หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินความต้องการธาตุอาหารและสาร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-PVHO-1057A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินความต้องการธาตุอาหารและสาร

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A 1 8341 ผู้ควบคุมเครื่องจักรโรงงานชนิดเคลื่อนที่ได้ที่ใช้ในด้านการเกษตรและป่าไม้

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่มีสมรรถนะประเมินความต้องการธาตุอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ต้องมีทักษะและความรู้ในการประเมินความต้องการธาตุอาหารของพืช ลักษณะอาการขาดธาตุอาหารของพืช และการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ได้อย่างเหมาะสมตรงตามระยะการเจริญเติบโตของพืช 


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ให้บริการโดรนทางการเกษตร (Drone services for agriculture provider)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

10.1 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 มาตรา 24

10.2 หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับ หรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมจากภายนอก พ.ศ. 2558

10.3 ประกาศ กสทช. เรื่องเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน สำหรับใช้งานเป็นการทั่วไป

10.4 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562

10.5 (ร่าง) ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกที่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม (ที่ใช้ในปัจจุบัน)

10.6 จรรยาบรรณสำหรับผู้ค้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรและการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย

10.7 มาตรการควบคุม ตรวจสอบ กำกับ ดูแล วัตถุอันตราย ปุ๋ย และพันธุ์พืช


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A161

ประเมินความต้องการธาตุอาหารของพืชตามระยะการเจริญเติบโตได้ถูกต้องตามข้อกำหนด

1. อธิบายความต้องการธาตุอาหารของพืชตามระยะการเจริญเติบโต

2. เลือกสูตรปุ๋ยตามระยะการเจริญเติบโตของพืช

3. เลือกรูปแบบของปุ๋ยที่ใช้ตามระยะการเจริญเติบโตของพืช

A162

ประเมินความต้องการธาตุอาหารของพืชตามอาการขาดธาตุอาหารที่พืชแสดงออกได้ถูกต้องตามข้อกำหนด

1. อธิบายความต้องการธาตุอาหารของพืชตามอาการขาดธาตุอาหารที่พืชแสดงออก

2. เลือกสูตรปุ๋ยตามอาการขาดธาตุอาหารที่พืชแสดงออก

3. เลือกรูปแบบของปุ๋ยที่ใช้ตามอาการขาดธาตุอาหารที่พืชแสดงออก

A163

ประเมินความต้องการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชได้ถูกต้องตามข้อกำหนด

1. อธิบายหลักการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชตามระยะการเจริญเติบโตของพืช

2. เลือกใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชได้ตรงตามระยะการเจริญเติบโต


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีทักษะในการฟัง พูด อ่าน เขียน

2. มีความรู้ในเรื่องความต้องการธาตุอาหารของพืช

3. มีความรู้เรื่องลักษณะอาการขาดธาตุอาหารของพืช

4. มีความรูเรื่องสารควบคุมการเจริญเติบโตพืช


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถประเมินความต้องการธาตุอาหารของพืชได้

2. สามารถประเมินลักษณะอาการขาดธาตุอาหารของพืชได้

3. สามารถประเมินความต้องการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้พื้นฐานทางด้านภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

2. ความรู้ในการเลือกใช้วัถตุทางการเกษตรได้อย่างปลอดภัย

3. ความรู้ในการเลือกใช้สูตรปุ๋ยได้ตรงตามความต้องการของพืชในแต่ละระยะการเจริญเติบโต

4. ความรู้ในการเลือกใช้สารควมคุมการเจริญเติบโตพืชได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

ผลจากการสอบสัมภาษณ์

ผลจากการประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A

(ง) วิธีการประเมิน

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์

ประเมินสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

  

เรื่องการประเมินความต้องการธาตุอาหารของพืชตามระยะการเจริญเติบโต ผู้เข้ารับการประเมินมีทักษะและองค์ความรู้ในการอธิบายความต้องการธาตุอาหารของพืชตามระยะการเจริญเติบโต โดยการยกตัวอย่างชนิดของพืช และเลือกสูตรปุ๋ยได้ตรงตามระยะการเจริญเติบโตของพืช รวมถึงการเลือกรูปแบบของปุ๋ยที่ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับการปฏิบัติงานของโดรนเพื่อการเกษตร

      

