หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-RLNT-994A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน

1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน และจำแนกการแบ่งชั้นคุณภาพทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) และมีทักษะได้แก่ ดำเนินการวิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันตามขั้นตอนการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง และสามารถจำแนกชั้นคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) ได้อย่างถูกต้อง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

- พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : ทะลายปาล์มน้ำมัน มาตรฐานเลขที่ มกษ. 5702-2552


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
C121

วิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน


1) อธิบายพัฒนาการของทะลายปาล์มน้ำมันได้


2) อธิบายองค์ประกอบของทะลายปาล์มน้ำมันได้


3) อธิบายคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันและเปอร์เซ็นต์ปาล์มน้ำมันได้


4) อธิบายวิธีการวิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันได้


5) ระบุลักษณะขององค์ประกอบของทะลายปาล์มน้ำมันที่มีความสุกแตกต่างกันได้อย่างถูกต้อง


6) ดำเนินการวิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันตามขั้นตอนการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง


C122

จำแนกการแบ่งชั้นคุณภาพทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552)


1) อธิบายคุณภาพทั่วไปของทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) ได้


2) อธิบายเกณฑ์จำแนกชั้นคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) ได้


3) อธิบายลักษณะชั้นคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) ได้


4) ระบุชั้นคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) ได้อย่างถูกต้อง



12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และประเมินคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน
    2) มีทักษะในการสังเกต เตรียม และดำเนินการประเมินคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน
    3) มีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายการประเมินคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1) มีความรู้ในการวิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน
    2) มีความรู้ในการจำแนกการแบ่งชั้นคุณภาพทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552)
 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้
    2) หลักฐาน/เอกสารการผ่านการอบรม
    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
    1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา
    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ
    3) ผลการสอบข้อเขียน
    4) หลักฐานวุฒิการศึกษา
    5) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ
    (ค) คำแนะนำในการประเมิน
    1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน
    2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพและระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน 
    3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด
    (ง) วิธีการประเมิน
    1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง
    2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของและผู้ประกอบการประเมินคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
    (ก) คำแนะนำ
     N/A
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
     1) ทะลายสุก (Ripe bunch) หมายถึง ทะลายปาล์มที่มีผลปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่มีผิวเปลือกสีส้มหรือสีแดง และเนื้อปาล์มมีสีส้ม และมีจำนวนผลร่วงอย่างน้อย 10 ผล/ทะลาย
     2) ทะลายกึ่งสุก (Underripe) หมายถึง ทะลายปาล์มที่มีผลปาล์มส่วนใหญ่มีผิวเปลือกสีส้มแดงหรือแดงม่วง และมีจำนวนผลร่วงน้อยกว่า 10 ผล/ทะลาย
     3) ลักษณะของทะลายปาล์มน้ำมันตามระยะเวลาหลังการเก็บเกี่ยว จะมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
 

ลักษณะของทะลาย การพัฒนาทะลายในสภาวะแวดล้อมปกติทั่วไป
ทะลายดิบ สีผิวผลดำหรือเขียว
ทะลายกึ่งสุก สีผิวผลแดงเข้มปนม่วงหรือส้ม ผลร่วงน้อยกว่า 10 ผล
ทะลายสุก สีผิวผลแดงเข้มหรือส้ม
ทะลายสุกมากเกิน สีผิวผลแดงเข้มหรือส้ม ผลร่วงมากกว่า 50 ผล
ทะลายเน่า ผลร่วง 1 ใน 3 ของทะลาย
ทะลายเปล่า ไม่มีผลในทะลาย

     4) ทะลายปาล์มน้ำมันที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
    - มีลักษณะตรงตามพันธุ์
    - เป็นทะลายสุกหรือกึ่งสุก
    - มีความสด (ไม่ผ่านการรดน้ำ หรือมีการเร่งให้ดูเหมือนผลสุกหรือร่วง)
    - สะอาด ไม่มีสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้
    - ไม่มีความเสียหาย ที่มีผลต่อคุณภาพผลผลิต
    - ความยาวของก้านทะลายไม่เกิน 5 เซนติเมตร
     5) ชั้นคุณภาพปาล์มน้ำมัน หมายถึง ระดับชั้นของคุณภาพทะลายปาล์มในแต่ละรุ่นหรือ lot ที่นำส่งโรงงาน ซึ่งออกเป็น 3 ชั้นคุณภาพ ประกอบด้วย

ชั้นคุณภาพ จำนวนทะลายปาล์มน้ำมันในรุ่น สัดส่วนน้ำมัน/ทะลาย
(oil/bunch
ทะลายสุก ทะลายกึ่งสุก
ชั้นพิเศษ (Extra class) ไม่น้อยกว่า 90% ไม่เกิน 10% ไม่น้อยกว่า 24%
ชั้นหนึ่ง (Cless I) ไม่น้อยกว่า 80% ไม่เกิน 20% ไม่น้อยกว่า 22%
ชั้นหนึ่ง (Cless II) ไม่น้อยกว่า 70% ไม่เกิน 30% ไม่น้อยกว่า 20%

     6) สัดส่วนน้ำมันต่อทะลาย คือ ผลการคำนวณที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของทะลายปาล์มน้ำมันกับเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่สกัดได้จากผลปาล์มน้ำมัน โดยไม่รวมเมล็ดในปาล์ม (palm kernel)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
    2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์
    3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน
    4) รายละเอียดเครื่องมือประเมินและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ
 


ยินดีต้อนรับ