หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมพื้นที่หรือเรือนเพาะชำสำหรับเพาะเมล็ดต้นตอทุเรียนและต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-NEAZ-1066A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมพื้นที่หรือเรือนเพาะชำสำหรับเพาะเมล็ดต้นตอทุเรียนและต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

รหัสอาชีพ 6113 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะชำพันธุ์ไม้และการเพาะเห็ด (ISCO, 2008)

1 6113 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวน ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชในเรือนเพาะชำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยนี้เกี่ยวข้องกับเตรียมพื้นที่หรือเรือนเพาะชำสำหรับเพาะเมล็ดต้นตอทุเรียนและต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน ประกอบด้วยการออกแบบ การวางผังพื้นที่เรือนเพาะชำทุเรียน  ระบบน้ำ การจัดการระบบการให้น้ำ การให้ปุ๋ย ตลอดจนการจัดการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน อีกทั้งความสะดวกและปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

ผู้ที่มีสมรรถนะของหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องออกแบบ วางผังพื้นที่เรือนเพาะชำ โดยคำนึงถึงต้นทุนและการใช้พื้นที่และทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า แหล่งน้ำและคุณภาพน้ำที่ใช้  จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของกล้าพันธุ์ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรือนเพาะชำ ควบคุมการสร้างเรือนเพาะชำให้ภายในเรือนเพาะชำระบายน้ำได้ดี และการดูแลโรงเรือนโดยควบคุมสภาพแวดล้อม การจัดการแสง การตรวจสอบและบำรุงรักษารวมทั้งการรักษาความสะอาดทั้งภายในและภายนอกเรือนเพาะชำ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ผลิตต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน ผู้ปลูกทุเรียน


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

รหัสอาชีพ 6113 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะชำพันธุ์ไม้และการเพาะเห็ด (ISCO, 2008)


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
  • มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ของกรมวิชาการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A131

ออกแบบวางแผนผังพื้นที่เรือนเพาะชำ

วางแผนการออกแบบพื้นที่

ดำเนินการออกแบบและวางแผนผังพื้นที่เรือนเพาะชำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

A132

ควบคุมการสร้างเรือนเพาะชำต้นกล้าทุเรียน

ควบคุมการสร้างเรือนเพาะชำให้ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนด


ตรวจสอบเรือนเพาะชำให้ตรงตามแบบที่มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

A133

ดูแลเรือนเพาะชำต้นกล้าทุเรียน

ระบุขั้นตอนการดูแลเรือนเพาะชำได้

ตรวจสอบและบำรุงรักษาเรือนเพาะชำให้พร้อมใช้

A131

ออกแบบวางแผนผังพื้นที่เรือนเพาะชำ

วางแผนการออกแบบพื้นที่

ดำเนินการออกแบบและวางแผนผังพื้นที่เรือนเพาะชำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

A132

ควบคุมการสร้างเรือนเพาะชำต้นกล้าทุเรียน

ควบคุมการสร้างเรือนเพาะชำให้ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนด


ตรวจสอบเรือนเพาะชำให้ตรงตามแบบที่มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

A133

ดูแลเรือนเพาะชำต้นกล้าทุเรียน

ระบุขั้นตอนการดูแลเรือนเพาะชำได้

ตรวจสอบและบำรุงรักษาเรือนเพาะชำให้พร้อมใช้


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
    1. การสืบค้นข้อมูล
    2. การคำนวน

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

  • มีทักษะในการออกแบบและวางผังพื้นเรือนเพาะชำ
  • มีทักษะในการควบคุมเรือนเพาะชำ
  • มีทักษในการดูแลและซ่อมบำรุงเรือนเพาะชำ
  • มีทักษะในการจดบันทึก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้ เรื่อง การบริหารจัดการน้ำ

2)  มีความรู้ เรื่อง การบริหารจัดการพื้นที่


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

เกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้

2)  แฟ้มสะสมงาน (Portfolio)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ

3)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1)  ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินจากหลักฐาน เช่น แผนการปลูก ภาพถ่ายการวางระบบต่างๆ ภายในแปลงปลูก เป็นต้น พร้อมทั้งคำอธิบายหลักการหรือเหตุผลประกอบ

2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง

      • ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง
      • วิธีการปฏิบัติงานในแปลง กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
      • ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

           - สอบสัมภาษณ์

          - แฟ้มสะสมงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

ในการผลิตต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนจำเป็นต้องมีการทำเรือนเพาะชำ  เพื่อที่จะช่วยดูแลรักษากล้าพันธุ์ ให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงผลกระทบจากฝน อากาศ หรือแสงแดด เพราะสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้กล้าพันธุ์เกิดความเสียหาย หรือหยุดการเจริญเติบโต การมีเรือนเพาะชำ จะทำให้การจัดการดูแลรักษาง่าย และ

มีระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น

  1. การออกแบบและวางแผนผังพื้นที่เรือนเพาะชำ

พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการสร้างเรือนเพาะชำ

1. อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ และมีปริมาณที่เพียงพอทั้งปี

2. พื้นที่ควรสูงกว่าระดับน้ำของแม่น้ำหรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติอื่นๆ เพื่อจะทำให้น้ำไม่ท่วม
ในฤดูฝน

3. พื้นที่สร้างเรือนเพาะชำควรมีการระบายน้ำได้ดี

4. ปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกล้าพันธุ์ เช่น ให้น้ำมากขึ้นในกรณีที่อุณหภูมิสูง เพิ่มเวลาในการให้น้ำ และมีเครื่องวัดความชื้นสัมพัทธ์และปริมาณแสงแดดที่เพียงพอ

     5. ตรวจสอบคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำที่ก่อนจะนำมาใช้อย่างสม่ำเสมอ การทดสอบคุณภาพน้ำ
ถ้าเป็นน้ำกร่อยจะทำให้ต้นกล้าเจริญเติบโตไม่ดีหรือตายได้

  1. ควบคุมเรือนเพาะชำที่ได้มาตรฐาน

เรือนเพาะชำกล้าพันธุ์ที่ดีควรมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของกล้าพันธุ์และดูแลต้นกล้าให้ปราศจากสภาวะความเครียดและสภาพอากาศที่รุนแรง อีกทั้งควรเป็นสถานที่ที่สะดวกสบายและปลอดภัยสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ดูแลเรือนเพาะชำด้วย ขนาดของเรือนเพาะชำขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ ซึ่งจะเป็นต้วกำหนดจำนวนกล้าพันธุ์ที่สามารถผลิตได้ในแต่ละปี  หรือจำนวนกล้าพันธุ์ที่ต้องผลิตให้ได้จะเป็นตัวกำหนดขนาดของเรือนเพาะชำ

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างเรือนเพาะชำ

1. วัสดุที่ใช้ทำเรือนเพาะชำ อาจใช้วัสดุได้หลายอย่างเช่น เสาปูน เสาเหล็ก เสาไม้ไผ่ ขึ้นกับต้นทุนการทำเรือนเพาะชำ 

2. วัสดุในการทำหลังคาวัสดุในการพรางแสง โดยทั่วไปจะนิยมใช้สแลนสีดำ 50-70% หรือตาข่ายกรองแสงในการคลุมหลังคา เพราะมีน้ำหนักเบา ใช้งานและติดตั้งง่าย การกำหนดความสูงขึ้นกับเสาที่ใช้ ความสูงที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ลดความร้อนได้มากขึ้น ปกติใช้ เสาสูง ประมาณ 3-6 เมตร จากพื้นดิน ขึ้นกับขนาดความสูงต้นแม่พันธุ์และการใช้งาน  การทำโครงสร้างหลังคาจะทำเป็นทรงโค้ง หรือสามเหลี่ยม แล้วขึงตาข่ายกรองแสงให้ตึงที่สุด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานและความคงทนให้ดียิ่งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะเวลาที่มีลมแรงและฝนตก จะช่วยป้องกันการกระพือและอุ้มน้ำได้

3. ปรับพื้นภายในเรือนเพาะชำให้ระบายน้ำได้ดี อาจโรยด้วยหินเกล็ด หินคลุก ไม่ให้พื้นแฉะ
เป็นการป้องกันการเกิดโรค

  1. การดูแลเรือนเพาะชำ

การดูแลเรือนเพาะชำเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้กล้าพันธุ์เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรง ดังนั้น
การดูแลเรือนเพาะชำควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

          1.ควบคุมสภาพแวดล้อม ตรวจสอบและปรับปรุงระบบรดน้ำและระบบระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอ

          2.การจัดการแสง ให้แสงสว่างเพียงพอตามความต้องการของกล้าพันธุ์ ควบคุมระดับแสงโดยใช้ร่องแสง กางสแลนหรือวิธีการอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

          3.การตรวจสอบและบำรุงรักษาโครงสร้างที่เสียหาย รวมทั้งการรักษาความสะอาดทั้งภายในและภายนอกเรือนเพาะชำ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)
  1. ประเมินโดยการสัมภาษณ์
  2. ประเมินโดยแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)
  3. ประเมินจากหลักฐานอื่นๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์

ยินดีต้อนรับ