หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-CUAF-1070A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสอาชีพ 6113 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะชำพันธุ์ไม้และการเพาะเห็ด (ISCO, 2008)

1 6113 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวน ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชในเรือนเพาะชำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน ซึ่งประกอบด้วยการดูแลรักษาต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน และการย้ายต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน

ผู้ที่มีสมรรถนะของหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องจัดการต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนอย่างต่อเนื่อง สามารถจัดการทรัพยากรเพื่อการจัดการต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนอย่างสมดุล โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อาทิ การให้น้ำในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม การให้ธาตุอาหารที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ตลอดจนการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีที่เหมาะสม ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสามารถพิเคราะห์ลักษณะและอายุต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนก่อนการย้ายกล้าลงถุงเพาะ คัดต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนเพื่อย้ายขยายถุงเพาะ ตลอดจนมีทักษะในการตัดปลายรากต้นกล้าทุเรียนก่อนการย้ายขยายถุงเพาะ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ผลิตต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน ผู้ปลูกทุเรียน


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

รหัสอาชีพ 6113 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะชำพันธุ์ไม้และการเพาะเห็ด (ISCO, 2008)


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ของกรมวิชาการเกษตร

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A171

ดูแลรักษาต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนก่อนการย้ายต้นกล้าพันธุ์

ให้น้ำที่เหมาะสมกับปริมาณและช่วงเวลา

ให้ธาตุอาหารที่เหมาะสมกับช่วงอายุ

ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีที่ถูกต้อง และปลอดภัย

A172

ย้ายต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน

คัดต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน จากลักษณะ อายุ และความสมบูรณ์ที่เสียบกิ่งยอดติดแล้ว

ตัดปลายรากขด

ย้ายต้นกล้าพันธุ์ลงถุงเพาะ

ดูแลรักษาต้นกล้าพันธุ์ หลังการย้ายต้นกล้าพันธุ์ ตามวิธีการปฏิบัติก่อนการย้ายต้นกล้าพันธุ์

A171

ดูแลรักษาต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนก่อนการย้ายต้นกล้าพันธุ์

ให้น้ำที่เหมาะสมกับปริมาณและช่วงเวลา

ให้ธาตุอาหารที่เหมาะสมกับช่วงอายุ

ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีที่ถูกต้อง และปลอดภัย

A172

ย้ายต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน

คัดต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน จากลักษณะ อายุ และความสมบูรณ์ที่เสียบกิ่งยอดติดแล้ว

ตัดปลายรากขด

ย้ายต้นกล้าพันธุ์ลงถุงเพาะ

ดูแลรักษาต้นกล้าพันธุ์ หลังการย้ายต้นกล้าพันธุ์ ตามวิธีการปฏิบัติก่อนการย้ายต้นกล้าพันธุ์


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) ทักษะการสังเกต       

2) ทักษะการคำนวน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

  1. มีทักษะในการให้น้ำในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม
  2. มีทักษะในการธาตุอาหารต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) มีความรู้ในด้านธาตุอาหารพืช

2) มีความรู้ในเกี่ยวกับการเปลี่ยนถุงและตัดรากขด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

2)  แฟ้มสะสมงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

                       1) เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

                   2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง

      • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง
      • วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
      • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

                      - สอบสัมภาษณ์

                      - แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. แนวทางที่เหมาะสมในการให้น้ำในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม

                       การดูแลรักษาต้นกล้าพันธุ์และต้นพันธุ์ควรมีการให้น้ำประมาณ 20-30 นาที/ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นตามสภาพอากาศของพื้นที่ โดยในช่วงอนุบาล (10 วันแรก) ควรให้ทุกวัน ซึ่งเกษตรกรกสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น การใช้เครื่องมือวัดความชื้นและอุณหภูมิ เพื่อให้น้ำในปริมาณและช่วงที่เหมาะสมได้ นอกจากนี้ยังมีการนำโทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ โดยการรดน้ำด้วยระบบการให้น้ำอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ได้แก่

  1. ระบบรดน้ำอัตโนมัติตามเวลา
  2. ระบบรดน้ำอัตโนมัติตามความชื้นดิน
  3. ระบบรดน้ำอัตโนมัติตามอัตราคายระเหย
  4. ระบบรดน้ำอัตโนมัติตามความต้องการของพืช

