หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการผลิตข้าว (Rice production)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-HJTY-1033A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการผลิตข้าว (Rice production)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A 1 6111 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

        ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องมีองค์ความรู้ในเรื่องของการเลือกพันธุ์ข้าวที่ต้องการปลูกโดยผ่านการพิจารณาทางด้านข้อดีข้อเสียของแต่ละสายพันธุ์ สามารถเตรียมเมล็ดพันธุ์และเลือกอุปกรณ์รวมถึงเครื่องจักรให้เหมาะสมกับวิธีการปลูกการตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ที่ประสงค์นำมาใช้งานเพื่อให้การผลิตเมล็ดพันธุ์มีประสิทธิภาพและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและการเลือกชั้นมาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวซึ่งเป็นการกำหนดเป้าหมายและวิธีการปฏิบัติให้สอดคล้องไปกับมาตรฐานชั้นพันธุ์


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (Rice seed producer)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

 1. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 4406-2560 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว (Good Agricultural Practices for Rice Seed)

  2.พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A831

เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรให้เหมาะสมต่อการปลูกข้าวในรูปแบบต่างๆ 

1. เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับนาดำ

2. เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับนาหว่าน

3. เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับนาหยอด 

3. เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับนาโยน 

A832

ผลิตข้าวให้ได้ตามมาตรฐานชั้นพันธุ์ 

1. ผลิตข้าวตามมาตรฐานชั้นพันธุ์หลัก 

2. ผลิตข้าวตามมาตรฐานชั้นพันธุ์ขยาย 

3. ผลิตข้าวตามมาตรฐานชั้นพันธุ์จำหน่าย 

A833

เตรียมข้าวให้เหมาะสมกับรูปแบบการปลูก 

1. เตรียมกล้าข้าวหรือกล้าข้าวแผ่นสำหรับนาดำ

2. เตรียมกล้าที่เพาะในถาดหลุมสำหรับนาโยน 

3. เตรียมเมล็ดข้าวงอกสำหรับนาหว่าน และนาหยอด 

A834

จัดการการปลูกข้าว 

1. เตรียมจำนวนกล้าสำหรับนาดำและนาโยน 

2. เตรียมปริมาณเมล็ดข้าวสำหรับนาหว่าน และนาหยอด 

3. กำหนดระยะปลูกสำหรับการปลูกแบบปักดำและการหยอดเมล็ดข้าว 

A831

เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรให้เหมาะสมต่อการปลูกข้าวในรูปแบบต่างๆ 

1. เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับนาดำ

2. เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับนาหว่าน

3. เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับนาหยอด 

3. เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับนาโยน 

A832

ผลิตข้าวให้ได้ตามมาตรฐานชั้นพันธุ์ 

1. ผลิตข้าวตามมาตรฐานชั้นพันธุ์หลัก 

2. ผลิตข้าวตามมาตรฐานชั้นพันธุ์ขยาย 

3. ผลิตข้าวตามมาตรฐานชั้นพันธุ์จำหน่าย 

A833

เตรียมข้าวให้เหมาะสมกับรูปแบบการปลูก 

1. เตรียมกล้าข้าวหรือกล้าข้าวแผ่นสำหรับนาดำ

2. เตรียมกล้าที่เพาะในถาดหลุมสำหรับนาโยน 

3. เตรียมเมล็ดข้าวงอกสำหรับนาหว่าน และนาหยอด 

A834

จัดการการปลูกข้าว 

1. เตรียมจำนวนกล้าสำหรับนาดำและนาโยน 

2. เตรียมปริมาณเมล็ดข้าวสำหรับนาหว่าน และนาหยอด 

3. กำหนดระยะปลูกสำหรับการปลูกแบบปักดำและการหยอดเมล็ดข้าว 

A831

เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรให้เหมาะสมต่อการปลูกข้าวในรูปแบบต่างๆ 

1. เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับนาดำ

2. เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับนาหว่าน

3. เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับนาหยอด 

3. เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับนาโยน 

A832

ผลิตข้าวให้ได้ตามมาตรฐานชั้นพันธุ์ 

1. ผลิตข้าวตามมาตรฐานชั้นพันธุ์หลัก 

2. ผลิตข้าวตามมาตรฐานชั้นพันธุ์ขยาย 

3. ผลิตข้าวตามมาตรฐานชั้นพันธุ์จำหน่าย 

A833

เตรียมข้าวให้เหมาะสมกับรูปแบบการปลูก 

1. เตรียมกล้าข้าวหรือกล้าข้าวแผ่นสำหรับนาดำ

2. เตรียมกล้าที่เพาะในถาดหลุมสำหรับนาโยน 

3. เตรียมเมล็ดข้าวงอกสำหรับนาหว่าน และนาหยอด 

A834

จัดการการปลูกข้าว 

1. เตรียมจำนวนกล้าสำหรับนาดำและนาโยน 

2. เตรียมปริมาณเมล็ดข้าวสำหรับนาหว่าน และนาหยอด 

3. กำหนดระยะปลูกสำหรับการปลูกแบบปักดำและการหยอดเมล็ดข้าว 


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ การเลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรที่เหมาะสมกับวิธีการปลูก การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ การเตรียมเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกที่สอดคล้องกับรูปแบบการปลูก การบริหารจัดการเมล็ดพันธุ์ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์
  • ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
  • ความรู้และทักษะทางด้านความปลอดภัยระหว่างการปฏิบัติงาน
  • ทักษะการอ่าน การบันทึก และการสื่อสาร

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

  • มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีการปฏิบัติงาน
  • มีทักษะในการคิด สื่อสาร สามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่พบประจำ
  • มีทักษะในการเลือกพันธุ์ข้าว
  • มีทักษะในการตรวจสอบความบริสุทธิ์พันธุ์
  • มีทักษะในการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์
  • มีทักษะในการตรวจสอบโรคเมล็ดพันธุ์
  • มีทักษะในการผลิตข้าวตามมาตรฐานชั้นพันธุ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  • มีความรู้ในการอ่าน เขียน พูด ภาษาไทยขั้นพื้นฐานได้
  • มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขการปลูกของพื้นที่
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค แมลง และสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเร่งเติบโตของเมล็ดพันธุ์
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

      ผลจากการสอบสัมภาษณ์

      ผลจากการประเมินแฟ้มสะสมผลงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A                               

(ง) วิธีการประเมิน          

      สอบข้อเขียน

      สอบสัมภาษณ์

      แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

      กระบวนการคิดและปฏิบัติ รวมถึงการวัดผลความสำเร็จจะขึ้นอยู่บนขอบเขตของแปลงเพาะปลูกข้าวจำนวน 1ไร่

       (ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1) เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรให้เหมาะสมต่อการปลูกข้าวในรูปแบบต่างๆซึ่งอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับการทำนาในปัจจุบันได้มีการออกแบบมาให้เหมาะสมต่อรูปแบบของการทำนา ที่เกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์แต่ละคนสามารถตัดสินใจเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม

             2) ผลิตข้าวได้ตามมาตรฐานชั้นพันธุ์ ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ควรทราบถึงมาตรฐานชั้นพันธุ์เพื่อการควบคุมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ในแปลงปลูกให้ได้ตามเกณมาตรฐานชั้นพันธุ์

         3) เตรียมข้าวให้เหมาะสมกับรูปแบบการปลูก ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ควรทราบถึงการเตรียมเมล็ดพันธุ์ที่สอดคล้องไปกับรูปแบบการปลูก ได้แก่ นาดำ นาโยน นาหว่าน และนาหยอด ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาถึงขั้นตอนการเตรียมเมล็ดให้งอกหรือเตรียมกล้าให้พร้อมสำหรับแต่ละรูปแบบการทำนา

         4) จัดการการปลูกข้าว ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ควรทราบถึงการจัดการการปลูกข้าวในแต่ละรูปแบบ เพื่อให้สามารถกำหนดในเรื่องของจำนวนกล้าข้าวหรือเมล็ดที่จะต้องใช้ในแต่ละรูปแบบการปลูก

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

       1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน

       2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์

       3. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน และหลักฐานเพิ่มเติมที่ใช้ในการพิจารณา เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน หรือหลักฐานอื่นๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรมที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำผลรายงานการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้ารับการประเมิน (ถ้ามี)

      4. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ


ยินดีต้อนรับ