หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการให้ปุ๋ย (Fertilizer application planning)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-MAMC-1040A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการให้ปุ๋ย (Fertilizer application planning)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A 1 6111 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

       ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องมีองค์ความรู้ในเรื่องของการให้ปุ๋ยตามผลวิเคราะห์ดินก่อนปลูกเพื่อช่วยในการให้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพแปลงปลูก การให้ปุ๋ยตามหลักการปุ๋ยสั่งตัดซึ่งจะช่วยให้การใส่ปุ๋ยได้ตรงตามความต้องการของข้าวและพื้นที่ปลูกและการให้ปุ๋ยตามความผิดปกติที่พืชแสดงออกซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตและใช้อัตราส่วนปุ๋ยตามคำแนะนำของคู่มีอ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (Rice seed producer)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

       มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 4406-2560 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว (Good Agricultural Practices for Rice Seed)


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A8101

ให้ปุ๋ยตามผลค่าวิเคราะห์ดินก่อนปลูก 

1. วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารของดินในแปลงปลูก 

2. เลือกสูตรและอัตราปุ๋ยที่จะใส่ตามผลค่าวิเคราะห์ดิน

A8102

ให้ปุ๋ยตามหลักการปุ๋ยสั่งตัด 

1. วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารของดินในแปลงปลูกและวิเคราะห์ข้อมูลชุดดินของแปลงปลูก 

2. นำข้อมูลมากำหนดเป็นสูตรและอัตราปุ๋ยที่จะใส่ตามหลักการปุ๋ยสั่งตัด 

A8103

ให้ปุ๋ยตามอาการผิดปกติจากการขาดธาตุอาหารที่ข้าวแสดงออก 

1. สำรวจอาการผิดปกติจากการขาดธาตุอาหารที่ข้าวแสดงออก

2. วิเคราะห์อาการขาดธาตุอาหาร 

3. ให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตามที่ข้าวแสดงอาการขาดธาตุ

A8101

ให้ปุ๋ยตามผลค่าวิเคราะห์ดินก่อนปลูก 

1. วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารของดินในแปลงปลูก 

2. เลือกสูตรและอัตราปุ๋ยที่จะใส่ตามผลค่าวิเคราะห์ดิน

A8102

ให้ปุ๋ยตามหลักการปุ๋ยสั่งตัด 

1. วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารของดินในแปลงปลูกและวิเคราะห์ข้อมูลชุดดินของแปลงปลูก 

2. นำข้อมูลมากำหนดเป็นสูตรและอัตราปุ๋ยที่จะใส่ตามหลักการปุ๋ยสั่งตัด 

A8103

ให้ปุ๋ยตามอาการผิดปกติจากการขาดธาตุอาหารที่ข้าวแสดงออก 

1. สำรวจอาการผิดปกติจากการขาดธาตุอาหารที่ข้าวแสดงออก

2. วิเคราะห์อาการขาดธาตุอาหาร 

3. ให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตามที่ข้าวแสดงอาการขาดธาตุ

A8101

ให้ปุ๋ยตามผลค่าวิเคราะห์ดินก่อนปลูก 

1. วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารของดินในแปลงปลูก 

2. เลือกสูตรและอัตราปุ๋ยที่จะใส่ตามผลค่าวิเคราะห์ดิน

A8102

ให้ปุ๋ยตามหลักการปุ๋ยสั่งตัด 

1. วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารของดินในแปลงปลูกและวิเคราะห์ข้อมูลชุดดินของแปลงปลูก 