2. แนวทางที่เหมาะสมในการให้ธาตุอาหารที่เหมาะสมกับต้นกล้า

         การดูแลรักษากล้าพันธุ์และต้นพันธุ์ แบ่งช่วงเวลาการให้ธาตุอาหาร ดังนี้

1) ช่วงอนุบาลจะใช้ปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำฉีดทางใบ ประมาณ 7-14 วัน/ครั้ง

              2) ช่วงเริ่มแตกยอด อายุประมาณ 2 เดือน ใส่ปุ๋ยทางดิน

              3) ช่วงอายุที่มีใบ จะเริ่มใส่ปุ๋ยทางดิน เมื่ออนุบาลไปแล้วประมาณ 3 เดือนขึ้นไป

4) ช่วงยอดอ่อน 1 รอบใบ จะให้ปุ๋ยทางดิน เดือนละ 1 ครั้ง

ซึ่งทั้งการใส่ปุ๋ยและรดน้ำนั้นจะสอดคล้องกับสัดส่วนของวัสดุที่ใช้ในการปลูก โดยส่วนใหญ่จะเน้นให้ปุ๋ยทางใบมากกว่าทางดิน

3. แนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

การดูแลรักษากล้าพันธุ์และต้นพันธุ์ จะพบศัตรูพืชที่ต้องดำเนินการป้องกันและกำจัด ดังนี้

1) โรคพืช

      1.1) รากเน่าโคนเน่า

ลักษณะอาการของโรครากเน่าโคนเน่า ในกรณีที่เกิดบริเวณราก เริ่มแรกจะเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีด ไม่เป็นมันเงา เหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูราก จะพบรากฝอยแสดงอาการเน่ามีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล เมื่อโรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นโทรมและยืนต้นตายหากเกษตรกรประสบปัญหาแล้ว สามารถใช้สารเคมีเข้าช่วยในการรักษาได้ 

      1.2) ราใบติด

 ใบที่เป็นโรคจะมีจุดฉ่ำน้ำรูปร่างไม่แน่นอน แผลจะขยายใหญ่ขึ้นคล้ายถูกน้ำร้อนลวกเป็นสีน้ำตาลอ่อน และแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อใบเริ่มแก่ขึ้น อาการไหม้อาจจะเกิดที่บริเวณขอบใบด้านปลายใบ กลางใบหรือทั้งใบ ใบที่ถูกเชื้อราทำลายจะมีเส้นใยสีน้ำตาลอ่อนยึดติดอยู่เป็นกระจุก และเส้นใยของเชื้อราสามารถลุกลามทำลายใบและกิ่งที่อยู่ติดกันได้ เมื่อพบการระบาดของโรค ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบพ่นฝอย สามารถกำจัดโดยการพ่นสารเคมี

2) แมลงศัตรูพืช

      2.1) เพลี้ยไฟ

เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวอ่อนมีสีเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทลายทุเรียนในระยะใบอ่อน เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยง ซึ่งจะเห็นอยู่ตามเส้นกลางใบ เส้นกลางใบจะเป็นสีน้ำตาล ทให้ใบหงิก ถ้ารุนแรงอาจทให้ใบอ่อนร่วงได้ ซึ่งการป้องกันกำจัดควรติดกับดักกาวเหนียวสีเหลือง เพื่อจับตัวเต็มวัยจะลดการวางไข่ได้ หรือการใช้สารชีวภัณฑ์ โดยฉีดพ่นด้วยเชื้อราราบิวเวอเรีย หรือ ใช้สารเคมี

      2.2) เพลี้ยไก่แจ้

ลักษณะการทำลายทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยดูดกิน น้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโตและเล็กผิดปกติเมื่อระบาดมากๆ ใบจะหงิกงอ แห้งและร่วงหมด นอกจากนั้นยังทำให้ยอดอ่อนแห้งและตายได้ ตัวอ่อน ของเพลี้ยชนิดนี้จะขับสารสีขาวออกมา เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารสีขาวขับออกมา ระยะที่ทำลายมากที่สุดคือ ในระยะตัวอ่อน การป้องกันกำจัด โดยการวางกับดักกาวเหนียวสีเหลืองในระยะแตกใบอ่อน เพื่อล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย หรือใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ

