หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพาะชำสำหรับขยายพันธุ์ทุเรียน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-UXBY-1067A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพาะชำสำหรับขยายพันธุ์ทุเรียน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสอาชีพ 6113 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะชำพันธุ์ไม้และการเพาะเห็ด (ISCO, 2008)

1 6113 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวน ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชในเรือนเพาะชำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการวัสดุและอุปกรณ์เพาะชำต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน ประกอบด้วยการเตรียมวัสดุปลูกให้เหมาะสม มีการระบายน้ำดี มีธาตุอาหารที่เหมาะสม และการเตรียมอุปกรณ์เพาะชำที่เพียงพอและกำหนดเป้าหมายทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ

ผู้ที่มีสมรรถนะของหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องกำหนดแผนการเตรียมวัสดุและอุปกรณ์เพาะชำต้นกล้าทุเรียนที่เพียงพอ โดยเตรียมวัสดุปลูก จัดการเตรียมดินที่มีการวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสมในการนำใช้เป็นวัสดุเพาะ ที่ระบายน้ำได้ดี  มีธาตุอาหารที่เหมาะสม มีการประเมินข้อมูลเพื่อพัฒนากระบวนการเพาะชำต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน  


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ผลิตต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน ผู้ปลูกทุเรียน


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

รหัสอาชีพ 6113 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะชำพันธุ์ไม้และการเพาะเห็ด (ISCO, 2008)


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
  • มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ของกรมวิชาการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A141

เตรียมวัสดุปลูกสำหรับเพาะชำเพื่อขยายพันธุ์

วางแผนการเตรียมวัสดุปลูกให้เพียงพอกับแผนการขยายพันธุ์

หาข้อมูลเปรียบเทียบแหล่งจำหน่ายวัสดุปลูก

จัดเตรียมวัสดุปลูกที่ระบายน้ำได้ดีให้พร้อมใช้

A142

เตรียมอุปกรณ์สำหรับเพาะชำเพื่อขยายพันธุ์ทุเรียน

วางแผนการเตรียมอุปกรณ์เพาะชำให้เพียงพอ

จัดเตรียมอุปกรณ์เพาะชำให้ครบถ้วน

ทำความสะอาดอุปกรณ์เพาะชำ ให้พร้อมใช้

A141

เตรียมวัสดุปลูกสำหรับเพาะชำเพื่อขยายพันธุ์

วางแผนการเตรียมวัสดุปลูกให้เพียงพอกับแผนการขยายพันธุ์

หาข้อมูลเปรียบเทียบแหล่งจำหน่ายวัสดุปลูก

จัดเตรียมวัสดุปลูกที่ระบายน้ำได้ดีให้พร้อมใช้

A142

เตรียมอุปกรณ์สำหรับเพาะชำเพื่อขยายพันธุ์ทุเรียน

วางแผนการเตรียมอุปกรณ์เพาะชำให้เพียงพอ

จัดเตรียมอุปกรณ์เพาะชำให้ครบถ้วน

ทำความสะอาดอุปกรณ์เพาะชำ ให้พร้อมใช้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

การสืบค้นข้อมูล


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะในด้านการขยายพันธุ์พืช

2) มีทักษะในด้านการคำนวน

3) มีทักษะในการจดบันทึก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้ใน เรื่อง วัสดุปลูก

2)  มีความรู้ใน เรื่อง อุปกรณ์ทางการเกษตร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

2)  แฟ้มสะสมงาน (Portfolio)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1)  ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินจากหลักฐาน เช่น แผนการปลูก ภาพถ่ายการปฏิบัติงาน วิดีโอการปฏิบัติงานเป็นต้น พร้อมทั้งคำอธิบายหลักการหรือเหตุผลประกอบ

2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง

      • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง
      • วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
      • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

- การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)
  1. แนวทางที่เหมาะสมในการเตรียมวัสดุปลูกสำหรับเพาะชำและขยายพันธุ์

      1.1) ดินสำหรับเพาะเมล็ด เป็นต้นตอ ควรผสมดินในมีความชุ่มชื้นสูงและมีการระบายน้ำได้ดี โดยอาจมีอัตราส่วนผสม เช่น หน้าดิน (ดินแดง หรือ ลูกรัง) : แกลบดิบ : และขุยมะพร้าวหรือปุ๋ยมูลสัตว์เก่า ในอัตรา 1 : 1 : 1 หรือ 1 : 1 : 3 เป็นต้น ทั้งนี้ตามลักษณะทางกายภาพของดิน รดน้ำสม่ำเสมอจัดเรียงในที่มีแสงรำไร หรือพรางแสงด้วยตาข่ายพรางแสง 60%

      1.2) ดินสำหรับต้นพันธุ์ที่เสียบยอดแล้ว  มีอัตราส่วนผสม เช่น หน้าดิน (ดินแดง หรือ ลูกรัง) เช่น ดินร่วน : แกลบดิบ : ขุยมะพร้าวหรือปุ๋ยมูลสัตว์เก่า ในอัตรา 1 : 1 : 1 เป็นต้น ทั้งนี้ตามลักษณะทางกายภาพของดิน ซึ่งจะต้องระบายน้ำได้ดี และมีธาตุอาหารเพียงพอ

  1. แนวทางที่เหมาะสมในการเตรียมอุปกรณ์เพาะชำและขยายพันธุ์ทุเรียน

เตรียมถุงเพาะชำหรือกระบะเพาะชำตามปริมาณของเมล็ดที่จะเพาะ ที่บรรจุวัสดุปลูกเรียบร้อยแล้ว กรรไกร มีด ถุงพลาสติก (อุปกรณ์ต้องทำความสะอาดด้วยน้ำ หรือ แอลกอฮอล์)

    1. เมื่อต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนเริ่มโตอายุ ประมาณ 1 – 3 เดือน จึงทำการเสียบยอดพันธุ์ดีบน
      ต้นตอที่อยู่ในกระโจมพลาสติก (คร่อมบนกระบะเพาะเมล็ด) หรือถุง เป็นระยะเวลา 14 – 20 วัน เปิดระบายอากาศครั้งแรก หลังจากเสียบยอดแล้ว 7 วัน โดยใช้เวลาเปิดระบายอากาศ ประมาณ 10 - 20 นาที ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ
    2. เปิดระบายอากาศครั้งที่ 2 วันที่ 14 หลังจากเสียบยอด เปิดระบายอากาศช่วงเช้า
      วันละ 30 นาที
    3. เปิดระบายอากาศครั้งที่ 3 วันที่ 21 หลังจากเสียบยอด เปิดระบายอากาศช่วงเช้า
      วันละ 3 ชั่วโมง เปิดทุกวัน เป็นระยะเวลา 5 - 7 วัน โดยวันที่แรกเปิด 20% และเพิ่มขึ้น 10% ในวันถัดไป

                        2.4) อบในถุง (ขนาด 24 x 42 นิ้ว โดยประมาณ 50-70 ต้น) หรือกระโจม (ขนาด 6 x 16 x 20 นิ้ว โดยประมาณ 1,000 ต้น) เมื่อต้นแข็งแรงพร้อมที่จะย้ายไปใส่ถุงหรือเปลี่ยนถุงให้เหมาะกับขนาดต้นต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
  1. ประเมินโดยการสัมภาษณ์
  2. ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์

ยินดีต้อนรับ