หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมพื้นที่ (Land preparation)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AWCJ-1032A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมพื้นที่ (Land preparation)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A 1 6111 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

        ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการเตรียมแปลงปลูกโดยมีการประเมินพื้นที่แปลงปลูกตั้งแต่การปรับพื้นที่ให้มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกข้าว การไถเตรียมดินที่ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และรูปแบบการทำนาที่ตัดสินใจเลือก การปรับแต่งคันนาให้มีความแข็งแรงสามารถเก็บน้ำได้ดีและสามารถรองรับการเข้าปฏิบัติงานของเครื่องจักรกลได้ดี


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

       ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (Rice seed producer)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

       มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 4406-2560 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว (Good Agricultural Practices for Rice Seed)


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A821

เตรียมแปลงปลูก 

1. เลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกข้าวและไม่มีการปนเปื้อนของวัตถุอันตราย 

2. พิจารณาทางคมนาคมที่สามารถเข้าออกและทำงานได้สะดวก 

3. พิจารณาทางน้ำเข้าออกแปลงได้สะดวก 

A822

ไถเตรียมดิน 

1. ไถเตรียมดินพื้นที่นาสภาพดินแห้ง 

2. ไถเตรียมดินพื้นที่นาสภาพดินเปียก 

A823

ปรับแต่งคันนา 

1. ปรับความกว้างและความสูงคันนาให้เหมาะสม

2. สร้างคันนาด้วยเครื่องจักรที่เหมาะสม 

3. ปรับแต่งคันนาให้มีความแข็งแรงสามารถเก็บกักน้ำได้ดี

A821

เตรียมแปลงปลูก 

1. เลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกข้าวและไม่มีการปนเปื้อนของวัตถุอันตราย 

2. พิจารณาทางคมนาคมที่สามารถเข้าออกและทำงานได้สะดวก 

3. พิจารณาทางน้ำเข้าออกแปลงได้สะดวก 

A822

ไถเตรียมดิน 

1. ไถเตรียมดินพื้นที่นาสภาพดินแห้ง 

2. ไถเตรียมดินพื้นที่นาสภาพดินเปียก 

A823

ปรับแต่งคันนา 

1. ปรับความกว้างและความสูงคันนาให้เหมาะสม

2. สร้างคันนาด้วยเครื่องจักรที่เหมาะสม 

3. ปรับแต่งคันนาให้มีความแข็งแรงสามารถเก็บกักน้ำได้ดี

A821

เตรียมแปลงปลูก 

1. เลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกข้าวและไม่มีการปนเปื้อนของวัตถุอันตราย 

2. พิจารณาทางคมนาคมที่สามารถเข้าออกและทำงานได้สะดวก 

3. พิจารณาทางน้ำเข้าออกแปลงได้สะดวก 

A822

ไถเตรียมดิน 

1. ไถเตรียมดินพื้นที่นาสภาพดินแห้ง 

2. ไถเตรียมดินพื้นที่นาสภาพดินเปียก 

A823

ปรับแต่งคันนา 

1. ปรับความกว้างและความสูงคันนาให้เหมาะสม

2. สร้างคันนาด้วยเครื่องจักรที่เหมาะสม 

3. ปรับแต่งคันนาให้มีความแข็งแรงสามารถเก็บกักน้ำได้ดี


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเตรียมดิน การตรวจสอบความเหมาะสมของพื้นที่ การปรับสภาพแวดล้อมของพื้นที่แปลงเพาะปลูก การไถพลิกดิน
  • ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
  • ความรู้และทักษะทางด้านความปลอดภัยระหว่างการปฏิบัติงาน
  • ทักษะการอ่าน การบันทึก และการสื่อสาร

