หน่วยสมรรถนะ
ปลูกดูแลรักษาต้นแม่พันธุ์ทุเรียน
สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ARC-FKAN-1065A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปลูกดูแลรักษาต้นแม่พันธุ์ทุเรียน |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2567 |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
รหัสอาชีพ 6113 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะชำพันธุ์ไม้และการเพาะเห็ด (ISCO, 2008)) 1 6113 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชสวน ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชในเรือนเพาะชำ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการปลูกและดูแลรักษาต้นแม่พันธุ์ทุเรียน การให้น้ำ ปุ๋ย ป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการและช่วงเวลาที่เหมาะสม ตลอดจนการตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่ม ผู้ที่มีสมรรถนะของหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องปลูกและดูแลรักษาต้นแม่พันธุ์ สามารถเตรียมแหล่งน้ำ ควบคุมระบบส่งน้ำ การให้น้ำ การให้ปุ๋ย การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่มต้นแม่พันธุ์ทุเรียน |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ปฏิบัติงานเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ผลิตต้นกล้าพันธุ์ทุเรียน ผู้ปลูกทุเรียน |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
รหัสอาชีพ 6113 : ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การเพาะชำพันธุ์ไม้และการเพาะเห็ด (ISCO, 2008) |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
|
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) |
---|---|
A121 ปลูกต้นแม่พันธุ์เรียน |
วางแนวระยะปลูกต้นแม่พันธุ์
คัดเลือกต้นแม่พันธุ์ที่ปราศจากโรคและแมลงได้อย่างถูกวิธี
ปลูกต้นแม่พันธุ์ในแปลง |
A122 ให้น้ำ ปุ๋ย ป้องกันกำจัดศัตรูพืชต้นแม่พันธุ์ทุเรียน |
จัดเตรียมแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำในแปลงต้นแม่พันธุ์อย่างเพียงพอ
ให้ปุ๋ยต้นแม่พันธุ์ทุเรียนอย่างเหมาะสมตามช่วงเวลาการเจริญเติบโต
จัดการศัตรูพืชในแปลงต้นแม่พันธุ์ทุเรียนอย่างเหมาะสมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
A123 ตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มต้นแม่พันธุ์ทุเรียน |
เตรียมอุปกรณ์ตัดแต่งกิ่ง เพื่อควบคุมทรงพุ่มต้นแม่พันธุ์ทุเรียน
ตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มต้นแม่พันธุ์ทุเรียน |
A121 ปลูกต้นแม่พันธุ์เรียน |
วางแนวระยะปลูกต้นแม่พันธุ์
คัดเลือกต้นแม่พันธุ์ที่ปราศจากโรคและแมลงได้อย่างถูกวิธี
ปลูกต้นแม่พันธุ์ในแปลง |
A122 ให้น้ำ ปุ๋ย ป้องกันกำจัดศัตรูพืชต้นแม่พันธุ์ทุเรียน |
จัดเตรียมแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำในแปลงต้นแม่พันธุ์อย่างเพียงพอ
ให้ปุ๋ยต้นแม่พันธุ์ทุเรียนอย่างเหมาะสมตามช่วงเวลาการเจริญเติบโต
จัดการศัตรูพืชในแปลงต้นแม่พันธุ์ทุเรียนอย่างเหมาะสมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
A123 ตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มต้นแม่พันธุ์ทุเรียน |
เตรียมอุปกรณ์ตัดแต่งกิ่ง เพื่อควบคุมทรงพุ่มต้นแม่พันธุ์ทุเรียน
ตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มต้นแม่พันธุ์ทุเรียน |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1) มีทักษะการสืบค้นข้อมูล 2) มีความรู้เรื่องความต้องการน้ำและปุ๋ยของทุเรียน |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1) มีทักษะในการติดตั้งระบบส่งน้ำในแปลงต้นแม่พันธุ์ทุเรียน 2) มีทักษะในการใช้วิธีการเขตกรรมและการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดวัชพืชในแปลงต้นแม่พันธุ์ทุเรียน 3) มีทักษะการจดบันทึก (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1) มีความรู้ในการประเมินคุณภาพน้ำและปริมาณน้ำเพื่อการดูแลแปลงแม่พันธุ์ทุเรียน 2) มีความรู้ในการจัดทำผังระบบส่งน้ำ บำรุงรักษาระบบส่งน้ำ 3) มีความรู้ในการกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย และการอนุรักษ์ดินและน้ำโดยใช้วัสดุคลุมดิน |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ 2) แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) 3) ผลการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1) หลักฐานการผ่านการอบรมหรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ จากหน่วยงาน /องค์กรที่เชื่อถือได้ 2) ผลการทดสอบสัมภาษณ์ /ปฏิบัติ
(ค) คำแนะนำในการประเมิน 1) ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินจากหลักฐาน เช่น แผนการสำรวจ ภาพถ่ายการปฏิบัติงานสำรวจๆ ภายในแปลงปลูก เป็นต้น พร้อมทั้งคำอธิบายหลักการหรือเหตุผลประกอบ 2) หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์กับข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง
(ง) วิธีการประเมิน - สอบสัมภาษณ์ - สาธิตการปฏิบัติงาน - แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
1.การปลูกต้นแม่พันธุ์ทุเรียน 1.1 การปลูกแบบขุดหลุมปลูก ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่ค่อนข้างแล้งและยังไม่มีการวางระบบน้ำ 1) ผสมปุ๋ยคอกเก่าประมาณ 5 กิโลกรัม และปุ๋ยหินฟอสเฟต 0.5 กิโลกรัม คลุกเคล้ากับดิน ที่ขุดขึ้นมา แล้วกลบกลับคืนไปในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม 2) เตรียมต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เป็นโรค ไม่มีแมลงทำลาย และมีใบยอดคู่สุดท้ายแก่ ระบบรากแผ่กระจายดี ไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง ใช้มีดกรีดก้นถุงออก ถ้าพบรากขดงออยู่ก้นถุงให้ตัดรากบริเวณนั้นออกเพื่อให้มีการเจริญของ รากใหม่ 3) วางถุงต้นกล้าที่ตัดก้นถุงออกแล้ววางลงตรงกลางหลุม จัดให้ตรงแนวกับต้นอื่นๆ 4) ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงจากล่างขึ้นบนทั้งสองด้าน ดึงถุงพลาสติกออก ระมัดระวังอย่าให้ดินในถุงแตก กลบดินที่เหลือลงไปในหลุมอย่ากลบดินสูงถึงรอยเสียบยอด หรือรอยทาบ ปักไม้หลักข้างต้นทุเรียนที่ปลูกแล้ว พร้อมทั้งผูกเชือกยึดไว้เพื่อป้องกันลมพัดโยก หาวัสดุคลุมโคนต้นเพื่อเป็นการเก็บกักความชื้นให้กับต้นทุเรียน ที่ปลูกใหม่จากนั้นรดน้ำตามให้ชุ่ม 5) จัดทำร่มเงาให้ต้นทุเรียนที่เพิ่งปลูก โดยใช้ทางมะพร้าว ทางจาก แผงหญ้าคา ทางระกำ หรือตาข่ายพรางแสง เมื่อทุเรียนตั้งตัวดีแล้วควรปลดออกหรืออาจปลูกไม้ผลเพื่อให้ร่มเงา เช่น กล้วยก็จะช่วยเป็นร่มเงาและเพิ่มความชื้นในสวนทุเรียนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วง ฤดูแล้งที่อากาศแห้งและมีแสงแดดจัด และแกะผ้าพลาสติกที่พันรอยเสียบยอดหรือทาบออกเมื่อปลูกไปแล้วประมาณ 1-2 เดือน จึงแกะผ้าพลาสติกที่พันรอยเสียบยอดหรือทาบออก 1.2 การปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคก เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก การระบายน้ำไม่ดีวิธีนี้ทำให้มี 1) โรยปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) อัตรา 500 กรัม หรือประมาณ 1 ½ ของกระป๋อง 2) นำต้นพันธุ์ทุเรียนมาวาง แล้วถากดินข้างๆ ขึ้นมาพูนกลบ แต่ถ้าหากเป็นดินร่วนปนทราย ดินทราย ดินจะไม่เกาะตัวกัน ควรใช้วิธีขุดหลุมปลูกจะทำให้การเจริญเติบโตและอัตรา การรอดสูงกว่า หรืออาจะใช้วิธีดัดแปลง ซึ่งหมายถึง การนำหน้าดินจากแหล่งอื่นมากอง ตรงตำแหน่งที่จะปลูก กองดินควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร สูง 15 เซนติเมตร แหวกกลางกองดินโรยปุ๋ยหินฟอสเฟตในช่อง 3) การแกะถุงออกต้องระมัดระวังอย่าให้ดินแตกอาจทำได้โดยกรีดก้นถุงออกก่อน แล้วนำไป วางในตำแหน่งที่ปลูก กรีดถุงพลาสติกให้ขาดจากล่างขึ้นบน แล้วจึงค่อย ๆ ดึงถุงพลาสติก ออกเบา ๆ 4) ระมัดระวังอย่ากลบดินให้สูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ 5) หาวัสดุคลุมโคน และจัดทำร่มเงาให้กับต้นทุเรียนเหมือนการปลูกโดยวิธีขุดหลุม การดูแลต้นทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้วเป็นสิ่งสำคัญเป็นการเตรียมต้นทุเรียนให้พร้อมและมีความสมบูรณ์ โดยการทำให้มีใบแก่พร้อมกันทั้งต้น เพื่อให้มีการสร้างอาหารให้กับลำต้นได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีการสะสมอาหาร ในลำต้นเพียงพอ 2. การดูแลทุเรียนหลังการให้ผลผลิต (ต้นแม่พันธุ์ดั้งเดิม)2.1 ตัดแต่งกิ่ง - ตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งหัก กิ่งที่เป็นโรค กิ่งกระโดง เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องได้อย่างทั่วถึง และง่ายต่อการพ่นสารป้องกันและกำจัดโรคและแมลง - ควบคุมความสูงของต้นให้อยู่ในระดับความสูง 6-8 เมตร 2.2. เก็บเชือกโยงต้นทุเรียนที่ไม่ได้ใช้แล้ว 2.3. ตรวจสอบความพร้อมของระบบน้ำในสวนให้พร้อมใช้งานสำหรับฤดูกาลผลิตต่อไป 2.4. สำรวจต้นที่เป็นโรคให้รีบดำเนินการจัดการทันที 3. ตัดแต่งกิ่ง และควบคุมทรงพุ่มต้นแม่พันธุ์ การตัดแต่งกิ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีความสำคัญในการทำสวนทุเรียน เนื่องจากการตัดแต่งกิ่งส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์โดยรวมของต้น ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคและแมลง รวมถึงการออกดอกของทุเรียน การตัดแต่งกิ่งนิยมทำกันในช่วงปลายฤดูฝนต่อหนาว เพราะเป็นช่วงที่ทุเรียนเตรียมพร้อมจะออกดอกหรือในทุเรียนเล็กก็จะเป็นช่วงที่มีการผลิใบชุดใหม่ 1) กิ่งกระโดง กิ่งที่มีกิ่งก้านแผ่ออกรอบทิศ เป็นทรงฉัตร/ทรงสน มักจะอยู่บริเวณทรงยอด 2) กิ่งข้าง กิ่งที่มีกิ่งก้านแผ่ออกเพียงด้านข้าง เป็นกิ่งลักษณะคล้ายก้างปลา กิ่งลักษณะนี้ 3) กิ่งน้ำค้าง กิ่งขนาดเล็กที่แตกออกมาจากต้นหรือกิ่งหลัก" กิ่งลักษณะนี้จะแตกออกมาจากตายอดขนาดเล็ก ภายในทรงพุ่มของทุเรียน จึงไม่ค่อยได้รับแสงแดด ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถเจริญต่อจนออกผลผลิตได้ และจะแห้งตายไปในที่สุด ดังนั้น เราควรตัดแต่งกิ่งน้ำค้างออก เพื่อไม่ให้แย่งน้ำเลี้ยงจากกิ่งหลัก และเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลง ในการตัดแต่งกิ่งน้ำค้างนั้น เราไม่ควรตัดชิดกิ่งหลัก เพราะจะทำกิ่งหลักเป็นรูโหว่ได้ ถ้าเราตัดกิ่งน้ำค้างขนาดเล็ก ก็ไม่จำเป็นต้องป้ายยา แต่ถ้าเป็นกิ่งขนาดใหญ่ที่ถูกแมลงเข้าทำลายหรือเป็นโรคนั้น ควรป้ายด้วยปูนแดง และใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพื่อไม่ให้ขยายไปสู่(ลำ)ต้น |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
|