หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ (0-1 ปี)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-NMOB-983A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ (0-1 ปี)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน

1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ (0-1 ปี) โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมัน วิธีการใส่ปุ๋ยและให้น้ำปาล์มน้ำมัน วิธีการปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมัน วิธีการปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมัน และวิธีการรักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ และมีทักษะได้แก่ สามารถเลือกวิธีการ และเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย และการให้น้ำ ในสวนปาล์มน้ำมันได้ สามารถดำเนินการปราบวัชพืช ใส่ปุ๋ยและให้น้ำในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง สามารถปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง และสามารถปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างเหมาะสม มีความรู้เกี่ยวกับโรคและสาเหตุการเกิดโรค การแพร่ระบาด วิธีการเข้าทำลาย วงจรชีวิต อาการ และวิธีการป้องกันกำจัดโรค แมลงศัตรู และหนูศัตรูปาล์มน้ำมันปาล์ม การเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมัน และมีทักษะได้แก่ สามารถจำแนกและประเมินสภาพแวดล้อม การแพร่ระบาดของโรค แมลงศัตรูและหนูศัตรูปาล์มน้ำมันได้ สามารถเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันกำจัดโรค แมลงศัตรูและหนูศัตรูปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง และสามารถดำเนินการป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
B171

กำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


1) อธิบายชนิดหรือประเภทวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ได้


2) อธิบายวิธีกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันแต่ละชนิดในระยะปลูกใหม่ได้


3) เลือกวิธีการกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ได้อย่างเหมาะสม


4) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ได้อย่างถูกต้อง


5) กำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ได้อย่างถูกต้อง


B172

ใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


1) อธิบายประเภทและสูตรของปุ๋ยที่เหมาะสมกับเขตพื้นที่ปลูก ลักษณะเนื้อดิน และอายุปาล์มน้ำมันที่ใช้ในสวนปาล์มน้ำมันได้


2) อธิบายวิธีการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ปลูกและอายุปาล์มน้ำมันได้


3) อธิบายช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันได้


4) อธิบายลักษณะอาการขาดปุ๋ยของปาล์มน้ำมันได้


5) อธิบายปริมาณในการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับลักษณะเนื้อดิน และอายุปาล์มน้ำมันได้


6)) เลือกประเภทของปุ๋ยที่ใช้ในสวนปาล์มได้อย่างเหมาะสม


7) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


8) ดำเนินการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสวนปาล์มน้ำมัน

B173

ให้น้ำปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


1) อธิบายปริมาณความต้องการน้ำของปาล์มน้ำมันได้


2) อธิบายลักษณะอาการขาดน้ำของปาล์มน้ำมันได้


3) อธิบายวิธีการให้น้ำในสวนปาล์มน้ำมันได้


4) ดำเนินการให้น้ำปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพสวนปาล์มน้ำมัน


B174

ปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


1) อธิบายหลักการปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในแปลงได้


2) อธิบายวิธีการปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในแปลงได้


3) จัดเตรียมต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่ใช้ในการปลูกซ่อมในแปลงได้อย่างถูกต้อง


4) เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในแปลงได้อย่างถูกต้อง


5) ดำเนินการปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในแปลงได้อย่างถูกต้อง


B175

รักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


1) อธิบายหลักการรักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันได้


2) อธิบายวัสดุคลุมดินที่ใช้ในการรักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันได้


3) เลือกวัสดุคลุมดินที่นำมาใช้ในการคลุมดินในแปลงปลูกปาล์มน้ำมันได้อย่างเหมาะสม


4) เตรียมวัสดุคลุมดินที่นำมาใช้ในการคลุมดินในแปลงปลูกปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


5) ดำเนินการคลุมดินในแปลงปลูกปาล์มน้ำมันด้วยวัสดุที่เหมาะสมได้อย่างถูกต้อง


B176

ปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่


1) อธิบายชนิดของพืชคลุมดินได้


2) อธิบายประโยชน์ของพืชคลุมดินได้


3) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกพืชคลุมดินได้อย่างถูกต้อง


4) ปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


5) ดูแลรักษาพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


B177

ป้องกันและกำจัดโรคในปาล์มน้ำมัน


1) อธิบายโรคของปาล์มน้ำมันได้




2) จำแนกเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปาล์มน้ำมันแต่ละโรคได้อย่างถูกต้อง


