หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการตลาดผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-MWSY-999A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการตลาดผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน

1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการตลาดผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการตลาดผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อตามหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับลานเทตามมาตรฐาน มกษ 9037-2555 การจัดซื้อผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ (ลานเท) และการขายผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ (ลานเท) สู่โรงงานสกัด และมีทักษะได้แก่ สามารถระบุเกณฑ์กำหนดและวิธีการตรวจประเมินที่เหมาะสมในการจัดการตลาดผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ (ลานเท) ตามมาตรฐาน มกษ 9037-2555 สังเกตขั้นตอนการรับซื้อและข้อควรระวังในการรับซื้อปาล์มน้ำมันของแหล่งรับซื้อ (ลานเท) รวมทั้งสามารถตรวจสอบขั้นตอนการขายปาล์มน้ำมันของแหล่งรับซื้อ (ลานเท) ได้อย่างถูกต้อง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติที่ดีสำหรับลานเททะลายปาล์มน้ำมัน มาตรฐานเลขที่ มกษ. 9037-2555


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
C171

จัดการตลาดผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อตามหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับลานเทตามมาตรฐาน มกษ 9037-2555


1) อธิบายเกณฑ์กำหนดในการจัดการตลาดผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ (ลานเท) ตามมาตรฐาน มกษ 9037-2555 ได้


2) อธิบายรายละเอียดคำแนะนำการปฏิบัติที่ดีสำหรับแหล่งรับซื้อปาล์มน้ำมัน (ลานเท) ได้


3) อธิบายวิธีการตรวจประเมินการจัดการตลาดผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ (ลานเท) ตามมาตรฐาน มกษ 9037-2555 ได้


4) ระบุเกณฑ์กำหนดและวิธีการตรวจประเมินที่เหมาะสมในการจัดการตลาดผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ (ลานเท) ตามมาตรฐาน มกษ 9037-2555 ได้อย่างถูกต้อง


C172

จัดซื้อผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ (ลานเท)

1) อธิบายรูปแบบการรับซื้อปาล์มน้ำมันของแหล่งรับซื้อ (ลานเท) ได้


2) อธิบายขั้นตอนการรับซื้อปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ (ลานเท) ได้


3) สังเกตข้อควรระวังในการรับซื้อปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ (ลานเท) ตามขั้นตอนการรับซื้อได้อย่างถูกต้อง


4) สังเกตขั้นตอนการรับซื้อและข้อควรระวังในการรับซื้อปาล์มน้ำมันของแหล่งรับซื้อ (ลานเท) ได้อย่างถูกต้อง


C173

ขายผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ (ลานเท) สู่โรงงานสกัด


1) อธิบายลักษณะของการขายผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อได้


2) อธิบายการเตรียมและรวบรวมผลผลิตปาล์มน้ำมันของแหล่งรับซื้อได้


3) อธิบายขั้นตอนการขนส่งปาล์มน้ำมันจากแหล่งรับซื้อสู่โรงงานสกัดได้


4) อธิบายปัญหาและอุปสรรคในการขายปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อได้


5) สังเกตและตรวจสอบขั้นตอนการขายปาล์มน้ำมันของแหล่งรับซื้อ (ลานเท) ได้อย่างทุกต้อง



