หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมัน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-OHAH-996A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมัน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน

1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการรักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมัน โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการลดลงของคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมัน และเก็บรักษาผลผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และมีทักษะได้แก่ เตรียมและดำเนินการป้องกันการลดลงของคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันได้ และสามารถดำเนินการเก็บรักษาผลผลิตปาล์มน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
C141

ป้องกันการลดลงของคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมัน


1) อธิบายปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้คุณภาพปาล์มน้ำมันลดลงได้


2) อธิบายเหตุของปัจจัยที่ทำให้คุณภาพผลผลิตลดลงได้


3) ระบุปัจจัยที่ทำให้คุณภาพผลผลิตลดลงได้


4) ดำเนินการป้องกันการลดลงของคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันได้


C142

เก็บรักษาผลผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ


1) อธิบายการเก็บรักษาผลผลิตปาล์มน้ำมันได้


2) เตรียมพื้นที่หรือพาหนะในการเก็บรักษาผลผลิตปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


3) ดำเนินการเก็บรักษาผลผลิตปาล์มน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ



12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมัน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และประเมินรักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมัน
    2) มีทักษะในการสังเกต เตรียม และดำเนินการปฏิบัติรักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมัน
    3) มีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายการประเมินรักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1) มีความรู้ในการป้องกันการลดลงของคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมัน
    2) มีความรู้ในการเก็บรักษาผลผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้
    2) หลักฐาน/เอกสารการผ่านการอบรม
    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
    1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา
    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ
    3) ผลการสอบข้อเขียน
    4) หลักฐานวุฒิการศึกษา
    5) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ
    (ค) คำแนะนำในการประเมิน
    1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน
    2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพและระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน 
    3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด 
    (ง) วิธีการประเมิน
    1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง
    2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของและผู้ประกอบการรักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมัน ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
    (ก) คำแนะนำ
     N/A
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
     1) การรักษาคุณภาพผลผลิตปาล์มน้ำมัน หมายถึง การรักษาคุณภาพของทะลายปาล์มที่รับมาจากเกษตรกรให้คงคุณภาพเหมือนเดิมจนกระทั่งส่งให้กับโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม โดยต้องป้องกันปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อคุณภาพทะลายปาล์มน้ำมัน
     2) ปัจจัยที่มีผลต่อการลดลงของคุณภาพทะลาย หมายถึง สิ่งที่มากระทบกับทะลายปาล์มน้ำมันแล้วส่งผลให้คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันลดลง เช่น การกัดแทะของศัตรูพืช สิ่งเจือปนที่อยู่ในทะลาย (ทราย หิน กาบใบปาล์ม ทะลายเปล่า)
     3) การเก็บรักษาผลผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพควรปฏิบัติ ดังนี้
    (1) ผลปาล์มน้ำมันที่ตัดแล้ว ควรจะดำเนินการจัดส่งให้ถึงโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง
    (2) ทะลายปาล์มสุกที่จัดว่าได้มาตรฐาน คือ ผลปาล์มชั้นนอกสุดของทะลายหลุดร่วงจากทะลาย
    (3) ผลปาล์มหากมีจำนวนเต็มทะลาย แสดงเห็นได้ชัดว่าได้รับการดูแลรักษาอย่างดี
    (4) ไม่ควรให้มีทะลายปาล์มน้ำมันที่มีอาการชอกช้ำและเสียหายอย่างรุนแรง
    (5) ไม่ควรให้มีทะลายปาล์มน้ำมันที่เป็นโรคใดๆ หรือเน่าเสีย
    (6) ไม่ควรให้มีทะลายที่สัตว์กินหรือทำความเสียหายแก่ผลปาล์ม
    (7) ไม่ควรให้มีสิ่งสกปรกเจือปน เช่น ดิน หิน ทราย ไม้กาบหุ้มทะลาย เป็นต้น
    (8) ไม่ควรให้มีทะลายปาล์มน้ำมันเปล่าๆ เจือปนด้วย
    (9) ความยาวของก้านทะลายควรไว้ ควรให้มีความยาวประมาณ 2 นิ้ว
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์
3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน
4) รายละเอียดเครื่องมือประเมินและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ
 


ยินดีต้อนรับ