3) อธิบายอาการของโรคปาล์มน้ำมันแต่ละโรคได้


4) อธิบายการแพร่ระบาดของโรคปาล์มน้ำมันแต่ละโรคได้


5) ประเมินสภาพแวดล้อมต่อแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างถูกต้อง


6) อธิบายวิธีป้องกันและกำจัดโรคปาล์มน้ำมันแต่ละโรคได้


7) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคปาล์มน้ำมันแต่ละโรคได้อย่างถูกต้อง


8) ป้องกันกำจัดโรคปาล์มน้ำมันแต่ละโรคได้อย่างถูกต้อง

B178

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน


1) อธิบายและจำแนกชนิดของแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันได้



2) อธิบายวงจรชีวิตของแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันแต่ละชนิดได้

3) อธิบายลักษณะการเข้าทำลายของแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันได้


4) ประเมินสภาพแวดล้อมต่อแนวโน้มการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูได้อย่างถูกต้อง

5) อธิบายการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันได้


6) อธิบายวิธีป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันได้

7) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง

8) ดำเนินการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง

B179

ป้องกันและกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน


1) อธิบายและจำแนกชนิดและลักษณะของหนูศัตรูปาล์มน้ำมันได้



2) อธิบายลักษณะการเข้าทำลายของหนูศัตรูปาล์มน้ำมันได้


3) อธิบายแนวทางการป้องกันกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมันแต่ละช่วงอายุของปาล์มน้ำมันได้


4) อธิบายการจัดการระบบการปลูกให้สะดวกต่อการจัดการหนูศัตรูปาล์มน้ำมันได้


5) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมันแต่ละช่วงอายุของปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


6) ประเมินสภาพแวดล้อมต่อแนวโน้มการแพร่ระบาดของหนูศัตรูปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง


7) เลือกวิธีการป้องกันและกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน (แต่ละช่วงอายุปาล์มน้ำมัน) ได้อย่างเหมาะสม


8) ดำเนินการป้องกันและกำจัดหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน (แต่ละช่วงอายุปาล์มน้ำมัน) ได้อย่างถูกต้อง


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ศึกษาคู่มือการดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมัน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และประเมินการดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ (0-1 ปี)
    2) มีทักษะในการสังเกต เตรียม จำแนก ตัดสินใจเลือก และดำเนินการดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ (0-1 ปี)
    3) มีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายการดูแลรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ (0-1 ปี)
    4) มีความรู้ในวิธีการวิธีการกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่
    5) มีความรู้ในวิธีการใส่ปุ๋ยและให้น้ำปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่
    6) มีความรู้ในวิธีการปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมันในสวนปาล์มน้ำมันระยะปลูกใหม่
    4) มีความรู้ในวิธีการปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่
    7) มีความรู้ในวิธีการรักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่
    8) มีความรู้ในการเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ การปลูกซ่อม การปลูกพืชคลุม และการรักษาความชื้นในสวนปาล์น้ำมันในระยะปลูกใหม่ปลูกใหม่
 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