เรื่องการประเมินความต้องการธาตุอาหารของพืชตามอาการขาดธาตุอาหารที่พืชแสดงออก ผู้เข้ารับการประเมินมีทักษะและองค์ความรู้ในการอธิบายความต้องการธาตุอาหารของพืชตามอาการขาดธาตุอาหารที่พืชแสดงออก โดยการยกตัวอย่างพืช พร้อมลักษณะอาการขาดธาตุที่เกิดขึ้นกับพืชชนิดนั้น ๆ และเลือกสูตรปุ๋ยตามอาการขาดธาตุที่พืชแสดงออก รวมถึงการเลือกรูปแบบของปุ๋ยที่ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับการปฏิบัติงานของโดรนเพื่อการเกษตร

      

เรื่องการประเมินความต้องการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช ผู้เข้ารับการประเมินมีทักษะและองค์ความรู้ในการอธิบายหลักการใช้สารตามแต่ละระยะการเจริญเติบโตของพืช โดยการยกตัวอย่างพืช พร้อมอธิบายถึงเหตุผลในการใช้สารกับพืชชนิดนั้น ๆ ว่าใช้เพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในส่วนใดและอยู่ในระยะใดของการเจริญเติบโตของพืช

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

 

การอธิบายความต้องการธาตุอาหารของพืชตามระยะการเจริญเติบโต

ความต้องการธาตุอาหารพืชตามระยะการเจริญเติบโต คือการที่พืชมีความต้องการแตกต่างกันตามช่วงเวลาของการเจริญเติบโตซึ่งมักจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะหลัก ได้แก่ ระยะการเจริญเติบโต และระยะก่อนติดดอกออกผล ในแต่ละระยะการเจริญเติบโตนี้พืชมักมีความต้องการธาตุอาหารที่แตกต่างกันออกไปรวมถึงชนิดและอายุของพืช ซึ่งธาตุอาหารมีการส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชดังนี้

ธาตุอาหารหลัก

  • ไนโตรเจน (N) ช่วยในการเจริญเติบโตของใบ ลำต้น ดอก และผล แต่ในระยะนี้ พืชต้องการไนโตรเจนน้อยลง เพราะอาจส่งผลต่อการติดดอกและคุณภาพของผลผลิต
  • ฟอสฟอรัส (P) ช่วยในการเจริญเติบโตของราก ดอก ผล และเมล็ด พืชในระยะนี้ต้องการฟอสฟอรัสปานกลาง เพื่อส่งเสริมการออกดอก ติดผล และเมล็ดสมบูรณ์
  • โพแทสเซียม (K) ช่วยในการสังเคราะห์อาหาร ควบคุมการใช้น้ำ และเพิ่มความต้านทานต่อโรค พืชในระยะนี้ต้องการโพแทสเซียมสูง เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของดอก ผล และเมล็ด และเพิ่มคุณภาพของผลผลิต

ธาตุอาหารรอง

  • แคลเซียม (Ca) ช่วยเสริมสร้างผนังเซลล์ ช่วยดูดซึมธาตุอาหารอื่นๆ และช่วยให้ออกดอกติดผลดี พืชในระยะนี้ต้องการแคลเซียมปานกลาง
  • แมกนีเซียม (Mg) ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ช่วยดูดซึมฟอสฟอรัส และช่วยให้ออกดอกติดผลดี พืชในระยะนี้ต้องการแมกนีเซียมปานกลาง
  • กำมะถัน (S) ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยดูดซึมไนโตรเจน และช่วยให้ออกดอกติดผลดี พืชในระยะนี้ต้องการกำมะถันปานกลาง

           ทั้งนี้ปริมาณธาตุอาหารที่พืชต้องการ ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช สภาพดิน สภาพอากาศ และวิธีการจัดการ เกษตรกรควรวิเคราะห์ดินก่อนปลูก เพื่อทราบปริมาณธาตุอาหารในดิน จึงเลือกใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของพืชในแต่ละระยะการเจริญเติบโต

           และนอกจากธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองแล้ว พืชยังต้องการธาตุอาหารเสริม (micronutrients) อีก 7 ชนิด ได้แก่ เหล็ก สังกะสี ทองแดง แมงกานีส โมลิบดีนัม คลอรีน และโบรอน ธาตุอาหารเหล่านี้ พืชต้องการในปริมาณน้อย แต่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของพืช

