หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการศัตรูพืชและพันธุ์ข้าวปน (Pests and off-type plants management)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-XDPQ-1035A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการศัตรูพืชและพันธุ์ข้าวปน (Pests and off-type plants management)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A 1 6111 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

        ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องมีองค์ความรู้ในเรื่องของการจัดการวัชพืช ข้าวพันธุ์ปน ข้าววัชพืชการจัดการแมลงศัตรูข้าว การจัดการโรคข้าวและการจัดการสัตว์ศัตรูข้าวเพื่อควบคุมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ตลอดการเพาะปลูก ทักษะการสังเกตและความสม่ำเสมอการตรวจประเมินแปลง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (Rice seed producer)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

       1. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 4406-2560 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว (Good Agricultural Practices for Rice Seed)

       2.พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A851

จัดการวัชพืช ข้าวพันธุ์ปน ข้าววัชพืช 

1. จัดการล่อวัชพืช พันธุ์ข้าวเรื้อ และพันธุ์ข้าวปนให้งอกแล้วไถกลบ 

2. ใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช ข้าวพันธุ์ปนข้าววัชพืช ที่เหมาะสม 

A852

จัดการแมลงศัตรูข้าว 

1. สำรวจชนิดการเข้าทำลายของแมลงศัตรูข้าว

2. ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวที่เหมาะสม 

A853

จัดการโรคข้าว 

1. วินิจฉัยเชื้อสาเหตุโรคข้าว 

2. ใช้สารป้องกันกำจัดโรคข้าวที่เหมาะสม 

A854

จัดการสัตว์ศัตรูข้าว 

1. สำรวจชนิดการเข้าทำลายของสัตว์ศัตรูข้าว 

2. เลือกวิธีกำจัดสัตว์ศัตรูข้าวที่เหมาะสม 

A851

จัดการวัชพืช ข้าวพันธุ์ปน ข้าววัชพืช 

1. จัดการล่อวัชพืช พันธุ์ข้าวเรื้อ และพันธุ์ข้าวปนให้งอกแล้วไถกลบ 

2. ใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช ข้าวพันธุ์ปนข้าววัชพืช ที่เหมาะสม 

A852

จัดการแมลงศัตรูข้าว 

1. สำรวจชนิดการเข้าทำลายของแมลงศัตรูข้าว

2. ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวที่เหมาะสม 

A853

จัดการโรคข้าว 

1. วินิจฉัยเชื้อสาเหตุโรคข้าว 

2. ใช้สารป้องกันกำจัดโรคข้าวที่เหมาะสม 

A854

จัดการสัตว์ศัตรูข้าว 

1. สำรวจชนิดการเข้าทำลายของสัตว์ศัตรูข้าว 

2. เลือกวิธีกำจัดสัตว์ศัตรูข้าวที่เหมาะสม 

A851

จัดการวัชพืช ข้าวพันธุ์ปน ข้าววัชพืช 

1. จัดการล่อวัชพืช พันธุ์ข้าวเรื้อ และพันธุ์ข้าวปนให้งอกแล้วไถกลบ 

2. ใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช ข้าวพันธุ์ปนข้าววัชพืช ที่เหมาะสม 

A852

จัดการแมลงศัตรูข้าว 

1. สำรวจชนิดการเข้าทำลายของแมลงศัตรูข้าว

2. ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวที่เหมาะสม 

A853

จัดการโรคข้าว 

1. วินิจฉัยเชื้อสาเหตุโรคข้าว 

2. ใช้สารป้องกันกำจัดโรคข้าวที่เหมาะสม 

A854

จัดการสัตว์ศัตรูข้าว 

1. สำรวจชนิดการเข้าทำลายของสัตว์ศัตรูข้าว 

2. เลือกวิธีกำจัดสัตว์ศัตรูข้าวที่เหมาะสม 


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัชพืช โรคข้าว แมลงศัตรูข้าว สัตว์ศัตรู พันธุ์ข้าวปน
  • ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
  • ความรู้และทักษะทางด้านความปลอดภัยระหว่างการปฏิบัติงาน
  • ทักษะการอ่าน การบันทึก และการสื่อสาร