N/A

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้
    2) หลักฐาน/เอกสารการผ่านการอบรม
    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
    1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา
    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ
    3) ผลการสอบข้อเขียน
    4) หลักฐานวุฒิการศึกษา
    5) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ
    (ค) คำแนะนำในการประเมิน
    1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน
    2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพและระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน 
    3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด 
    (ง) วิธีการประเมิน
    1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง
    2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม
 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของและผู้ประกอบการดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมันในระยะปลูกใหม่ (0-1 ปี) ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
    (ก) คำแนะนำ
     N/A
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
     1) การกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมัน เพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชแย่งปุ๋ยที่ใส่ให้กับต้นปาล์มน้ำมัน และเพื่อสะดวกในการใส่ปุ๋ยลดการแข่งขันระหว่างวัชพืชกับต้นปาล์มน้ำมัน และเพื่อความสะดวกในการเก็บผลปาล์มร่วง จำเป็นต้องมีการกำจัดวัชพืชตามอายุของปาล์มน้ำมัน ดังนี้
    - อายุปาล์มน้ำมัน 0-6 เดือน รัศมีรอบโคนต้นที่ต้องกำจัด 0.50-0.75 เมตร
    - อายุปาล์มน้ำมัน 6-12 เดือน รัศมีรอบโคนต้นที่ต้องกำจัด 0.75-1.00 เมตร
    - อายุปาล์มน้ำมัน 12-24 เดือน รัศมีรอบโคนต้นที่ต้องกำจัด 0.75-1.25 เมตร
    - อายุปาล์มน้ำมัน 24-30 เดือน รัศมีรอบโคนต้นที่ต้องกำจัด 1.25-2.25 เมตร
    - อายุปาล์มน้ำมัน 30 เดือน รัศมีรอบโคนต้นที่ต้องกำจัด 2.25-2.75 เมตร
     2) วิธีการกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมัน สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
    - การใช้แรงงานคน กำจัดวัชพืชบริเวณรอบโคนต้นเหมาะกับปาล์มน้ำมันปลูกใหม่ อายุไม่ถึง 
6 เดือน และทุกครั้งก่อนการใส่ปุ๋ย โดยใช้จอบถาก ขุด ทำลายวัชพืชส่วนที่อยู่เหนือดินและใต้ดิน หรือใช้มีดฟันวัชพืช และพืชคลุมที่ขึ้นบริเวณโคนต้น หรือตัดด้วยเครื่องตัดหญ้า 1-2 เดือนต่อครั้ง และต้องกำจัดสม่ำเสมอไม่ปล่อยให้วัชพืชขึ้นพันต้น ปาล์มน้ำมันอายุมากกว่า 1 ปี กำจัดวัชพืช 2-3 เดือนต่อครั้งในฤดูฝน และทุกครั้งก่อนการใส่ปุ๋ย หรือยึดหลัก เมื่อมีวัชพืชขึ้นปกคลุมประมาณ 50-60% ต้องรีบกำจัดก่อนจะขึ้นหนาแน่น และก่อนออกดอก
    - ใช้สารกำจัดวัชพืช ควรใช้กับปาล์มน้ำมันปลูกใหม่อายุเกิน 6 เดือน ถ้าพ่นในขณะที่ต้นยังเล็กจะเป็นอันตรายต่อต้นปาล์มน้ำมันได้ สารกำจัดวัชพืชที่ใช้บริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันอายุเกิน 6 เดือน 
มี 2 ประเภท ได้แก่
