หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้ชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-XQIV-756A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้ชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักเทคนิคด้านการใช้สถานการณ์จำลองทางการแพทย์


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้ชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation โดยสามารถเตรียมความพร้อม สนับสนุนการใช้ virtual simulation ตลอดจนแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง และดูแลหลังการใช้งานชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

นักเทคนิคด้านการใช้สถานการณ์จำลองทางการแพทย์ 


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A 


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

N/A 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10104.01

เตรียมความพร้อมของ virtual simulation

1. ประสานงานกับผู้สอนเกี่ยวกับแผนการสอนในสถานการณ์จำลอง 

2. เตรียม computer หรือ web-based simulator ได้ตามคู่มือการปฏิบัติของแต่ละอุปกรณ์ 

3. ตรวจสอบความพร้อมของระบบและอุปกรณ์สำหรับการสอนในรูปแบบ computer หรือ web-based simulator ได้ตามคู่มือการปฏิบัติของแต่ละอุปกรณ์ 

4. เตรียมระบบและอุปกรณ์สำหรับการสอนในรูปแบบ computer หรือ web-based simulator สำหรับสนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลอง 

5. นำระบบและอุปกรณ์สำหรับการสอนในรูปแบบ computer หรือ web-based simulator ไปติดตั้งในสถานการณ์ จำลองได้ตามข้อกำหนด 

10104.02

สนับสนุนการใช้ virtual simulation

1. ควบคุมการ ใช้ระบบและอุปกรณ์สำหรับการสอนในรูปแบบ computer หรือ web-based simulator หรือ Augmented reality หรือ Virtual Reality สำหรับสนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลอง 

2.ช่วยเหลือผู้สอนในการใช้ระบบและอุปกรณ์สำหรับการสอนในรูปแบบ computer หรือ web-based simulator หรือ Augmented reality หรือ Virtual Reality 

 3.แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของระบบและอุปกรณ์สำหรับการสอนในรูปแบบ computer หรือ web-based simulator ขณะสอน 

10104.03

แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ virtual simulation

1. ระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นของโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 

2. แก้ไขปัญหาสัญญาณเชื่อมต่อระหว่างเครื่องมือหรือปัญหาโปรแกรมหยุดทำงานในการใช้งาน computer หรือ web-based simulator หรือ Augmented reality หรือ Virtual Reality 

3. เปลี่ยนชิ้นส่วนพื้นฐานของระบบ virtual simulation รูปแบบ computer ได้ตามมาตรฐาน 

10104.04

ดูแลหลังการใช้งาน Virtual simulation

1. ปิดระบบอุปกรณ์ computer web-based simulator augmented reality virtual realityหลังการใช้งาน 

2. จัดเก็บอุปกรณ์ computer and web-based simulator virtual reality/ augmented reality หลังการใช้งาน 

3. จัดเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์ computer and web-based simulator virtual reality/ augmented reality หลังการใช้งาน 

4. ตรวจสอบโปรแกรมของอุปกรณ์ computer and web-based simulator virtual reality/ augmented reality ให้เป็นปัจจุบัน (Update) 

5. ติดต่อบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายเพื่อดำเนินการส่งซ่อมหรือขออุปกรณ์ทดแทน 