2.3) เพลี๊ยจักจั่นฝอย

ลักษณะการทำลายโดยตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนทุเรียน เนื่องจากเพลี้ยจั๊กจั่นฝอยทุเรียน มีปากแบบเจาะดูด การดูดกินน้ำเลี้ยงในเซลล์พืชจะไม่ทำให้เซลล์พืชแตก แต่จะใช้น้ำลายซึ่งมีสารพิษ ไปย่อยผนังเซลล์ให้บางลง เพื่อให้ธาตุอาหารที่เพลี้ยจั๊กจั่น ต้องการภายในเซลล์พืชซึมผ่านผนังเซลล์ออกมา ทำให้ขอบใบอ่อนทุเรียน มีอาการม้วนงอ ขอบใบมีลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ระยะต่อมาขอบใบจะม้วนงอเกิดอาการใบไหม้ ที่เรียกว่า "Hopper burn" หากพบการระบาดรุนแรงอาจทำให้ใบอ่อน ยอดอ่อนเกิดอาการไหม้รุนแรงทั้งต้น การป้องกันโดยใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกัน
ได้แก่ เชื้อราบิวเวอเรีย หรือ เชื้อราเมธาไรเซี่ยม โดยควรฉีดพ่นเชื้อราทั้งสองชนิด อย่างต่อเนื่อง หรือสลับกัน หรือใช้สารเคมี

3) ศัตรูพืชอื่น ๆ

      3.1) ไรแดง

ไรแดงทุเรียน ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่บริเวณผิวใบทุเรียน ทำให้เกิดเป็นจุดปะ สีขาวกระจายอยู่ ทั่วบนใบ ต่อมาจุด ปะสีขาวจะแผ่ขยายออกไปเป็นบริเวณกว้าง จนใบมีอาการขาวซีดและมีคราบสีขาวเกาะติดเป็นรอยขาวๆ คล้ายฝุ่นจับ ถ้าหากมีไรแดงทำลายเป็นปริมาณมากและต่อเนื่องจะทำให้ใบร่วง ป้องกันกำจัดโดยการกำจัดวัชพืชในสวนทุเรียน ซึ่งอาจเป็นแหล่งหลบซ่อน หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของไรแดงแอฟริกันในสวนทุเรียน เช่น มะนาว มันสำปะหลัง หมั่นตรวจดูต้นทุเรียนอย่างใกล้ชิด โดยสำรวจไรแดงบนใบทุเรียน ซึ่งมองเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลเข้มวิ่งเคลื่อนไหวไปมา

4. แนวทางที่เหมาะสมในการเปลี่ยนถุงและตัดรากขด

การดูแลรักษากล้าพันธุ์และต้นพันธุ์ในช่วงการเปลี่ยนถุงและตัดรากขด มีสิ่งที่ต้องคำนึง ดังนี้

- ถอนต้นกล้าจากถุงเพาะชำหรือแปลงเพื่อลงในถุงเพาะชำใหม่ โดยตัดปลายราก
1 ครั้ง ประมาณครึ่งหนึ่ง

- เปลี่ยนถุงเพาะชำและตัดรากครั้งที่ 2 กรณีมีรากขดหรือรากแก่ ตัดประมาณ
1 นิ้ว จากท้องถุง (ก้นถุง) นำดินตรงก้นและด้านข้างออกบางส่วน เพื่อมีพื้นที่ให้รากขยายได้ ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะของสภาพดินในถุงเพาะชำ

- เปลี่ยนถุงให้มีขนาดเหมาะสมกับทรงพุ่ม

- การเปลี่ยนถุงเพาะชำกี่ครั้งนั้นขึ้นกับขนาดที่ต้องการ

         - ความสูงของต้นพันธุ์ ที่นิยมใช้มีขนาด 80-200 ซม. แต่สามารถขยายขนาดอื่นได้ เช่น ต้นถอน (ต้นกล้าที่เสียบยอดแล้ว) ขายส่งให้เกษตรกรนำไปชำเพื่ออนุบาลต่อ ทั้งนี้ขนาดของต้นขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
    1. ประเมินโดยการสัมภาษณ์
    2. ประเมินโดยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
    3. ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์

ยินดีต้อนรับ