    (1) ประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอก ได้แก่ สารอะลาคลอร์ ออกซาไดอะซอน ไดยูรอน และออกซีฟลูออร์เฟน ใช้พ่นคลุมดินบริเวณรอบโคนต้นก่อนวัชพืชงอก โดยทั่วไปจะพ่นสารกำจัดวัชพืชรอบโคนต้นทันทีภายหลังกำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานเสร็จ เพื่อป้องกันเมล็ดวัชพืชงอก สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอกสามารถควบคุมวัชพืชได้นานประมาณ 1-4 เดือน ขึ้นอยู่กับชนิดของสารกำจัดวัชพืชและอัตราที่ใช้สารกำจัดวังพืชอะลาคลอร์ คลุมวัชพืชได้นาน 1-2 เดือน ไดยูรอน 3-4 เดือน ในกรณีที่มีแรงงาน ควรใช้สารกำจัดวัชพืชสลับกับการใช้แรงงานคนกำจัด เพื่อลดการใช้สารกำจัดวัชพืช
    (2) ประเภทใช้สารหลังวัชพืชงอก ปาล์มน้ำมันอายุ 6-12 เดือน ควรใช้สารกำจัดวัชพืชสัมผัสตาย หรือสารที่เคลื่อนย้ายในลำต้นได้เล็กน้อย สารกำจัดวัชพืชประเภทดูดซึมควรใช้เมื่อปาล์มน้ำมันมีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ได้แก่ ไกลโฟเซต ซัลโฟเซต ใช้พ่นเมื่อมีวัชพืชใบแคบขึ้นมาก ถ้ามีวัชพืชใบกว้างขึ้นมาก ใช้สารกำจัดวัชพืช ประเภทซ่าวัชพืชใบกว้างผสมลงไปด้วย เช่น ฟลูซิรอคซิเพอร์ ไดแคมบ้า และอัลไลย์
     3) การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ปาล์มน้ำมันมีผลผลิตสูงสุดอย่างต่อเนื่อง และยังคงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยปาล์มน้ำมันอายุ 1-3 ปี เป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบอย่างรวดเร็ว การใส่ปุ๋ยในช่วงนี้เพื่อให้มีการเจริญเติบโตทั้งทางลำต้นและทางใบอย่างรวดเร็ว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตที่สูง และสม่ำเสมอในระยะต่อๆ ไป อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยเคมีต้องคำนึงถึงชนิดของดินที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เนื้องจากในดินแต่ละพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่แตกต่างกัน การใส่ปุ๋ยควรแบ่งใส่ปีละ 2-3 ครั้ง ตามความเหมาะสม ส่วนการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป หรือที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน ควบคู่กับการสังเกตลักษณะอาการขาดธาตุอาหารที่มองเห็นได้ที่ต้นปาล์มน้ำมัน เพื่อปรับการใส่ปุ๋ยเคมีให้เพิ่มขึ้นหรือน้อยลงตามความเหมาะสม
     4) การให้น้ำปาล์มน้ำมัน มีความจำเป็นอย่างมากต่อปาล์มน้ำมันในระยะแรกของการปลูก 
โดยการให้น้ำในระยะแรกสำหรับต้นกล้าปาล์มน้ำมันจะช่วยให้ระบบรากของปาล์มน้ำมันมีการเจริญเติบโตได้ดี และส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตด้านลำต้น รวมถึงความเร็วและความสม่ำเสมอในการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมัน และการให้น้ำในช่วงแล้งตลอดอายุปาล์มน้ำมัน เกษตรกรจะได้รับผลผลิตที่คุ้มค่าต่อการลงทุน สำหรับลักษณะอาการเบื้องต้นของแปลงปาล์มน้ำมันที่มีการขาดน้ำ สามารถสังเกตได้จากวัชพืชบริเวณแปลงปลูกปาล์มน้ำมันจะแสดงอาการแห้งตาย โดยปกติหากปาล์มน้ำมันได้รับน้ำเพียงพอหรือไม่ขาดน้ำจะสังเกตได้ว่าใบหอก 
(ใบยอดของปาล์มน้ำมันที่ไม่คลี่) ของปาล์มน้ำมันมีเพียง 1 ใบ แต่ถ้าหากปาล์มน้ำมันได้รับน้ำไม่เพียงพอหรือมีช่วงแล้งยาวนานจะสังเกตเห็นใบหอก มากกว่า 1 ใบ และปาล์มน้ำมันจะแสดงอาการใบย่อยมีสีเหลืองและเริ่มแห้งตายโดยเริ่มจากทางใบล่าง สำหรับปาล์มน้ำมันอายุมากหากประสบภาวะแล้งรุนแรงจะมีอาการทางใบแห้งร่วมกับการหักพับลงของทางใบด้านล่าง
