หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย ในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของเยาวชน

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-RWQY-077B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย ในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของเยาวชน

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

เจ้าหน้าที่ให้บริการเยาวชน

1 3412 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ เป็นผู้มีส่วนร่วมในที่ประชุมนำเสนอนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน ร่วมกับเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน (การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม) และบทเรียนจากการทำงานร่วมกับเยาวชน และสามารถมีส่วนร่วมในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเยาวชนให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
N/A

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

-    อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และ ข้อคิดเห็นทั่วไป ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2559) ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิเด็กในช่วงวัยรุ่น
-    พ.รบ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
-    พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
50111

รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของเยาวชน และบทเรียนจากการทำงานร่วมกับเยาวชน

1.ระบุสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน

2.รวบรวมบทเรียนจากประสบการณ์ตรงในการทำงานกับเยาวชนและการเรียนรู้ทางอ้อมจากเพื่อนร่วมงาน เครือข่าย การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง

50112

มีส่วนร่วมในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของเยาวชน

1.มีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเยาวชนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเยาวชน

2.มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติร่วมกับกลุ่ม องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและคุ้มครองเยาวชน

3.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน

4.พัฒนาและนำเสนอข้อเสนอแนะที่สมเหตุสมผลเพื่อการปรับปรุงนโยบายการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของเยาวชน โดยกำหนดผลประโยชน์ที่เสนอไว้อย่างชัดเจนและถูกต้อง


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการแสวงหาความรู้จากหลากหลายช่องทาง
2.    ทักษะการสรุปบทเรียน 
3.    ทักษะการสื่อสาร 
4.    ทักษะการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการขับเคลื่อนนโยบาย 
5.    ทักษะการประสานงานและทำงานร่วมกับผู้อื่น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์เยาวชนภายใต้บริบทของเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
2.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบาย
3.    ความรู้เกี่ยวกับการสรุปบทเรียนจากงานวิจัย เอกสาร ตำรา 
4.    ความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการขับเคลื่อนนโยบาย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1.    หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานกับเยาวชน หรือ การทำงานที่เกี่ยวข้อง
2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
3.    ผลงาน/รางวัล จากการปฏิบัติงาน
(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1.    หลักฐานการเรียน เช่น วุฒิการศึกษาแสดงการจบการศึกษาในหลักสูตร/คณะที่เกี่ยวข้องกับการ 
ทำงาน หรือ
2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
(ค)    คำแนะนำในการประเมิน
- N/A - 
(ง)    วิธีการประเมิน
1.    ข้อสอบปรนัย 
2.    ข้อสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน หมายถึง ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิและคุณภาพชีวิตภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมในสังคมที่เยาวชนอยู่ ซึ่งรวมถึงบริบทด้านความคิดสร้างสรรค์ ความปลอดภัย การศึกษา การจ้างงาน อาหาร ที่อยู่อาศัย การสาธารณสุข สิทธิด้านสุขภาพทางเพศ โอกาสด้านกิจกรรมนันทนาการ และการเคลื่อนไหว เป็นต้น (Youth Assembly for Human Right, 2016)
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมายถึง การร่วมกับตัวแทนเยาวชนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายด้วยการนำความรู้ สถานการณ์ของเยาวชน และบทเรียนจากการทำงานกับเยาวชนมาใช้ เพื่อก่อให้เกิดนโยบายหรือการปรับเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของเยาวชน (ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์, 2559)
การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการขับเคลื่อนนโยบาย หมายถึง กระบวนการสร้างความร่วมมือกับเยาวชน ซึ่งรวมถึง การรับฟังความคิดเห็นของเยาวชน การวิพากษ์ การให้ข้อเสนอ การร่วมกำหนดเป้าหมาย และผลลัพธ์ และการส่งเสริมให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และการประเมินผลลัพธ์ของนโยบาย (แบร์รี เช็คโคเวย์, 2564)
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ข้อสอบปรนัย
2.    ข้อสอบสัมภาษณ์
 


ยินดีต้อนรับ