หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สนับสนุนให้เยาวชนได้ใช้ศักยภาพในการพัฒนาตนเอง

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-RYAR-069B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สนับสนุนให้เยาวชนได้ใช้ศักยภาพในการพัฒนาตนเอง

3. ทบทวนครั้งที่ N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

เจ้าหน้าที่ให้บริการเยาวชน

1 3412 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเสริมพลังเยาวชนในการนำจุดแข็งและศักยภาพของตนมาใช้ในการดำเนินการจัดการกับความท้าทาย ปัญหา และการพัฒนาตนเอง สามารถใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อจัดทำแผนผังจุดแข็ง จุดอ่อน และความต้องการด้านการพัฒนาตนเองของเยาวชน รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับเยาวชนในการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล บันทึกประวัติส่วนบุคคล ให้การสนับสนุนเยาวชนจัดการกับความเครียดความท้าทายอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ โดยการให้คำปรึกษาและคำแนะนำ ตลอดจนมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมการรับฟังเสียงและความเป็นอยู่ที่ดีของเยาวชน


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ทำงานกับเยาวชน


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

-    อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 
-    พ.รบ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
-    พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
-    ประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ์ (มาตรา 305)
-    พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550  
-    พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559
-    พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  
-    พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553  


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
30211

ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อจัดทำแผนผังจุดแข็ง จุดอ่อน และความต้องการด้านพัฒนาการของเยาวชน

1.ระบุเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับจัดทำแผนผังจุดแข็ง จุดอ่อน และความต้องการด้านการพัฒนาของเยาวชน

2.ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อจัดทำแผนผังจุดแข็ง จุดอ่อน และความต้องการด้านการพัฒนาของเยาวชน


30212

ส่งเสริมเยาวชนให้สามารถนำจุดแข็งของตนมาใช้เพื่อวางแนวทางของตนเอง

1.ร่วมกับเยาวชนในการนำจุดแข็งของตนเองมาใช้เสริมสร้างศักยภาพในการฟื้นตัวและบรรลุศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ 

2.สนับสนุนเยาวชนพัฒนาวิธีหาทางออกของตนเองและเอื้ออำนวยให้สามารถดำเนินการได้

30213

ร่วมกับเยาวชนในการพัฒนาแผนรายบุคคล

1.ร่วมกับเยาวชนในการพัฒนาแผนรายบุคคลที่ระบุเป้าหมาย กิจกรรม และกรอบเวลาสำหรับความก้าวหน้า พร้อมด้วยการสนับสนุน ที่เยาวชนต้องการ

30214

บันทึกประวัติส่วนบุคคลของเยาวชน

1.บันทึกประวัติส่วนบุคคลของเยาวชน

2.ปฏิบัติตามขั้นตอนและระเบียบปฏิบัติเพื่อคุ้มครองเมื่อบันทึกประวัติเยาวชนเป็นรายบุคคล

30215

สนับสนุนให้เยาวชนจัดการกับปัญหาอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์

1.สนับสนุนเยาวชนในการจัดการปัญหาผ่านการเสริมพลัง ให้คำปรึกษา และคำแนะนำ

2.ใช้กระบวนการการจัดการรายกรณีเพื่อร่วมกับเยาวชนในการแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์

30216

ติดตามความก้าวหน้าของแผนรายบุคคลร่วมกับเยาวชน

1.กำกับ ทบทวนและติดตามความก้าวหน้าของแผนรายบุคคลของเยาวชน

2.ส่งเสริมและสนับสนุนเยาวชนให้บรรลุความต้องการตามแผนรายบุคคลของตนเอง

30217

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรับฟังเสียงและสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของเยาวชน

1.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาเยาวชน

2.ร่วมกับชุมชนเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยของเยาวชน และการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในกระบวนการตัดสินใจ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างความไว้วางใจ
2.    ทักษะการคิดสร้างสรรค์
3.    ทักษะการประเมินผล
4.    ทักษะการบันทึกประวัติรายบุคคล
5.    ทักษะการเสริมพลังและการให้คำปรึกษา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือสำหรับการพัฒนาแผนรายบุคคลของเยาวชน
2.    ความรู้เกี่ยวกับการจัดการรายกรณี
3.    ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1.    หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงานกับเยาวชน หรือ การทำงานที่เกี่ยวข้อง
2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
3.    ผลงาน/รางวัล จากการปฏิบัติงาน
(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1.    หลักฐานการเรียน เช่น วุฒิการศึกษาแสดงการจบการศึกษาในหลักสูตร/คณะที่เกี่ยวข้องกับการ 
ทำงาน หรือ
2.    หลักฐานการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
(ค)    คำแนะนำในการประเมิน
- N/A - 
(ง)    วิธีการประเมิน
1.    ข้อสอบปรนัย 
2.    ข้อสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

การใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อจัดทำแผนผังจุดแข็ง จุดอ่อน และความต้องการด้านการพัฒนาของเยาวชน โดยเกี่ยวข้องการวิเคราะห์ศักยภาพส่วนบุคคลของเยาวชนด้วยเครื่องมือ SWOT Analysis เพื่อวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ข้อจำกัดและโอกาสต่าง ๆ ที่เยาวชนมี กระบวนการนี้จะทำให้เยาวชนเข้าใจจุดอ่อน และแก้ไขจุดอ่อนได้ทันเวลา สามารถยับยั้งภัยคุกคามหรือป้องกันล่วงหน้าได้ รับรู้ประโยขน์จากจุดแข็ง เพื่อเสริมสร้างโอกาสได้มากขึ้น (Yiaga Africa,2019)
การจัดทำแผนรายบุคคลเพื่อพัฒนาตนเองของเยาวชน หมายถึง กรอบหรือแนวทาง ในการพัฒนาเยาวชนให้มีความรอบรู้ ทักษะ และพฤติกรรมที่เหมาะสม ที่จะช่วยให้เยาวชนสามารถพัฒนาตนเองให้บรรลุตามเป้าหมายตามความต้องการ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเสริมจุดแข็ง (Strength) และพัฒนาจุดอ่อน (weakness) ของเยาวชน ด้วยกระบวนในการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล ซึ่งประกอบด้วย 1) การประเมินจุดแข็ง จุดอ่อนของเยาวชน 2) การเลือกวิธีการพัฒนาที่เหมาะสม 3) การนำไปฏิบัติจริง  และ 4) การติดตามประเมินผล (Satitirat C., 2020 as cited in Chompunut S., 2003)
การแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ คือ การสนับสนุนเยาวชนในการจัดการความท้าทายผ่านการเสริมพลังและการให้คำปรึกษา ด้วยการสร้างสัมพันธภาพแบบสองทางระหว่างผู้ทำงานกับเยาวชน ผู้ทำงานควรมีทักษะในการกระตุ้นให้เยาวชนได้รู้ถึงภาวะจิตใจของตน มีแนวทางแก้ไขปัญหาของตนเองได้ และใช้กระบวนการการจัดการรายกรณีเพื่อร่วมกับเยาวชน และครอบครัวในการจัดการความท้าทายและความต้องการทุกมิติอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ทำงานกับเยาวชน เป็นผู้ทำหน้าที่ผู้จัดการรายกรณี (Case Manager) ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ในการประเมิน วางแผนออกแบบบริการ ประสานเชื่อมโยงแหล่งทรัพยากร การติดตามประเมินผล พิทักษ์สิทธิ์ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้เข้าถึงบริการที่สอดคล้องกับความต้องการ สามารถจัดการความท้าทายหรือคลี่คลายปัญหาที่ซับซ้อนได้ นำไปสู่การพึ่งตนเองและคุณภาพชีวิตที่ดี  (อภิญญา เวชยชัย,2559)
การติดตามความก้าวหน้าของแผนรายบุคคลร่วมกับเยาวชน หมายถึง การติดตาม ประเมินบริการของหน่วยงานที่รับการส่งต่อเยาวชน ติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการให้บริการนั้นว่าส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรกับเยาวชน และกำกับติดตามการดำเนินการตามแผนบริการ แผนพัฒนาเยาวชนรายบุคคล หากพบว่าขั้นตอนใดยังมีปัญหา ประสานทีมสหวิชาชีพเพื่อหาทางออกร่วมกัน (อภิญญา เวชยชัย,2559)
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    ข้อสอบปรนัย
2.    ข้อสอบสัมภาษณ์
 


ยินดีต้อนรับ