     5) การปลูกซ่อมต้นปาล์มน้ำมัน เมื่อพบต้นปาล์มที่ถูกทำลายโดยศัตรูพืช และต้นที่กระทบกระเทือนจาการขนส่งหรือการปฏิบัติอย่างรุนแรง ตลอดจนต้นผิดปกติจะต้องขุดทิ้งและปลูกซ่อม ควรปลูกซ่อมให้เร็วที่สุด ดังนั้นควรเตรียมต้นกล้าไว้สำหรับปลูกซ่อมประมาณร้อยละ 5 ของต้นกล้าที่ต้องการใช้ปลูกจริง โดยดูแลรักษาไว้ในถุงพลาสติกสีดำ ขนาด 15 x 18 นิ้ว ต้นกล้าจะมีอายุระหว่าง 12-18 เดือน ทั้งนี้เพื่อให้ต้นกล้าที่นำไปปลูกซ่อมมีขนาดใกล้เคียงกับต้นกล้าในแปลงปลูกจริง และควรดำเนินการปลูกซ่อมภายใน 1 ปีของการปลูก
     6) การรักษาความชื้นในสวนปาล์มน้ำมัน โดยการใช้วัสดุคลุมบริเวณโคนต้น อาจนำทะลายเปล่าที่ได้จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ทางใบปาล์มน้ำมัน หรือเศษพืชมาปกคลุมโคนต้น เพื่อรักษาความชื้นในดิน 
เพิ่มอินทรีย์วัตถุและฮิวมัสให้แก่ดิน เมื่อเกิดการย่อยสลายจะช่วยปรับโครงสร้างดินยึด และชะลอการชะล้างปุ๋ยออกนอกเขตรากปาล์มน้ำมัน รักษากิจกรรมและความมีชีวิตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน รวมทั้งยังสามารถป้องกันวัชพืชงอกบริเวณโคนต้นอีกด้วย ซึ่งการคลุมโคนควรคลุมให้ห่างจากโคนต้นปาล์มน้ำมันประมาณ 30 เซนติเมตร
     7) การปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมัน ควรปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินเพื่อช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน รักษาความชุ่มชื้นของดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน อีกทั้งยังควบคุมวัชพืชในแปลงด้วย พืชคลุมดินตระกูลถั่วที่นิยมปลูกที่นิยมปลูกกันทั่วไปในสวนปาล์มน้ำมัน ได้แก่ ถั่วเพอราเรีย ถั่วเซ็นโตซีมา และถั่วคาโลโปโกเนียม
     8) เชื้อสาเหตุ หมายถึง เชื้อที่เป็นต้นเหตุในการก่อให้เกิดโรคต่างๆ ในปาล์มน้ำมัน
     9) อาการของโรค หมายถึง ลักษณะอาการของต้นปาล์มน้ำมันที่แสดงออกมา เนื้องจากการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนั้นๆ
     10) การแพร่ระบาดของโรค หมายถึง ลักษณะการแพระกระจากของเชื้อพาหะในต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรค ที่สารมารถแพร่กระจายไปยังปาล์มน้ำมันต้นอื่นได้
     11) การป้องกันกำจัดโรค หมายถึง วิธีการหรือหนทางที่พยายามป้องกันและรับมือกับโรคที่เกิดในปาล์มน้ำมัน เพื่อให้ต้นปาล์มที่ปลูกได้รับผลกระทบอันจะเกิดจากโรคนั้นๆ น้อยที่สุด
     12) โรคที่เกิดในแปลงปลูก หมายถึง โรคที่เกิดกับต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกลงในแปลงปลูกปาล์มน้ำมันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่รวมถึงโรคที่เกิดกับต้นปาล์มน้ำมันในระยะต้นกล้าที่อยู่ในแปลงเพาะกล้า
     13) โรคที่เกิดกับใบปาล์มน้ำมัน ได้แก่ โรคทางใบบิด โรคยอดเน่า และโรคใบจุดสาหร่าย
