หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเก็บเมล็ดพันธุ์ (Rice seed storage)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-XSZR-1023A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเก็บเมล็ดพันธุ์ (Rice seed storage)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A 1 6111 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกพืชไร่และพืชผัก

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

       ผู้ที่เข้ารับการประเมินจะต้องมีองค์ความรู้ในเรื่องของเตรียมโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ให้มีพื้นที่เพียงพอต่อการรวบรวมเมล็ดพันธุ์จากเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่ทำลายการงอกของเมล็ดพันธุ์ การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ และป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อลดความสูญเสียเมล็ดพันธุ์จากการเข้าทำลายของแมลงศัตรูและสัตว์ศัตรู


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ผู้รวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าว (Rice seed producer)


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

N/A


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

       1. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 4406-2560 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว (Good Agricultural Practices for Rice Seed)

       2.พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
A941

เตรียมโรงเรือนเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ 

1. จัดเตรียมโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม 

2. ทำความสะอาดโรงเก็บ 

3. ป้องกันความชื้นภายนอกโรงเก็บและควบคุม ความชื้นภายในโรงเก็บให้เหมาะสม 

A942

เลือกวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ 

1. ตรวจสอบความงอกเมล็ดพันธุ์

2. ตรวจสอบความชื้นเมล็ดพันธุ์ 

A943

ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์

1. สำรวจการระบาดของแมลงศัตรูในโรงเก็บ 

2. จัดการแมลงศัตรูในโรงเก็บด้วยวิธีการที่เหมาะสม 

A944

ป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ 

1. สำรวจการเข้าทำลายของสัตว์ศัตรูในโรงเก็บ

2. จัดการสัตว์ศัตรูในโรงเก็บด้วยวิธีการที่เหมาะสม 

A941

เตรียมโรงเรือนเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ 

1. จัดเตรียมโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม 

2. ทำความสะอาดโรงเก็บ 

3. ป้องกันความชื้นภายนอกโรงเก็บและควบคุม ความชื้นภายในโรงเก็บให้เหมาะสม 

A942

เลือกวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ 

1. ตรวจสอบความงอกเมล็ดพันธุ์

2. ตรวจสอบความชื้นเมล็ดพันธุ์ 

A943

ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์

1. สำรวจการระบาดของแมลงศัตรูในโรงเก็บ 

2. จัดการแมลงศัตรูในโรงเก็บด้วยวิธีการที่เหมาะสม 

A944

ป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ 

1. สำรวจการเข้าทำลายของสัตว์ศัตรูในโรงเก็บ

2. จัดการสัตว์ศัตรูในโรงเก็บด้วยวิธีการที่เหมาะสม 

A941

เตรียมโรงเรือนเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ 

1. จัดเตรียมโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม 

2. ทำความสะอาดโรงเก็บ 

3. ป้องกันความชื้นภายนอกโรงเก็บและควบคุม ความชื้นภายในโรงเก็บให้เหมาะสม 

A942

เลือกวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ 

1. ตรวจสอบความงอกเมล็ดพันธุ์

2. ตรวจสอบความชื้นเมล็ดพันธุ์ 

A943

ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์

1. สำรวจการระบาดของแมลงศัตรูในโรงเก็บ 

2. จัดการแมลงศัตรูในโรงเก็บด้วยวิธีการที่เหมาะสม 

A944

ป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ 

1. สำรวจการเข้าทำลายของสัตว์ศัตรูในโรงเก็บ

2. จัดการสัตว์ศัตรูในโรงเก็บด้วยวิธีการที่เหมาะสม 


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์วิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ การป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์
  • ความรู้และทักษะทางด้านความปลอดภัยระหว่างการปฏิบัติงาน
  • ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
  • ทักษะการอ่าน การบันทึก และการสื่อสาร

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

  • มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีการปฏิบัติงาน
  • มีทักษะในการคิด สื่อสาร สามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่พบประจำ
  • มีทักษะในการเตรียมโรงเก็บพื้นที่ปิดมิดชิด
  • มีทักษะในการจัดทำระบบระบายอากาศ
  • มีทักษะในการบรรจุเมล็ดพันธุ์
  • มีทักษะในการกองเมล็ดพันธุ์
  • มีทักษะในการติดป้ายกำกับข้อมูลเมล็ดพันธุ์
  • มีทักษะในการสำรวจการระบาดของแมลงศัตรูในโรงเก็บ
  • มีทักษะในการประเมินระดับความเสียหายจากการระบาดของแมลงศัตรูในโรงเก็บ
  • มีทักษะในการรมสารกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บ
  • มีทักษะในการสำรวจการเข้าทำลายของสัตว์ศัตรู
  • มีทักษะในการตรวจสอบการชำรุดของโรงเก็บและทำการซ่อมแซม
  • มีทักษะในการป้องกันกำจัดสัตว์ในโรงเก็บ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  • มีความรู้ในการอ่าน เขียน พูด ภาษาไทยขั้นพื้นฐานได้
  • มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าว
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ข้าว
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ข้าว
  • มีความรู้ความเข้าใจในการจำแนกแมลงศัตรูและสัตว์ศัตรูในโรงเก็บ

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

       ผลจากการสอบสัมภาษณ์

       ผลจากการประเมินแฟ้มสะสมผลงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

       ผลการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

       N/A                               

(ง) วิธีการประเมิน          

       สอบข้อเขียน

       สอบสัมภาษณ์

       แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

          วัดผลความสำเร็จคำนึงอยู่บนขอบเขตของกำไรขาดทุนจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ การคงรักษาสภาพของเมล็ดพันธุ์ที่ทำการรวบรวมมาจากเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ และคงรักษามาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

                1) เตรียมโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ที่มิดชิดปราศจากสัตว์ศัตรูนำเมล็ดพันธุ์ที่ทำการลดความชื้นเรียบร้อยเข้ามาเก็บไว้ในโรงเก็บที่มิดชิดเพื่อป้องกันการเข้ามาของสัตว์ศัตรูและมีระบบระบายอากาศ

            2) เลือกวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

            3) ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ซึ่งจะต้องหมั่นสำรวจการระบาดของแมลงศัตรู สำรวจช่องทางหรือรอยรั่วของโรงเก็บที่แมลงศัตรูเข้ามาแล้วทำการซ่อมแซมหรือป้องกัน เลือกวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเข้ากำจัดแมลงศัตรูโรงเก็บ กรณีมีการระบาดมากอาจจำเป็นจะต้องทำความสะอาดและพักการใช้โรงเก็บชั่วคราว แล้วทำการจัดการแมลงศัตรูให้เรียบร้อยจึงเปิดใช้งานอีกครั้ง

            4) ป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ หมั่นสำรวจร่องรอยการเข้าทำลายของสํตว์ศัตรูและช่องทางหรือรอยรั่วของโรงเก็บ เพื่อป้องกันการเข้ามาของสัตว์ศัตรู


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

       1. ประเมินจากการสอบข้อเขียน

       2. ประเมินความสามารถในการทำงานจากการสัมภาษณ์

       3. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน และหลักฐานเพิ่มเติมที่ใช้ในการพิจารณา เช่น ใบรับรองผลการศึกษา ใบคุณวุฒิ ใบประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน หรือหลักฐานอื่นๆ ที่ตรงตามสมรรถนะที่สอบ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรมที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือหลักฐานจากการเป็นวิทยากร การจัดทำผลรายงานการทำงาน การจัดทำคู่มือ การเขียนบทความนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้ารับการประเมิน (ถ้ามี)

      4. รายละเอียดเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ


ยินดีต้อนรับ