หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้ผู้ป่วยจำลอง

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-OLEW-755A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้ผู้ป่วยจำลอง

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

 นักเทคนิคด้านการใช้สถานการณ์จำลองทางการแพทย์


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้ผู้ป่วยจำลอง โดยสามารถเตรียมผู้ป่วยจำลองให้พร้อมสำหรับสถานการณ์จำลอง สนับสนุนผู้ป่วยจำลองสำหรับสถานการณ์จำลอง   


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

นักเทคนิคด้านการใช้สถานการณ์จำลองทางการแพทย์ 


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A 


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

N/A 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10103.01

เตรียมผู้ป่วยจำลองให้พร้อมสำหรับสถานการณ์จำลอง

1. ประสานงานกับผู้สอนเกี่ยวกับแผนการสอนในสถานการณ์จำลอง

2. สนับสนุนการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยจำลองตามข้อกำหนด 

3. ตรวจสอบความพร้อมของผู้ป่วยจำลองที่ได้รับตามแผนการสอน 

10103.02

สนับสนุนผู้ป่วยจำลองสำหรับสถานการณ์จำลอง

1. สนับสนุนผู้สอนและผู้ป่วยจำลองให้สามารถดำเนินสถานการณ์จำลองได้อย่างปลอดภัย 

2. แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจำลองในระหว่างการดำเนินสถานการณ์ 

3. จัดสถานที่สำหรับพักผ่อน หรือสวัสดิการให้ผู้ป่วยจำลองอย่างเหมาะสม 


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้เกี่ยวกับชื่อ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) และหน้าที่หลักของอวัยวะสำคัญในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยจำลอง
2. ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่พื้นฐานของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย
3. ความรู้เกี่ยวกับชื่อ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ของอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ในการทำหัตถการที่เกี่ยวข้องกับการสอนด้วยผู้ป่วยจำลอง
4. ความรู้เกี่ยวกับสรีรวิทยาพื้นฐานของมนุษย์ ได้แก่ ชื่อเรียกภาษาอังกฤษและค่าปกติของสัญญาณชีพ (ความดันโลหิต อัตราการหายใจ ชีพจร อุณหภูมิ) 
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการสื่อสารกับผู้สอนเพื่อทำความเข้าใจแผนการสอน
2. ทักษะในการสื่อสารกับผู้ป่วยจำลองเพื่อตรวจสอบความพร้อม
3. ทักษะในการจัดการสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในสถานการณ์จำลอง
4. ทักษะในการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดในสถานการณ์จำลอง
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับแผนการสอนด้วยสถานการณ์จำลอง
2.    ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของผู้ป่วยจำลอง
3.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบความพร้อมของผู้ป่วยจำลอง
4.    ความรู้เกี่ยวกับการจัดสถานที่และอุปกรณ์สำหรับสถานการณ์จำลองได้อย่างปลอดภัย
5.    ความรู้เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการเพื่อบุคลากรที่มีส่วนร่วมในการสอนสถานการณ์จำลอง
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(1)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )
       1.    หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ
       2.    แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
       3.    แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้
(2)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
        1.    ใบรับรองผลการศึกษา หรือ 
        2.    ใบรับรองการผ่านงาน หรือ
        3.    ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง 
(3)    คำแนะนำในการประเมิน
       เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ สนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้ผู้ป่วยจำลองโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้
(4)  วิธีการประเมิน    
     - พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติ ได้แก่ หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ และการสอบปฏิบัติ 
     - พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ใบรับรองผลการศึกษา หรือ ใบรับรองการผ่านงาน หรือประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง การสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

        ขอบเขตการปฏิบัติงาน การสนับสนุนการสอนในสถานการณ์จำลองที่ใช้ผู้ป่วยจำลอง ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนในการเตรียมผู้ป่วยจำลอง หมายถึง กระบวนการเตรียมการจัดสถานการณ์จำลองที่มีผู้ป่วยจำลองร่วมสถานการณ์ ประกอบด้วย ทบทวนแผนการสอน ประสานและชี้แจงผู้ป่วยจำลองเกี่ยวกับอุปกรณ์และสถานที่ การใช้งานร่วมกันระหว่างหุ่นจำลองทางการแพทย์กับผู้ป่วยจำลอง เพื่อให้สามารถดำเนินการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         กระบวนการสนับสนุนการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยจำลอง หมายถึง กระบวนการเตรียมอุปกรณ์และสถานที่ให้ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยจำลองในขณะดำเนินสถานการณ์จำลอง รวมทั้งสามารถให้ความช่วยเหลือหากเกิดปัญหากับผู้ป่วยจำลอง เช่น อุบัติเหตุจากการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ การทำหัตถการจริงกับผู้ป่วยจำลอง

คำแนะนำ 
        1)    สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายหรือแสดงขั้นตอนในการเตรียม การสนับสนุนผู้ป่วยจำลองสำหรับสถานการณ์จำลอง  
        2)    สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้
(1)    คำอธิบายรายละเอียด
       1. ผู้ป่วยจำลอง หมายถึง บุคคลที่ได้รับการฝึกเพื่อแสดงบทบาทผู้ป่วยในสถานการณ์จำลอง โดยผู้ป่วยจำลองแสดงบทบาทเสมือนจริงทั้งวัจนะภาษาและอวัจนะภาษาตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายในบางกรณีมีบทบาทในสถานการณ์จำลองที่ใช้สำหรับการประเมินสมรรถนะ ผุ้ป่วยจำลองอาจเรียกว่าเป็นผู้ป่วยมาตรฐานได้เช่นกัน
       2. ความปลอดภัยในสถานการณ์จำลอง หมายถึง การดำเนินสถานการณ์จำลองโดยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้อุปกรณ์หรือยาจำลองกับมนุษย์ หรือความเสี่ยงทางด้านจิตใจเช่นการใช้ภาษาหรือท่าทางที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยจำลอง  
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน ประเมินความรู้เตรียมผู้ป่วยจำลองให้พร้อมสำหรับสถานการณ์จำลองและสนับสนุนผู้ป่วยจำลองสำหรับสถานการณ์จำลอง
18.2 การสอบสัมภาษณ์ ประเมินความรู้เตรียมผู้ป่วยจำลองให้พร้อมสำหรับสถานการณ์จำลอง
18.3 การสอบปฏิบัติ ประเมินการปฏิบัติงานเตรียมผู้ป่วยจำลองให้พร้อมสำหรับสถานการณ์จำลอง

 


ยินดีต้อนรับ