    - โรคทางใบบิด (Crown disease) เกิดจากการผิดปกติทางพันธุกรรม เมื่อปาล์มอายุมากขึ้นอาการของโรคจะหายไปเอง บางกรณีอาจเกิดจากการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทดูดซึม เกษตรกรควรดูประวัติการใช้สารเคมีดังกล่าว ว่ามีการใช้ก่อนที่ปาล์มจะมีอาการใบบิดหรือไม่ โดยต้นปาล์มน้ำมันจะมีอาการใบยอดเกิดแผลสีน้ำตาลแดง ลักษณะฉ่ำน้ำบนกลางทางยอด เมื่อแผลขยายตัว ทำให้ใบย่อยที่ยังไม่คลี่เกิดอาการเน่า ทางยอด (Spear) มีลักษณะโค้งงอลง เมื่อทางยอดคลี่ออกใบย่อยบริเวณกลางทางจะเป็นแผล หรือฉีกขาดเหลือแต่เส้นกลางใบ ในกรณีที่เกิดโรครุนแรง ทางยอดมีการโค้งงอทุกทางทำให้โค้งงอรอบยอด ดูแล้วมีลักษณะคล้ายมงกุฎ (Crown) สามารถป้องกันได้โดยเลือกสายพันธุ์ที่ไม่มีโรคนี้ ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช แคปแทน 0.2% หรือไทอะเบ็นดาโซน 0.1% และสารฆ่าแมลงที่บริเวณรอยแผลที่เกิดจากการโค้งงอ
    - โรคยอดเน่า (Spear rot.) ไม่ทราบสาเหตุของโรคแน่ชัด เชื้อจุลินทรีย์สาเหตุที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ เชื้อรา Fusarium spp. และเชื้อแบคึทีเรีย Erwinia sp. เกิดบริเวณโคนยอดที่ยังไม่คลี่ โดยขอบแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ ในปาล์มที่มีอายุน้อยจะมีอาการเน่าดำ เริ่มจากปลายใบย่อยที่ยังไม่คลี่ แผลเน่าดำจะขยาย 
ทำให้ใบยอดทั้งใบเน่า/แห้ง เป็นสีน้ำตาลแดง สามารถดึงหลุดออกมาได้ง่าย ทางยอดหักพับบริเวณกลางใบหรือโคนทาง ในช่วงอากาศแล้งทางยอดที่ถูกทำลายจะมีสีเหลืองส้ม ในช่วงหน้าฝนทางยอดที่ถูกทำลายจะมีสีเหลืองอ่อน ต้นปาล์มที่การทำลายไม่ถึงจุดการเจริญเติบโต ยอดใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีรูปร่างผิดปกติ ใบย่อยหดสั้น แต่ถ้ามีการทำลายถึงจุดเจริญเติบโตอาจทำให้ต้นปาล์มตายได้ สามารถป้องกันได้โดยหากพบแมลงกัดกินยอด ให้ใช้สารคาร์โบฟูเรน อัตรา 50 กรัม/ตัน ตัดส่วนที่เป็นโรคออก แล้วใช้ไทแรม อัตรา 130 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซม อัตรา 150 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีด 5-7 วัน
    - โรคใบจุดสาหร่าย (Agal spot., Red spot.) เกิดจากเชื้อรา Cephaleuros virescence Kunze โดยต้นปาล์มน้ำมันจะเกิดเป็นจุดแผลเล็กๆ เท่าเข็มหมุด ด้านบนของใบย่อยของทางใบล่าง แผลขยายเป็นตุ่มสีน้ำตาลแดง ซึ่งเป็นการสร้าง zoospore แผลนี้จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 มม. หากอาการรุนแรงแผลอาจรวมกันเป็นแผลขนาดใหญ่ถุง 1 ซม. ลักษณะแผลเมื่อขูดส่วนที่เป็นตุ่มออก พบว่าผิวด้านล่างของใบไม่ถูกทำลายรอบตุ่มแผลอาจมีวงสีเหลืองล้อมรอบ เนื้องจากการบังของแสงบริเวณรอบๆ แผล โรคนี้ไม่เป็นอันตรายกับปาล์ม เนื่องจากเป็น Epiphyte บนใบปาล์ม แต่จะบังแสงเท่านั้น
     14) โรคที่เกิดกับลำต้นปาล์มน้ำมัน ได้แก่ โรคลำต้นเน่า และโรคลำต้นส่วนบนเน่า
    - โรคลำต้นเน่า (Basal stem rot.) เกิดจาดเชื้อเห็ด Ganoderma boninense โดยเชื้อราสามารถเข้าทำลายได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต แต่จะเห็นเด่นชัดเมื่อปาล์มน้ำมันอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป แต่ในพื้นที่ซึ่งมีการปลูกทดแทนในรอบที่ 2 หรือรอบที่ 3 อาการของโรคจะแสดงได้รวดเร็วขึ้น การเข้าทำลายของเชื้อ Ganoderma spp. จะสร้างดอกเห็ดที่โคนต้นหรือผิวดินบริเวณใกล้โคนต้น เข้าทำลายรากปาล์ม 
ทำให้เนื้อเยื่อภายในรากผุเปื่อยร่วนเป็นผง ส่วนของปลายราก (Cortex) เปลี่ยนเป็นสีสีน้ำตาล ส่วนเนื้อเยื่อภายในราก (Stele) เปลี่ยนเป็นสีดำ (ในช่วงนี้ปาล์มจะสร้างรากใหม่ทดแทนตลอดเวลา) การวินิจฉัยโรค 