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้เกี่ยวกับชื่อ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) และหน้าที่หลักของอวัยวะสำคัญในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับ virtual simulation
2. ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่พื้นฐานของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย
3. ความรู้เกี่ยวกับชื่อ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ของอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ในการทำหัตถการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ virtual simulation
4. ความรู้เกี่ยวกับสรีรวิทยาพื้นฐานของมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งค่า virtual simulation ได้แก่ ชื่อเรียกภาษาอังกฤษและค่าปกติของสัญญาณชีพ (ความดันโลหิต อัตราการหายใจ ชีพจร อุณหภูมิ) ชื่อเรียกเสียงปอด และหัวใจทั้งปกติและผิดปกติประเภทต่าง ๆ 
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการสื่อสารกับผู้สอนเพื่อทำความเข้าใจแผนการสอน
2.    ทักษะในการตรวจสอบความพร้อมใช้งานของหุ่นจำลองชนิด computer หรือ  web-based simulator
3.    ทักษะในการนำ computer หรือ web-based simulator ไปติดตั้งสถานการณ์จำลองให้ตรงกับแผนการสอนของอาจารย์
4.    ทักษะในการควบคุมระบบและอุปกรณ์การใช้งานของ virtual simulation
5.    ทักษะในการแก้ไขปัญหาของ computer หรือ web-based simulator
6.    ทักษะในการสื่อสารกับผู้สอน ผู้เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานอื่นๆ
7.    ทักษะในการดูแลระบบ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับvirtual simulation
8.    ทักษะในการจัดทำทะเบียนข้อมูลและการจัดเก็บเอกสาร
9.    ทักษะในการตรวจสอบปัญหาของ ระบบและอุปกรณ์ที่ใช้ใน virtual simulation
10.    ทักษะในการเปลี่ยนชิ้นส่วนพื้นฐานของอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสอนในรูปแบบ virtual simulation
11.    ทักษะในการจัดเก็บข้อมูลภายหลังการใช้งาน virtual simulation
12.    ทักษะในการตรวจสอบและปรับโปรแกรมที่ติดตั้งในอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ virtual simulation ให้เป็นปัจจุบัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับแผนการสอนด้วยสถานการณ์จำลอง
2.    ความรู้เกี่ยวกับชนิด องค์ประกอบ และอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับ virtual simulation บนพื้นฐานของ computer หรือ web-based simulator
3.    ความรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของ virtual simulation ด้วย computer หรือ web-based simulator
4.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบความพร้อมของ computer หรือ web-based simulatorเพื่อให้พร้อมใช้งาน                                      
5.    ความรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของ virtual simulation ด้วย computer หรือ web-based simulator
6.    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสอนด้วย Augmented Reality หรือ Virtual Reality
7.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้อุปกรณ์และระบบการสอนในรูปแบบ computer หรือ web-based simulator หรือ Augmented Reality หรือ Virtual Reality
8.    ความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการสอนด้วย computer หรือ web-based simulator
9.    ความรู้เกี่ยวกับการเชื่อมต่อสัญญาณของอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสอนรูปแบบ virtual simulation 
10.  ความรู้เกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์การสอนที่เกี่ยวข้องกับ computer web-based simulator augmented reality virtual reality 
11.  ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการใช้โปรแกรมพื้นฐานที่ใช้ในการสอนรูปแบบ virtual simulation
12.  ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง          
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(1)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )
        1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
        2. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
        3. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้
(2)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
       1.  ใบรับรองผลการศึกษา หรือ 
       2.  ใบรับรองการผ่านงาน หรือ
       3.  ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง 
(3)    คำแนะนำในการประเมิน
       เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ สนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้ชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้
(4)  วิธีการประเมิน    
     - พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ และแบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้
     - พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ใบรับรองผลการศึกษา หรือ ใบรับรองการผ่านงาน หรือประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง การสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