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

  • มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีการปฏิบัติงาน
  • มีทักษะในการคิด สื่อสาร สามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่พบประจำ
  • มีทักษะในการเลือกพื้นที่ปลูก
  • มีทักษะในการนำน้ำเข้าออกแปลงเพาะปลูก
  • มีทักษะในการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเพาะปลูก
  • มีทักษะในการดำเนินการไถเตรียมดินสำหรับปลูกข้าว
  • มีทักษะในการสร้างคันนา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  • มีความรู้ในการอ่าน เขียน พูด ภาษาไทยขั้นพื้นฐานได้
  • มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขการปลูกของพื้นที่
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของดิน
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องจักรกลหรือเครื่องจักรเกี่ยวในการไถเตรียมดิน
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบระบายน้ำ
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพดิน

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

     ผลจากการสอบสัมภาษณ์

     ผลจากการประเมินแฟ้มสะสมผลงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     ผลการสอบจากแบบข้อสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     N/A                               

(ง) วิธีการประเมิน          

     สอบข้อเขียน

     สอบสัมภาษณ์

     แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    กระบวนการปฏิบัติและกระบวนการคิด รวมถึงการวัดผลความสำเร็จจะคำนึงอยู่บนขอบเขตของแปลงเพาะปลูกข้าวจำนวน 1 ไร่

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

             1) เตรียมแปลงปลูกตามมาตรฐานของ GAP แปลงปลูกจะต้องไม่อยู่ในแหล่งที่อาจจะมีการปนเปื้อนของวัตถุอันตราย มีการคำนึงถึงเส้นทางคมนาคมเข้าออกได้สะดวกและเส้นทางการนำน้ำเข้าออกแปลงทั้งจากระบบชลประทานและแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

2) ไถเตรียมดิน การเตรียมดินที่แตกต่างกันของการเพาะปลูกข้าวทั้ง 4 รูปแบบได้แก่ 1.นาดำ2.นาหว่านน้ำตม 3.นาโยน 4.นาหยอด เพื่อให้การตัดสินใจเพาะปลูกในแต่ละรอบมีการคำนึงถึงทรัพยากรที่จำเป็นอย่างน้ำ หรือแม้แต่สถานการณ์การระบาดของโรคแมลงและวัชพืชเข้ามาช่วยในการตัดสินใจของการเลือกรูปแบบเพาะปลูก อันนำไปสู่การมีองค์ความรู้ในเรื่องของการเตรียมดินทั้ง 4 รูปแบบของการเพาะปลูก ซึ่งการเตรียมแปลงจะมีการไถดินดังต่อไปนี้

- การไถดะ เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่ การไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศ และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะในบางพื้นที่จะไถหลังฝนตกเมื่อดินเกิดความชุ่มชื้น บางพื้นที่ใช้การวิดน้ำเข้านาแทน หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ เพื่อกระตุ้นให้วัชพืชที่ติดค้างอยู่ในดินนาเกิดการงอก แล้วจึงไถทำลายในกระบวนการถัดไป

- การไถแปร (ใช้ขลุบหมุน) เป็นการไถครั้งที่สอง ทำหลังจากทำการไถดะ และตากดินไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ แล้วจึงทำการไถแปร โดยการไถในครั้งนี้จะช่วยพลิกเอาดินที่กลบไว้ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จำนวนครั้งในการไถแปรขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดิน และระดับน้ำ

- การไถคราดเป็นการกำจัดวัชพืช และเป็นการลูบเทือกให้พร้อมสำหรับการปลูกข้าว

3) ปรับแต่งคันนาการสร้างคันนาที่เหมาะสมต่อการกักขังน้ำไว้ในแปลงเพาะปลูกและมีความกว้างเหมาะสมให้เครื่องจักรกลเข้าทำงานได้สะดวก


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน

2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์

3. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน และหลักฐานเพิ่มเติมที่ใช้ในการพิจารณา เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน หรือหลักฐานอื่นๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรมที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำผลรายงานการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้ารับการประเมิน (ถ้ามี)

          4. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ


ยินดีต้อนรับ