(ดูอาการเปื่อยของราก) ควรทำในช่วงที่เห็นดอกเห็นบริเวณต้น เพราะหากดูภายหลังจะพบว่ารากปกติเพราะเป็นรากที่สร้างขึ้นใหม่ เมื่อรากถูกทำลาย 60-80% จะปรากฏอาการที่ทางใบของปาล์มน้ำมัน ซึ่งระยะดังกล่าวถือว่าถึงขั้นรุนแรงแล้ว ป้องกันกำจัดโดยการขุดหลุมรอบต้นปาล์มที่เป็นโรค เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย 
เก็บดอกเห็ดที่ขึ้นบนดินและโคนต้น นำไปเผาทำลาย ผ่าตัดเอาส่วนที่เป็นโรค โดยตัดทั้งส่วนที่เหนือดินและใต้ดิน แล้วทาด้วยสารเคมี เช่น thiram เพื่อป้องกันการเข้าทำลายซ้ำจากเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ หากเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายยังคงเหลือจะต้องผ่าตัดซ้ำ เอาเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกให้หมด สามารถใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมร่วมได้ด้วย โดยการราดบนดินหรือฉีดเข้าลำต้น โดยใช้กับต้นที่เป็นโรคหรือต้นใกล้เคียง
    - โรคลำต้นส่วนบนเน่า (Upper stem rot.) เกิดจากเชื้อรา Phellinus noxius ทำลายต้นส่วนที่สูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร การเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุจะเข้าทางซอกทางใบและขยายตัวทำลายลำต้น เมื่อเชื้อเข้าทำลายลำต้นจะขัดขวางการส่งน้ำและอาหารทำให้ปาล์มมีสีเหลืองซีด ทางใบที่สร้างใหม่มีขนาดเล็กและจำนวนน้อยกว่าปกติ เมื่อถูกทำลายมากขึ้นทางใบแก่จะหักพับและทิ้งตัวขนานกับลำต้น เกิดแผลเน่าบริเวณกาบทางใบ แผลมีสีน้ำตาล ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม ลักาณะไม่เรียบ รอบแผลมีสีเหลืองอ่อน ส่วนใหญ่จะพบเส้นใยของเชื้อราบริเวณขอบแผล เชื้อจะทำลายส่วนลำต้นไม่ลุกลามไปในส่วนของราก ในลำต้นอาจถูกทำลายหลายจุดเมื่อแผลมาชนกันจะทำให้ต้นหักล้มได้ ป้องกันโดยการตัดแต่งทางใบให้สั้นเพื่อลดการเกิดโรค ในการตัดแต่งทางใบควรระวังอย่าให้ต้นเป็นแผล ตัดส่วนที่เป็นโรคออก แล้วพ่นด้วยสาร tridemorph (1%Calixin) เพื่อป้องกันเชื้อจุลินทรีย์อื่นเข้าทำลายซ้ำ ตรวจสอบต้นที่เป็นโรคโดยใช้ไม้เคาะ หรือสังเกตจากเฟิร์นที่เจริญบริเวณลำต้น หากเฟิร์นมีการเจริญดีให้สำรวจอย่างละเอียด เนื้องจากต้นอาจถูกทำลายโดยเชื้อ แล้วจึงเกิดการย่อยสลายทำให้เฟิร์นเจริญได้ดี ควรขุดต้นที่หักล้มแล้วออกให้หมด หากทิ้งไว้อาจทำให้ Ganoderma sp. เข้าทำลายซ้ำได้ง่ายขึ้น
     15) โรคที่เกิดกับผลและทะลายปาล์มน้ำมัน ได้แก่ โรคผลร่วง และโรคทะลายเน่า
    - โรคผลร่วง (Bunch Failure) เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น Dry basal rot ทะลายเน่าและแห้ง เกิดจากการทำลายของแมลง เกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย Radinaphelenchus cocophilus การผสมเกสรที่ไม่สมบูรณ์ การขาดธาตุอาหารของปาล์มน้ำมันในช่วงที่ให้ผลผลิติสูง โดยจะแสดงอาการผิวของผลปาล์มมีลักษณะด้านกว่าปกติและร่วงจากทะลาย ผลที่ร่วงประมาณ ¼ ถึง ½ ทะลาย โดยร่วงจากส่วนปลายทะลาย สามารถป้องกันโดยการให้ปุ๋ยในช่วงที่ปาล์มให้ผลผลิตสูงอย่างเพียงพอ ทำลายทะลายที่เป็นโรค และใช้สารเคมีป้องกันแมลง/เชื้อรา
