หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาอุปกรณ์ภายในห้องต่างๆในสถานประกอบการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-KONA-078B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาอุปกรณ์ภายในห้องต่างๆในสถานประกอบการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ช่วยสัตวแพทย์ (Veterinary Nuse Assistant)


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการทำความสะอาดห้องและอุปกรณ์ต่างๆในสถานประกอบการได้ถูกต้องตามข้อกำหนด รวมถึงการทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ ในแต่ละประเภทได้แก่ เครื่องมือทั่วไป เครื่องมือผ่าตัด เครื่องมือพิเศษ ชามอาหาร น้ำ ผ้าและอุปกรณ์ที่ใช้ประจำวันอย่างถูกวิธี และการจัดการขยะเพื่อนำไปกำจัดำด้อย่างถูกวิธี


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ช่วยพยาบาลสัตว์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

-


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1. มาตรฐานสถานประกอบการสัตว์ในประเทศไทย พ.ศ. 2553
2. พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2545
 3.ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง กำหนดเครื่องมือ เครื่องใช้ ยา และเวชภัณฑ์ที่จําเป็นประจำสถานประกอบการสัตว์ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์สำหรับสถานประกอบการสัตว์ ชื่อสถานประกอบการสัตว์ลักษณะป้ายชื่อสถานประกอบการสัตว์ ป้ายชื่อผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์รายการอัตราค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการ พ.ศ. 2558
4. กฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545
5. คู่มือประกอบเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2553
 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
10101.01

เตรียมความพร้อมของห้องต่างๆในสถานประกอบการ

ทำความสะอาดพื้น ตู้ โต๊ะ เคาน์เตอร์ในสถานประกอบการอย่างถูกวิธี

ทำความสะอาดตู้เก็บยาทั่วไปและตู้เก็บยาควบคุมอุณหภูมิได้อย่างถูกวิธี

10101.02

บำรุงรักษาอุปกรณ์พื้นฐานในห้องตรวจได้ถูกต้องตามข้อตกลง

ทำความสะอาดอุปกรณ์เบื้องต้นในสถานประกอบการได้ถูกต้องตามข้อกำหนด

ทำความสะอาดผ้าและอุปกรณ์ที่ใช้ประจำวันอย่างถูกวิธี

เก็บอุปกรณ์ที่ใช้ประจำวันได้อย่างถูกวิธี

10101.03

กำจัดขยะตามวิธีมาตรฐานและชีวอนามัย

แยกขยะทั่วไปเพื่อนำไปกำจัดอย่างมีมาตรฐาน

แยกขยะติดเชื้อเพื่อนำไปกำจัดอย่างมีมาตรฐาน

แยกขยะอันตรายเพื่อนำไปกำจัด อย่างมีมาตรฐาน

10101.04

บำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ได้ถูกต้อง

ตรวจสภาพอุปกรณ์ก่อนและหลังใช้งาน

บำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ตามคู่มือ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    1. ความรู้และทักษะการดูแลสัตว์ป่วยพื้นฐาน
    2. ความรู้และทักษะด้านการทำความสะอาดเครื่องมือเบื้องต้น
 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการทำความสะอาด เครื่องมือทั่วไป เครื่องมือผ่าตัด เครื่องมือพิเศษ
2. มีทักษะในการทำความสะอาดกรงเก็บสัตว์ป่วยทั่วไป กรงสัตว์ป่วยผ่าตัด กรงสัตว์ป่วยติดเชื้อ
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทั่วไป เครื่องมือผ่าตัด เครื่องมือพิเศษ
2. ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดกรงเก็บสัตว์ป่วยทั่วไป กรงสัตว์ป่วยผ่าตัด กรงสัตว์ป่วยติดเชื้อ
3. มีความรู้ในการแยกขยะและส่งกำจัดขยะแต่ละประเภท
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
    1. ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน
    2. เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)
    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
    1. ผลการทดสอบความรู้
    2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    
    3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)
    (ค) คำแนะนำในการประเมิน
ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
    (ง) วิธีการประเมิน
    ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
(ก)    คำแนะนำ 
การทำงานของผู้ช่วยพยาบาลสัตว์ในทุกกระบวนการต้องทำงานภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์ และนักเทคนิคการสัตวแพทย์
(ข)    คำอธิบายรายละเอียด
     1.    ตู้เก็บยาทั่วไป หมายถึง ชั้นเก็บของหรือตู้ที่สามารถเก็บยาได้ในอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศา และอยู่ในที่แห้ง ไม่ชื้น หลีกเลี่ยงแสงแดด
     2.    เครื่องมือทั่วไป หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือพื้นฐาน เช่น ไฟฉาย หูฟัง ปรอทวัดไข้ ตู้ไฟสำหรับดูฟิล์มเอ็กซเรย์ เครื่องชั่งน้ำหนัก เป็นต้น
     3.    เครื่องมือพิเศษ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มีความเฉพาะในการตรวจ เช่น เครื่องวัดสัญญาณชีพ เครื่องวัดการหายใจ เครื่องอัลตร้าซาวน์ เป็นต้น
     4.    การเตรียมอุปกรณ์ หมายถึง การเตรียมอุปกรณ์แต่ละประเภทให้เหมาะสำหรับการใช้งานในการตรวจของนายสัตวแพทย์ เช่น การเตรียมเข็มฉีดยา หูฟังสำหรับตรวจ อุปกรณ์การเก็บตัวอย่าง ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์
     5.    การจัดแยกขยะ หมายถึง การคัดแยกขยะก่อนนำไปทำลายตามประเภทของขยะ เช่น ขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ ขยะอันตราย ขยะจากสารเคมีขยะกัมมันตรังสี ภายใต้การควบคุม กำกับ ดูแลขอนายงสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์
     6.    การทำความสะอาด หมายถึง การทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจ มีการทำความสะอาดโดยการฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์
    7.    การจัดเก็บอุปกรณ์ หมายถึง การจัดเก็บอุปกรณ์ภายในสถานที่เก็บที่เหมาะสม ปลอดภัยต่อการหยิบกลับมาใช้งานใหม่และผู้ใช้อุปกรณ์ มีความเป็นระเบียบ เช่น เก็บไว้ในตู้เก็บ ภายใต้การควบคุม กำกับ และดูแล ของนายสัตวแพทย์ พยาบาลสัตว์
    8.    การเตรียมอุปกรณ์ หมายถึง การจัดเตรียมคัดแยกประเภทหลังการทำความสะอาดเพื่อเตรียมสู่การใช้งานในแต่ละประเภท
    9.    ตู้เก็บยาควบคุมอุณหภูมิ หมายถึง ตู้เย็นเก็บยา เป็นตู้แช่เวชภัณฑ์ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ ระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส
   10.    อุปกรณ์ตรวจพื้นฐาน หมายถึง อุปกรณ์ภายในห้องตรวจของนายสัตวแพทย์ ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนัก  ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกาย เครื่องวัดความดันโลหิต หูฟัง (Stethoscope) นาฬิกา
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

-


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

-


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่
1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน
2) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน
 


ยินดีต้อนรับ