2. นำข้อมูลมากำหนดเป็นสูตรและอัตราปุ๋ยที่จะใส่ตามหลักการปุ๋ยสั่งตัด 

A8103

ให้ปุ๋ยตามอาการผิดปกติจากการขาดธาตุอาหารที่ข้าวแสดงออก 

1. สำรวจอาการผิดปกติจากการขาดธาตุอาหารที่ข้าวแสดงออก

2. วิเคราะห์อาการขาดธาตุอาหาร 

3. ให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตามที่ข้าวแสดงอาการขาดธาตุ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ดิน การใช้โปรแกรมปุ๋ยสั่งตัด วิเคราะห์ความผิดปกติของพืชจากการขาดธาตุอาหาร การคำนวณปริมาณปุ๋ย การแบ่งประเภทการให้ปุ๋ย
  • ความรู้และทักษะทางด้านความปลอดภัยระหว่างการปฏิบัติงาน
  • ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
  • ทักษะการอ่าน การบันทึก และการสื่อสาร

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

  • มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีการปฏิบัติงาน
  • มีทักษะในการคิด สื่อสาร สามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่พบประจำ
  • มีทักษะในการวิเคราะห์ธาตุอาหารดินในแปลง
  • มีทักษะในการแปลผลวิเคราะห์ดินในการกำหนดสูตรและอัตราการให้ปุ๋ยที่เหมาะสม
  • มีทักษะในการเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในดิน
  • มีทักษะในการตรวจสอบข้อมูลชุดดิน
  • มีทักษะในการสำรวจอาการผิดปกติที่พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  • มีความรู้ในการอ่าน เขียน พูด ภาษาไทยขั้นพื้นฐานได้
  • มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณสูตรและอัตราการใช้ปุ๋ย
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเคมี
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระยะเวลาในการให้ปุ๋ย
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยธาตุอาหารหลักและรอง
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแบ่งประเภทของปุ๋ย
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลการใช้ปุ๋ยในนาข้าว

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

       ผลจากการสอบสัมภาษณ์

       ผลจากการประเมินแฟ้มสะสมผลงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

       ผลการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

       N/A                               

(ง) วิธีการประเมิน          

       สอบข้อเขียน

       สอบสัมภาษณ์

       แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    กระบวนการปฏิบัติและกระบวนการคิด รวมถึงการวัดผลความสำเร็จจะคำนึงอยู่บนขอบเขตของแปลงเพาะปลูกข้าวจำนวน 1 ไร่    

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

         1) ให้ปุ๋ยตามผลค่าวิเคราะห์ดินก่อนปลูก การให้ปุ๋ยเคมีตามผลค่าวิเคราะห์ดิน คือ การใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำที่ได้จากการนำผลวิเคราะห์ธาตุอาหารหลัก (N, P และ K) ในดินที่เป็นปัจจุบัน มาเทียบกับคู่มือที่นักวิจัยได้จัดทำไว้ เพื่อให้ได้รับปุ๋ยปริมาณที่สอดคล้องกับปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินและความต้องการธาตุอาหารของพืช

         2) ให้ปุ๋ยตามหลักการปุ๋ยสั่งตัด คือ การให้ปุ๋ยตามคำแนะนำที่ได้จากการนำข้อมูลชุดดินมาพิจารณาประกอบร่วมกับผลวิเคราะห์ธาตุอาหารหลัก (N P และ K) ในดินปัจจุบัน และนำมาเทียบกับคู่มือหรือโปรแกรมสำเร็จรูปที่นักวิจัยได้จัดทำไว้ การใช้เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดมี 3 ขั้นตอน 1). วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร   2).ตรวจสอบข้อมูลชุดดิน   3). แปลผลวิเคราะห์ดิน

         3) ให้ปุ๋ยตามความผิดปกติที่พืชแสดงออก ให้ธาตุอาหารพืชตามอาการที่แสดงออกหลังจากการปลูกข้าวไปแล้ว พบว่าเกิดความผิดปกติจากการขาดธาตุอาหารใด จึงทำการแก้ไขโดยให้ธาตุอาหารที่ขาดให้มีความเหมาะสม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

       1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน

       2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์

       3. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน และหลักฐานเพิ่มเติมที่ใช้ในการพิจารณา เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน หรือหลักฐานอื่นๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรมที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำผลรายงานการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้ารับการประเมิน (ถ้ามี)

      4. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 


ยินดีต้อนรับ