           การเลือกสูตรปุ๋ยตามระยะการเจริญเติบโตของพืช

        พืชมีความต้องการธาตุอาหารหรือปุ๋ยที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาของการเจริญเติบโตซึ่งมักจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะหลัก ได้แก่ ระยะการเจริญเติบโต และระยะก่อนติดดอกออกผล ในแต่ละระยะการเจริญเติบโตพืชมักมีความต้องการธาตุอาหารที่แตกต่างกันออกไปซึ่งต้องคำนึงถึงชนิดและอายุของพืช ยกตัวอย่างชนิดของพืช ได้แก่ ข้าว ในระยะแตกกอ หรือการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ข้าวมีความต้องการธาตุอาหารหลัก ซึ่งสูตรปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมได้แก่ 46-0-0 อัตรา 10 กก. ต่อไร่ ร่วมกับ 18-22-0 อัตรา 7 กก. ต่อไร่ และ 0-0-60 อัตรา 5 กก. ต่อไร่  

    การเลือกรูปแบบของปุ๋ยที่ใช้ตามระยะการเจริญเติบโตของพืช

           รูปแบบของปุ๋ยได้แก่ ปุ๋ยเม็ด และปุ๋ยน้ำ ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้ปุ๋ยในแต่ละรูปแบบ ปุ๋ยเม็ดส่วนมากจะให้ในกลุ่มของธาตุอาหารหลัก ปุ๋ยน้ำส่วนมากจะให้ในกลุ่มของธาตุอาหารรอง

การอธิบายความต้องการธาตุอาหารของพืชตามอาการขาดธาตุอาหารที่พืชแสดงออก

             การขาดธาตุอาหารที่พืชแสดงออก สามารถวิเคราะห์ได้จากอาการขาดธาตุอาหารที่แสดงออกบนส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น สีซีดทั้งใบหรือบางส่วน การเปลี่ยนแปลงของสีโดยใบอาจเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แดง ม่วง หรือน้ำตาล รูปร่างผิดปกติ ยกตัวอย่างอาการขาดธาตุอาหารที่พืชมักพบเป็นส่วนมาก ได้แก่

    อาการขาดธาตุอาหารหลัก

  • ไนโตรเจน (N): ใบเหลืองซีด เริ่มจากใบแก่ ลุกลามไปยังใบอ่อน ลำต้นแคระแกร็น ผลผลิตต่ำ
  • ฟอสฟอรัส (P): ใบมีสีม่วงแดง เริ่มจากใบแก่ ลุกลามไปยังใบอ่อน รากอ่อนหยุดการเจริญเติบโต ดอกและผลร่วง
  • โพแทสเซียม (K): ใบมีขอบไหม้ เริ่มจากใบแก่ ลุกลามไปยังใบอ่อน ลำต้นอ่อนแอ ดอกและผลร่วง

              อาการขาดธาตุอาหารรอง

  • แคลเซียม (Ca): ยอดอ่อนตาย ดอกและผลร่วง รากเน่า
  • แมกนีเซียม (Mg): ใบมีสีเหลืองซีด เริ่มจากใบแก่ ลุกลามไปยังใบอ่อน ใบมีขอบไหม้      รากอ่อนหยุดการเจริญเติบโต
  • กำมะถัน (S): ใบมีสีเหลืองซีด เริ่มจากใบอ่อน ลุกลามไปยังใบแก่ ลำต้นแคระแกร็น

           การเลือกสูตรปุ๋ยตามอาการขาดธาตุอาหารที่พืชแสดงออก

                  พืชมีความต้องการธาตุอาหารหรือปุ๋ยที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาของการเจริญเติบโตซึ่งมักจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะหลัก ได้แก่ ระยะการเจริญเติบโต และระยะก่อนติดดอกออกผล ในแต่ละระยะการเจริญเติบโต พืชอาจแสดงอาการขาดธาตุอาหาร จึงเลือกสูตรปุ๋ยที่ตรงกับอาการขาดธาตุอาหารที่พืชแสดงออก และใส่ในปริมาณที่คำแนะนำสำหรับพืชแต่ละชนิดรวมถึงระยะการเจริญเติบโต 

           การเลือกรูปแบบของปุ๋ยที่ใช้ตามอาการขาดธาตุอาหารที่พืชแสดงออก

                  รูปแบบของปุ๋ยได้แก่ ปุ๋ยเม็ด และปุ๋ยน้ำ ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้ปุ๋ยในแต่ละรูปแบบ ปุ๋ยเม็ดส่วนมากจะให้ในกลุ่มของธาตุอาหารหลัก ปุ๋ยน้ำส่วนมากจะให้ในกลุ่มของธาตุอาหารรอง ในกรณีที่พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหารในกลุ่มของธาตุอาหารหลักอาจเปลี่ยนมาใช้ในรูปของน้ำแล้วทำการฉีดพ่นเข้าทางปากใบของพืช 

