หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบโปรแกรมควบคุมเครื่องมือแพทย์

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MET-NXLF-364A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบโปรแกรมควบคุมเครื่องมือแพทย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 311 ช่างเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถสำรวจข้อมูลความต้องการเพื่อใช้ในการออกแบบ (User Requirement) วางแผนการออกแบบ (Software Design) เขียนโปรแกรมชุดคำสั่ง ทดสอบผลลัพธ์การออกแบบซอฟต์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือแพทย์ หรือโปรแกรมควบคุมเครื่องมือแพทย์ รวมถึงการทำเอกสารสรุปผล


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์  สาขาการผลิตเครื่องมือแพทย์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
101MD04.1

สำรวจข้อมูลความต้องการเพื่อใช้ในการออกแบบ

1.1 สำรวจและจัดเก็บข้อมูลความต้องการจากแหล่งข้อมูลต่างๆ

1.2 แปลงข้อมูลคุณลักษณะเป็นปัจจัยนำเข้าและผลลัพธ์ของการออกแบบ

1.3 ทำเอกสารสรุปผลความต้องการ

101MD04.2

วางแผนการออกแบบ

2.1 กำหนดขั้นตอนการออกแบบ

2.2 กำหนดผู้รับผิดชอบและระยะเวลา

2.3 กำหนดหัวข้อการสอบถามความต้องการ

2.4 ออกแบบกระบวนการทำงานของระบบ

2.5 ทำเอกสารสรุปกระบวนการออกแบบและการทำงานของระบบ

101MD04.3

เขียนโปรแกรมชุดคำสั่ง

3.1 จัดทำ Flowchart

3.2 จัดทำชุดคำสั่ง

3.3 Software Integration

3.4 ทำเอกสารสรุป Flowchart

101MD04.4

ทดสอบผลลัพธ์การออกแบบซอฟต์แวร์

4.1 กำหนดวิธีการทดสอบ

4.2 ตรวจสอบและตัดสินความสอดคล้องของแบบเครื่องมือแพทย์กับปัจจัยนำเข้า

4.3 ทำเอกสารสรุปผลการทดสอบ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถออกแบบ เขียน และรวมชุดคำสั่งเข้ากับซอฟต์แวร์โซลูชั่นเพื่อรองรับความต้องการของแอปพลิเคชันที่ถูกระบุความต้องการ
2.    สามารถกำหนดวิธีการทดสอบ ทดสอบและตรวจแก้จุดบกพร่องชุดคำสั่งเพื่อให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ทำงานตรงตามข้อกำหนด
3.    สามารถใช้เฟรมเวิร์คและสิ่งแวดล้อมสำหรับการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ (IDE) ในการพัฒนาชุดคำสั่ง
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำ Flowchart
2.    ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำชุดคำสั่ง
3.    ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำ Software Integration
4.    ความรู้เกี่ยวกับแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับการพัฒนาซอฟต์แวร์
5.    ความรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์
6.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการและเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแอปพลิเคชัน
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
      1.    แฟ้มสะสมผลงานออกแบบออกแบบโปรแกรมควบคุมเครื่องมือแพทย์
(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
      1.    เอกสารรับรองผลการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโปรแกรมควบคุมเครื่องมือแพทย์ หรือ
      2.    เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลการออกแบบโปรแกรมควบคุมเครื่องมือแพทย์ หรือ
      3.    เอกสารรับรองผลการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ หรือ
      4.    แบบบันทึกผลคะแนนการสอบข้อเขียน หรือ
      5.    แบบบันทึกรายการผลการสัมภาษณ์
(ค)    คำแนะนำในการประเมิน
      เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้
(ง)    วิธีการประเมิน
      1.    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากใบรับรองการทำงาน หรือการสัมภาษณ์
      2.    พิจารณาตามหลักฐานความรู้ โดยประเมินจากข้อสอบข้อเขียน หรือการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ     
      1.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีทักษะและประสบการณ์ด้านการออกแบบโปรแกรมด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์บนแฟลตฟอร์มต่างๆ รวมถึงเข้าใจโครงสร้างของโปรแกรม
      2.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้ด้านการสัมภาษณ์ความต้องการผู้ใช้ และการแปลงความต้องการของผู้ใช้เพื่อนำมาพัฒนาโปรแกรม
      3.    ผู้เข้ารับการประเมินความความรู้เรื่องผังไหล และสัญลักษณ์ของผังไหลสำหรับการเขียนโปรแกรม รวมถึง Pseudocode
      4.    ผู้เข้ารับการประเมินความความรู้เรื่องมาตรฐานเอกสารความต้องการด้านซอฟต์แวร์ (SRD) และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรม
      5.    ผู้เข้ารับการประเมินความความรู้ขั้นตอนด้านการพัฒนาโปรแกรม (Software Development Cycle)
      6.    ผู้เข้ารับการประเมินควรความรู้ด้านภาษา C
      7.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน IEC62304
      8.    ผู้เข้ารับการประเมินควรมีความรู้ด้านการวางแผนงานออกแบบโปรแกรม รวมถึงการจัดทำ Flowchart
(ข)    คำอธิบายรายละเอียด
      1.    เครื่องมือแพทย์ หมายถึง เครื่องมือแพทย์ ตามนิยาม เครื่องมือแพทย์ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2562
      2.    โปรแกรมควบคุมเครื่องมือแพทย์ หมายถึง โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา C เป็นต้น ซึ่งทำงานบนแพลตฟอร์ม เช่น Android iOS หรือ Windows เป็นต้น โดยมีความมุ่งหมายเพื่อใช้งานแบบ Standalone หรือเชื่อมต่อกับเครื่องมือแพทย์
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินการสำรวจข้อมูลความต้องการเพื่อใช้ในการออกแบบ
      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน 
      2.    ประเมินโดยการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคในการสำรวจข้อมูลและแปลงผลการสำรวจมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมควบคุมเครื่องมือแพทย์
      3.    หลักฐานการผ่านอบรมเกี่ยวกับมาตรฐาน IEC62304
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.2 เครื่องมือประเมินการนำผลการวางแผนการออกแบบ
      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน 
      2.    ประเมินโดยการสัมภาษณ์การวางแผนกระบวนการพัฒนาโปรแกรมควบคุมเครื่องมือแพทย์
      3.    หลักฐานการผ่านอบรมเกี่ยวกับมาตรฐาน IEC62304
      4.    หลักฐานการผ่านอบรมเกี่ยวกับการจัดทำ Flowchart เพื่อวางแผนงาน
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.3 เครื่องมือประเมินการเขียนโปรแกรมชุดคำสั่ง
      1.    การสอบข้อเขียน 
      2.    แฟ้มสะสมผลงานซึ่งอาจจัดเก็บในรูปแบบของ Source Code รูปแบบของ Pseudocode  หรือรายละเอียดงานภาพรวม
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
18.4 เครื่องมือประเมินการทดสอบผลลัพธ์การออกแบบซอฟต์แวร์
      1.    ประเมินโดยการสอบข้อเขียน 
ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน
 


ยินดีต้อนรับ