       ขอบเขตการปฏิบัติงานของการสนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้ชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation ครอบคลุมตั้งแต่เตรียมความพร้อมของ virtual simulation หมายถึง กระบวนการตั้งแต่การวางแผนตารางงานเพื่อให้มีการตรวจสอบความพร้อมใช้งาน computer หรือ web-based simulator โดยต้องเตรียมโปรแกรมที่ใช้ถูกต้องรวมทั้งติดตั้งตามที่ผู้สอนระบุไว้ในแผนการสอน นอกจากนี้ ยังต้องตรวจสอบ computer หรือ web-based simulator ว่าสามารถควบคุมและแสดงผลได้ถูกต้องสมบูรณ์เพื่อให้ผู้สอน สามารถสอนได้อย่างเต็มที่และลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในขณะใช้งาน
       การสนับสนุนการใช้ virtual simulation หมายถึง การควบคุมการใช้งานรูปแบบ computer web-based simulator augmented reality virtual reality ในการสอนด้วยสถานการณ์จำลองให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ การทบทวนแผนการสอนในส่วนที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า ก่อนถึงเวลาสอน ทำการซักซ้อมทำความเข้าใจกับผู้สอน เพื่อวางแผนการใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถเตรียมโปรแกรมแสดงผลได้ตามกำหนด เมื่อเริ่มการเรียนการสอน ให้ความช่วยเหลือในด้านเทคนิคกับผู้สอนและช่วยเหลือผู้สอนในการปรับเปลี่ยนตามผู้สอนกำหนด เพื่อให้สถานการณ์จำลองสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น    
       กระบวนการดูแลหลังการใช้ virtual simulation หมายถึง กระบวนการตรวจสอบดูแลและบำรุงรักษาระบบvirtual simulation จัดเก็บข้อมูลที่ได้หลังจากการใช้งาน ให้พร้อมสำหรับการใช้งานในครั้งถัดไป รวมทั้งตรวจสอบระบบโปรแกรมให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสอนในสถานการณ์จำลองตามรอบเวลานั้นอยู่ภายใต้การดูแลของตัวแทนหรือบริษัทผู้จำหน่าย ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องวางแผนเพื่อให้ตัวแทนหรือบริษัทผู้จำหน่ายเข้ามาทำการดูแลรักษา และดำเนินการติดต่อสื่อสารให้ได้ผลลัพธ์ที่กำหนด ขั้นตอนเตรียมความพร้อมของ virtual simulation ให้พร้อมใช้งาน การสนับสนุนการใช้ virtual simulation แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ virtual simulation และดูแลหลังการใช้งานชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation 

คำแนะนำ 
     1)    สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายขั้นตอนในการเตรียม การสนับสนุนการใช้งาน การแก้ไขปัญหา และการดูแลหลังการใช้งาน virtual simulation ได้
     2)    สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้
(1)    คำอธิบายรายละเอียด
      1. Virtual simulation หมายถึง สถานการณ์จำลอง (สิ่งแวดล้อม บุคคลจำลอง) ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยระบบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีใด ๆ และมีระบบจัดการ เพื่อให้มนุษย์สามารถควบคุมได้ตามเงื่อนไขที่สร้างไว้ ประกอบด้วย computer หรือ web-based simulator เป็นสถานการณ์จำลองที่ถูกสร้างผ่านโปรแกรมในคอมพิวเตอร์หรือผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยอาจแสดงในลักษณะรูปแบบหน้าจอสัญญาณชีพ อุปกรณ์ช็อกไฟฟ้า เครื่องช่วยหายใจ หรือเครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นเสียง augmented reality หรือ virtual reality เป็นสถานการณ์จำลองที่สร้างขึ้นผ่านโปรแกรมที่กำหนดโดยผู้ใช้รับรู้ผ่านทางหน้าจอหรือแว่นตาที่ทำให้ผู้เรียนรับรู้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปจากความจริง
      2. ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ virtual simulation หมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบหรืออุปกรณ์ ได้แก่ ระบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์และควบคุม การตอบสนองของระบบที่ไม่เป็นไปตามที่ผู้สอนกำหนดหรือการชำรุดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนรูปแบบ virtual Simulation
      3. ชิ้นส่วนพื้นฐาน หมายถึง ชิ้นส่วนที่มีความจำเป็นในการทำงานของระบบ virtual simulation รูปแบบ computer ที่ไม่มีความซ้ำซ้อน สามารถเปลี่ยนได้ด้วยตนเอง เช่น สายส่งสัญญาณ หน้าจอแสดงผล ลำโพง ไมโครโฟนแป้นพิมพ์ เครื่องมือควบคุมการสั่งการ โดยรวมถึงการตั้งค่าการทำงานให้เหมาะสม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน ประเมินความรู้การเตรียมความพร้อม สนับสนุนการใช้ virtual simulation ตลอดจนแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง และดูแลหลังการใช้งานชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation
18.2 การสอบสัมภาษณ์ ประเมินความรู้สนับสนุนการใช้ virtual simulation และดูแลหลังการใช้งานชุดสร้างสถานการณ์จำลองด้วย virtual simulation

 


ยินดีต้อนรับ