคัญที่ใช้ในการดำเนินงานสถานประกอบการออกแบบและผลิตเครื่องมือแพทย์
6.    สามารถแสดงการหาข้อบกพร่องในการดำเนินงานสถานประกอบการออกแบบและผลิตเครื่องมือแพทย์
7.    สามรถแสดงการแก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินงานสถานประกอบการออกแบบและผลิตเครื่องมือแพทย์
8.    สามารถสร้างให้บุคลากรเข้าใจในการปฏิบัติงานตาม Regulation และมาตรฐานระบบงาน
9.    สามารถถ่ายทอดรายละเอียด Regulation และมาตรฐานระบบงานสู่บุคลากร
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับ Regulation และประเภทมาตรฐานของระบบงานออกแบบและผลิตเครื่องมือแพทย์
2.    ความรู้เกี่ยวกับ Gantt chart ใช้ในการวางแผนงานการวางแผนตรวจสอบการดำเนินงานสถานประกอบการออกแบบและผลิตเครื่องมือแพทย์
3.    ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหาเชิงวิกฤติ
4.    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือในการแก้ปัญหา ซึ่งได้แก่ ผังก้างปลา และ Why-Why Analysis
5.    ความรู้เกี่ยวกับการจัดโครงการอบรม
6.    ความรู้เกี่ยวกับการบรรยาย
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
      1.    เอกสารรับรองการทำงานด้านระบบงานคุณภาพเครื่องมือแพทย์จากสถานประกอบการ หรือ
      2.    แฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานคุณภาพเครื่องมือแพทย์จากสถานประกอบการ
(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
      1.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับระบบงานคุณภาพเครื่องมือแพทย์ หรือ
      2.    เอกสารรับรองผลการอบรมเกี่ยวกับระบบงานคุณภาพเครื่องมือแพทย์ หรือ
      3.    แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน 
(ค)    คำแนะนำในการประเมิน
      เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้
(ง)    วิธีการประเมิน
      1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจาก ใบรับรองการทำงาน หรือแฟ้มสะสมผลงาน
      2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 
      1.    ผู้เข้ารับการประเมินควรทราบฐานข้อมูลเพื่อสืบค้น Regulation และมาตรฐาน
      2.    ผู้เข้ารับการประเมินควรเข้าใจภาษาอังกฤษที่เป็นศัพท์เทคนิคของระบบงานและ Quality Management System (QMS)
(ข)    คำอธิบายรายละเอียด
      1.    Regulation หมายถึง พระราชบัญญัติ กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกฏหมาย ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานออกแบบและผลิตเครื่องมือแพทย์
      2.    มาตรฐาน หมายถึง มาตรฐานในฐานข้อมูล เช่น ISO ASTM หรือ มอก. ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานออกแบบและผลิตเครื่องมือแพทย์
      3.    เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการตรวจสอบและสืบค้น Regulation และมาตรฐานระบบงานที่เกี่ยวข้อง
      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน
      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้าน กฏ ระเบียบ ด้านสถานประกอบการเครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
      3.    ประเมินแฟ้มสะสมผลงานที่แสดงเอกสารสืบค้นที่สัมพันธ์กับเครื่องมือแพทย์ที่ออกแบบ
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.2 เครื่องมือประเมินการควบคุมการดำเนินงานสถานประกอบการผลิตให้ถูกต้องตาม Regulation และมาตรฐานระบบงาน
      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน
      2.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้าน กฏ ระเบียบ ด้านสถานประกอบการเครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
      3.    ประเมินจากรายละเอียดการผ่านการอบรมด้าน Internal Audit ตามหลัก ISO13485:2016
      4.    แฟ้มสะสมผลงานที่แสดงเอกสารที่แสดงถึงการตรวจสอบภายใน
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.3 เครื่องมือประเมินการส่งเสริมให้เกิดเจตคติแก่บุคลากรที่ดีในการทำงานตาม Regulation และมาตรฐานระบบงาน
      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน
      2.    แฟ้มสะสมผลงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเจตคติแก่บุคลากรที่ดีในการทำงานตาม Regulation และมาตรฐานระบบงาน
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
 


ยินดีต้อนรับ