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

  • มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีการปฏิบัติงาน
  • มีทักษะในการคิด สื่อสาร สามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่พบประจำ
  • มีทักษะในการกำจัดวัชพืช ข้าวพันธุ์ปนและข้าววัชพืช
  • มีทักษะในการบันทึกกิจกรรมการกำจัดวัชพืช ข้าวพันธุ์ปน และข้าววัชพืช
  • มีทักษะในการสังเกตการเข้าทำลายของแมลงศัตรูข้าว
  • มีทักษะในการประเมินความเสียหายการเข้าทำลายของแมลงศัตรูข้าว
  • มีทักษะในการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าว
  • มีทักษะในการบันทึกกิจกรรมการกำจัดแมลงศัตรูข้าว
  • มีทักษะในการสังเกตการเข้าทำลายของโรคข้าว
  • มีทักษะในการประเมินความเสียหายจากการเข้าทำลายของโรคข้าว
  • มีทักษะในการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคข้าว
  • มีทักษะในการบันทึกกิจกรรมการกำจัดแมลงศัตรูข้าว
  • มีทักษะในการสังเกตการเข้าทำลายของสัตว์ศัตรู
  • มีทักษะในการประเมินความเสียหายจากการเข้าทำลายของโรคข้าว
  • มีทักษะในการจัดการนกและหนู
  • มีทักษะในการกำจัดหอยเชอร์รี่
  • มีทักษะในการบันทึกกิจกรรมกำจัดสัตว์ศัตรู

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  • มีความรู้ในการอ่าน เขียน พูด ภาษาไทยขั้นพื้นฐานได้
  • มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมวัชพืช
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมโรคข้าว
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมแมลงศัตรูข้าว
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและจัดการการแพร่ระบาดของวัชพืช พันธุ์ข้าวปนและข้าววัชพืช
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพพันธุ์ข้าว
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคข้าว
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมศัตรูพืชด้วยชีววิธี

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

       ผลจากการสอบสัมภาษณ์

       ผลจากการประเมินแฟ้มสะสมผลงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        ผลการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

       N/A                               

(ง) วิธีการประเมิน          

       สอบข้อเขียน

       สอบสัมภาษณ์

       ประเมินแฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    กระบวนการปฏิบัติและกระบวนการคิด รวมถึงการวัดผลความสำเร็จจะคำนึงอยู่บนขอบเขตของแปลงเพาะปลูกข้าวจำนวน 1 ไร่    

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

       1) จัดการวัชพืช ข้าวพันธุ์ปน ข้าววัชพืชสังเกตความแตกต่างของข้าวพันธุ์ปนและข้าววัชพืชที่เจริญอยู่ในแปลงปลูก ทำการเข้าถอดออกตามระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าว

      2) จัดการแมลงศัตรูข้าว สังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นทำการยืนยันชนิดของแมลงศัตรูข้าว แล้วจึงเลือกใช้วิธีป้องกันกำจัดที่มีประสิทธิภาพทั้ง

       3) จัดการโรคข้าว สังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับต้นข้าวสุ่มตัวอย่างเพื่อเข้าสู่กระบวนการวินิฉัยโรค แล้วจึงเลือกใช้วิธีป้องกันกำจัดที่มีประสิทธิภาพทั้งแบบผสมผสานทั้งกายภาพ เคมีและชีวภาพ

      4) จัดการสัตว์ศัตรูข้าว ป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรู (หนู นก หอยเชอร์รี่) โดยเลือกใช้วิธีป้องกันกำจัดผสมผสานทั้งกายภาพ (มือจับ วางกับดัก) และเคมี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

        1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน

       2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์

       3. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน และหลักฐานเพิ่มเติมที่ใช้ในการพิจารณา เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน หรือหลักฐานอื่นๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรมที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำผลรายงานการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้ารับการประเมิน (ถ้ามี)

      4. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ


ยินดีต้อนรับ