 

           การอธิบายหลักการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชตามระยะการเจริญเติบโตพืช

               หลักการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช ต้องทราบบทบาทหน้าที่ของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชแต่ละกลุ่มที่ต้องการนำมาใช้กับพืช ซึ่งต้องเลือกชนิดสารให้ถูกต้องตามคุณสมบัติของสารนั้น ๆ กรณีต้องการใช้สารที่ไม่เคยใช้มาก่อน แนะนำให้การทดลองใช้และจดบันทึกในอัตราส่วนที่ฉีดพ่นเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารที่ใช้ เพราะหากใช้สารที่ความเข้มข้นมากเกินไปจะเกิดอันตรายกับพืชได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญในการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชคือต้องเตรียมสารในอัตราที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้ความเข้มข้นตามที่ฉลากแนะนำ ซึ่งจำเป็นต้องทราบวิธีการคำนวณหาอัตราการใช้สารที่ถูกต้องของสารออกฤทธิ์ (active indredient หรือ a.i.) ที่ระบุอยู่บนฉลากบรรจุภัณฑ์ ในการใช้สารสำหรับโดรนทางการเกษตรจะเน้นไปที่การพ่นทางใบ ปริมาณการแนะนำให้ใช้สารมักจะระบุความเข้มข้นของสารเป็นเปอร์เซนต์ หรือ ppm (มิลลิกรัมต่อลิตร)

                  ตัวอย่างสารควบคุมการเจริญเติบโตพืช

  • Ethephon 48%, 52% W/V SL ประโยชน์คือ ใช้ควบคุมการออกดอกของสัปรด
  • Paclobutazol 10% WP ประโยชน์ใช้ควบคุมการออกดอกของมะม่วงน้ำดอกไม้
  • Sodium chlorate 50% SP ประโยชน์คือใช้ในการชักนำให้ลำไยออกดอกนอกฤดูกาล  

           การเลือกใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชได้ตรงตามระยะการเจริญเติบโต

               สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช (plant growth regulators; PGRs) จัดเป็นสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืช (plant hormones) โดยทั่วไปมักเรียกสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชว่า “ฮอร์โมน” ซึ่งการเลือกใช้สารล้วนขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการควบคุมการเจริญเติบโตของพืช โดยบทบาทหน้าที่ของฮอร์โมนพืชจะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตพืชทุกขั้นตอนตั้งแต่การงอก การพัฒนาการของพืช การติดดอกออกผล การพัฒนาของผล การสุก ตัวอย่างความต้องการ PGR ในแต่ละระยะการเจริญเติบโต ได้แก่

  1. ระยะต้นกล้า

- ออกซิน (Auxin): กระตุ้นการเจริญเติบโตของลำต้น ราก แตกตา

- จิบเบอเรลลิน (Gibberellin): กระตุ้นการยืดตัวของข้อ ปล้อง ใบ ลำต้น

- ไซโทไคนิน (Cytokinin): กระตุ้นการแบ่งเซลล์ การเจริญเติบโตของใบ ลำต้น ราก

  1. ระยะออกดอก

- จิบเบอเรลลิน (Gibberellin): กระตุ้นการออกดอก เร่งการติดผล

- ไซโทไคนิน (Cytokinin): กระตุ้นการแบ่งเซลล์ในดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย

- เอทิลีน (Ethylene): กระตุ้นการบานของดอกไม้ ส่งเสริมการติดผล

  1. ระยะติดผล

                             - จิบเบอเรลลิน (Gibberellin): เร่งการขยายขนาดของผล

- เอทิลีน (Ethylene): กระตุ้นการแก่ของผล เร่งการเก็บเกี่ยว

  1. ระยะแก่

- เอทิลีน (Ethylene): กระตุ้นการแก่ของใบ ลำต้น ส่งเสริมการเก็บเกี่ยว


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

รายละเอียดกระบวนการ เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ ซึ่งมีเครื่องมือประเมินได้แก่

1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน

2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์

3. ประเมินจากสาธิตการปฏิบัติงาน


ยินดีต้อนรับ