12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการขายผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ (ลานเท)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และประเมินการจัดการตลาดผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ
    2) มีทักษะในการสังเกต ระบุ เปรียบเทียบและดำเนินการจัดการตลาดผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ
    3) มีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายการจัดการตลาดผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อได้อย่างถูกต้อง
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1) มีความรู้ในการจัดการตลาดผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อตามหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับลานเทตามมาตรฐาน มกษ 9037-2555
    2) มีความรู้ในการจัดซื้อผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ (ลานเท)
    3) มีความรู้ในการขายผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ (ลานเท) สู่โรงงานสกัด
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้
    2) หลักฐาน/เอกสารการผ่านการอบรม
    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
    1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา
    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ
    3) ผลการสอบข้อเขียน
    4) หลักฐานวุฒิการศึกษา
    5) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ
    (ค) คำแนะนำในการประเมิน
    1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน
    2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพและระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน 
    3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด
(ง) วิธีการประเมิน
    1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง
    2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของและผู้ประกอบการจัดการตลาดผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
    (ก) คำแนะนำ
     N/A
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
    1) การจัดการตลาดผลผลิตปาล์มน้ำมันในแหล่งรับซื้อ เกี่ยวข้องกับ 4 ฝ่ายหลักคือ 1) เกษตรกรผู้ผลิตปาล์มสด ซึ่งจะนำผลปาล์มสดขายให้แก่ลานเท หรือโรงงานสกัดโดยตรง 2) ลานเท ผู้รับซื้อผลปาล์มสดจากเกษตรกรและรวบรวมเพื่อส่งต่อให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม 3) โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ รับซื้อผลปาล์มสดจากเกษตรกรหรือลานเท เพื่อสกัดน้ำมันปาล์มดิบจากทะลายปาล์มสด และจำหน่ายน้ำมันต่อไปยังโรงกลั่นหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และ 4) โรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ และอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นวัตถุดิบ
    2) วิถีการตลาดปาล์มน้ำมัน มีความซับซ้อนน้อย หลังจากเก็บเกี่ยวผลปาล์มสดแล้ว เกษตรกรต้องนำส่งโรงงานสกัดเพื่อแปรรูปเป็นน้ำมัน โดยการขายผลผลิตมีทางเลือก 2 ช่องทาง คือ 1) การขายผ่านลานเท ซึ่งเป็นช่องทางหลักที่เกษตรกรนิยมขาย เนื้องจากมีความสะดวกในการขนส่ง โดยเฉพาะเกษตรกรรายเล็กที่ไม่มีรถของตนเอง และ 2) ขายตรงให้โรงงานสกัด เนื้องจากโรงสกัดมักรับซื้อในราคาที่สูงกว่าลานเท ประมาณ 5–10 สตางค์ต่อกิโลกรัม และปัญหาความไม่มั่นใจในความเที่ยงตรงของตาชั่งลานเทที่เกษตรกรไม่สามารถตรวจสอบเองได้ ทำให้เกษตรกรรายใหญ่นิยมขายตรงให้โรงสกัด
    3) กิจกรรมหลักทางการตลาดสำหรับเกษตรกร คือ การขนส่ง โดยเกษตรกรร้อยละ 64 นิยมจ้างขนส่ง และเกษตรกรที่จ้างขนส่งมักจะจ้างเก็บเกี่ยวควบคู่ไปพร้อมกัน เนื้องจากความสะดวกที่ได้รับ การให้ความรู้ด้านการเก็บเกี่ยวผลปาล์มที่ถูกต้อง จึงควรมุ่งเป้าไปยังกลุ่มผู้ประกอบการที่รับจ้างเก็บเกี่ยวนอกเหนือจากการให้ความรู้แก่เจ้าของสวนปาล์ม
    4) ราคาซื้อขายปาล์มสด จะถูกกำหนดโดยลานเทและโรงสกัด ซึ่งราคาในแต่ละวันจะไม่แน่นอน การอ้างอิงราคามาจากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ราคาของคู่แข่ง ราคาน้ำมันปาล์มดิบที่โรงกลั่นรับซื้อ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น ความสุกของผลปาล์ม ขนาดทะลาย ความสด พันธุ์ปาล์ม เป็นต้น ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า เกณฑ์การรับซื้อตามคุณภาพหรือจัดชั้นคุณภาพปาล์ม ยังไม่มีการนำมาใช้อย่างเป็นทางการ เป็นการตรวจสอบด้วยสายตาของผู้ซื้อเท่านั้น และการให้ราคาที่เพิ่มขึ้นเป็นดุลยพินิจของผู้ลานเทและโรงสกัดผู้ซื้อ
    5) เกษตรกรนิยมขายปาล์มผ่านลานเทขาประจำ เนื้องจากความคุ้นเคย และได้ราคา ตลอดจนการอำนวยความสะดวกที่ดีจากลานเท กลยุทธ์ที่ลานเทใช้สร้างความสัมพันธ์ ได้แก่ การให้คำแนะนำในการปลูก ใส่ปุ๋ย ฉีดยา ดูแลสวนปาล์ม สินเชื่อเงินสด สินเชื่อปุ๋ย บริการเก็บเกี่ยวและขนส่งในราคาถูก อย่างไรก็ตาม ปริมาณลานเทที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการแข่งขันรับซื้อผลปาล์มสดและตัดราคากันอย่างรุนแรง ประกอบกับต้นทุนการตลาดของลานเทในภาพรวมมีค่าไม่แตกต่างกัน คือเฉลี่ยประมาณ 0.25 บาทต่อกิโลกรัม โดยต้นทุนค่าเสื่อมราคามีสัดส่วนที่สูงที่สุด รองลงไปคือ เงินเดือนและค่าแรงงาน และค่าขนส่ง โดยเป็นกำไรที่ลานเทได้รับเฉลี่ยกิโลกรัมละ 0.22 บาท (ขายในรูปปาล์มทะลาย) ลานเทบางแห่งเกิดแรงจูงใจที่จะแสวงหากำไรเพิ่มจากการขายผลปาล์มในรูปผลร่วง โดยการพรมน้ำและบ่มปาล์มให้มีน้ำหนักมากขึ้น ซึ่งผลปาล์มร่วงสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงกว่าปาล์มทะลาย 1–1.50 บาทต่อกิโลกรัม อันส่งผลให้คุณภาพปาล์มของลานเทมีคุณภาพด้อยลง และเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่โรงสกัดได้รับลดลง การควบคุมปริมาณลานเทให้มีจำนวนที่เหมาะสมภายใต้ระบบการแข่งขัน จึงเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ผลผลิตปาล์มสดในระบบมีคุณภาพที่ดีขึ้น
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
    2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์
    3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน
    4) รายละเอียดเครื่องมือประเมินและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ
 


ยินดีต้อนรับ