หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รายงานข้อมูลกิจวัตรประจำวันของสัตว์ป่วยเบื้องต้นเกี่ยวกับสัตว์ป่วยที่พักรักษาในสถานประกอบการให้นายสัตวแพทย์และพยาบาลสัตว์

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-UIYG-084B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รายงานข้อมูลกิจวัตรประจำวันของสัตว์ป่วยเบื้องต้นเกี่ยวกับสัตว์ป่วยที่พักรักษาในสถานประกอบการให้นายสัตวแพทย์และพยาบาลสัตว์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

-


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานสนับสนุนด้านการสื่อสาร ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลของนายสัตวแพทย์ อันได้แก่ เฝ้าสังเกตอาการสัตว์ป่วยขณะนอนพักในสถานประกอบการ การจดบันทึกอาการแสดง และสิ่งผิดปกติที่พบของสัตว์ป่วย และรายงานอาการและสิ่งผิดปกติให้พยาบาลสัตว์และนายสัตวแพทย์


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ช่วยพยาบาลสัตว์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

-


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1. พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ.2545
2. คู่มือประกอบเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2553
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10107.01

แจ้งข้อมูลกิจวัตรประจำวันขเบื้องต้นของสัตว์ป่วยแก่พยาบาลสัตว์และนายสัตวแพทย์ขณะนอนพักในสถานประกอบการ

สังเกตอาการสัตว์ป่วยขณะนอนพักในสถานประกอบการ(ปริมาณอาหาร การขับถ่าย การนอนหลับ)

สื่อสารข้อมูลเบื้องต้นของสัตว์ป่วยขณะนอนพักในสถานพยาบาลแก่ พยาบาลสัตว์ และนายสัตวแพทย์

10107.02

จดบันทึกกิจวัตรประจำวันและสิ่งผิดปกติที่พบของสัตว์ป่วย

สังเกตอาการแสดงและสิ่งผิดปกติที่พบของสัตว์ป่วย

จดบันทึกอาการแสดงและสิ่งผิดปกติที่พบของสัตว์ป่วยแก่พยาบาลสัตว์และนายสัตวแพทย์

10107.03

รายงานอาการผิดปกติเบื้องต้นให้พยาบาลสัตว์และนายสัตวแพทย์ทราบ

รายงานอาการและสิ่งปกติให้พยาบาลสัตว์หรือนายสัตวแพทย์ทราบ

ติดต่อประสานงานพยาบาลสัตว นายสัตวแพทย์ เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้และทักษะด้านจรรยาบรรณอาชีพ
2. ความรู้และทักษะด้านการสื่อสาร
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    มีทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่น
2.    มีทักษะในการต้อนรับและให้บริการแก่ผู้เข้ารับการบริการ
3.    มีทักษะในการลดความเสี่ยงจากการเกิดอันตรายจากสัตว์ป่วย
4.    มีทักษะในการทำงานตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณอาชีพ
2. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
3. ความรู้เกี่ยวกับหลักการให้บริการ (SERVICE)
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
    1. ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน
    2. เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)
    
    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
    1. ผลการทดสอบความรู้
    2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    
    3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)
    (ค) คำแนะนำในการประเมิน
ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
    (ง) วิธีการประเมิน
    1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
(ก) คำแนะนำ 
การทำงานของผู้ช่วยพยาบาลสัตว์ในทุกกระบวนการต้องทำงานภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์ และนักเทคนิคการสัตวแพทย์
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. เฝ้าสังเกตอาการสัตว์ป่วย หมายถึง การสังเกตอาการแสดงเบื้องต้นได้แก่ ปริมาณอาหาร ลักษณะการขับถ่าย การนอนหลับของสัตว์ป่วยที่พักค้างคืนในสถานประกอบการ 
2. สื่อสารข้อมูลเบื้องต้นหมายถึงการอธิบายและแจ้งข้อมูล ลักษณะอาการของสัตว์ป่วยเบื้องต้นขณะพักค้างคืนแก่ พยาบาลสัตว์ และนายสัตวแพทย์ 
3. อาการแสดง หมายถึงอาการผิดปกติที่เกิดจากการเจ็บป่วย  
4. การสื่อสารหมายถึงการสื่อสารเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานงานในการสนับสนุนการทำงานการรักษาสัตว์ป่วย
5. การสังเกตกิจวัตรประจำวันของสัตว์ป่วย  หมายกึง การสังเกตปริมาณอาหารและน้ำที่สัตว์ได้รับ  รวมไปถึงปริมาณสิ่งขับถ่าย  และกิจวัตรประจำวันของสัตว์ป่วย
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

-


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

-


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่
1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน
2) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน
 


ยินดีต้อนรับ