    - โรคทะลายเน่า (Marasmius palmivorus) เกิดจากเชื้อ Marasmius palmivorus อาการระยะแรกพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราบนทะลายปาล์ม บริเวณช่องระหว่างผลปาล์มและโคนทะลายส่วนที่ติดทางใบ เส้นใยขึ้นปกคลุมทั้งทะลายและเข้าทำลายในส่วน mesocarp ทำให้ผลเน่ามีสีน้ำตาล หากทะลายที่เน่ายังอยู่บนต้นจะทำให้เชื่อราอื่นเข้าทำลายด้วย โรคนี้จะพบมากในปาล์มที่เริ่มให้ทะลายในช่วงแรก เนื้องจากมีทะลายมากซึ่งต้นไม่สามารถเลี้ยงได้เพียงพอทำให้ผลปาล์มเน่า การป้องกัน ปกติ Marasmius palmivorus เป็น saprophyte ซึ่งไม่เป็นอันตรายกับพืช นอกจากมีปริมาณมากพอจึงจะเข้าทำลายพืช ป้องกันไม่ให้มีแหล่งเชื้ออยู่ในสวนปาล์ม ทำลายทะลายในช่วงแรก โดยตัดช่อดอกทิ้งในช่วง 30 เดือนแรกหลังจากปลูก ตัดแต่งก้านทางใบให้สั้นลงเพื่อลดความชื้นบริเวณโคนทาง แล้วฉีดพ่นโดยยากำจัดเชื้อรา
     16) แมลงศัตรูปาลืมน้ำมัน ได้แก่ หนอนหน้าแมว หนอนปลอกเล็ก ด้วงกุหลาบ และด้วงแรด
    - หนอนหน้าแมว เข้าทำลายใบปาล์มน้ำมันในช่วงเป็นตัวหนอน ซึ่งในช่วงที่ฟักจากไข่ หนอนจะมีสีขาวใส มีสีน้ำตาลอยู่กลางลำตัว จะกัดแทะผิวใบ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ 15-17 มม. กว้าง 5-6 มม. ตัวเต็มวันเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก กลางวันจะเกาะนิ่งไม่เคลื่อนไหว จะบินในช่วงพลบค่ำจนถึงรุ่งเช้า รังดักแด้เป็นสีน้ำตาล รูปทรงกลมขนาด 5-6 มม. X 7-8 มม. อยู่บริเวณโคนทางใบ หรือซอกมุมของทางใบย่อย ป้องกันโดยการสำรวจการระบาด โดยสำรวจปริมาณตัวเต็มวัยและดักแด้บริเวณโคนทางใบ ไม่ทำลายศัตรูทางธรรมชาติของหนอนหน้าแมว เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียนในธรรมชาติ การกำจัดใช้กับดักตัวเต็มวัยที่เป็นผีเสื้อ ใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นในระยะที่หนอนยังเล็ก โดยใช้ Cypermethrin หรือ Permethrin อัตรา 5-10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ Cyfluthrin อัตรา 5-10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ Pirimiphos methyl อัตรา 20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เจาะลำต้นใส่สารฆ่าแมลงประเภทดูดซึม (กรณีที่ต้นสูงไม่สามารถฉีดพ่นยาได้) ใช้เชื้อ Bacillus thuringiensis ฉีดพ่นทำลายระยะวางไข่ หรือระยะตัวหนอน
    - หนอนปลอกเล็ก เข้าทำลายโดยการแทะผิวใบทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาล ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ทางใบแห้ง ลดการเจริญเติบโตและผลผลิตของปาล์มน้ำมัน การป้องกันกำจัด สามารถใช้สารเคมีฉีดพ่น เช่นเดียวกับหนอนหน้าแมว
    - ด้วงกุหลาบ เข้าทำลายในช่วงเป็นตัวเต็มวัยโดยกัดกินใบปาล์มในระยะที่เพิ่มปลูกใหม่ 
โดยทำลายในช่วงกลางคืน ส่วนช่วงกลางวันจะอยู่บริเวณโคนลำต้นหรือใต้ดิน ด้วงกุหลาบจะมีการระบาดในช่วงฤดูแล้ง (ก.พ.-เม.ย.) โดยเฉพาะในพื้นที่บุกเบิกใหม่ๆ ใช้สารเคมีประเภท Carbaryl (Sevin 85%WP) อัตรา 
40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร Carbosulfan (Passe 20%EC) อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร การฉีดพ่นควรทำในช่วงตอนเย็น/ค่ำ โดยฉีดบริเวณใบ กาบใบล่าง และบริเวณโคนลำต้น
    - ด้วงแรด เข้าทำลายโดยตัวเต็มวัยจะเจาะโคนทางใบและกัดทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์มีรอยขาดแหว่งเป็นรูปสามเหลี่ยม รอยแผลที่ด้วงแรดกัดทำลาย อาจทำให้ด้วงงวงมะพร้าวมาวางไข่ หรืออาจทำให้ยอดเน่าได้ ป้องกันกำจัดโดยการทำลายแหล่งวางไข่ เช่น บริเวณซากต้นปาล์ม กองปุ๋ยหมัก โดยใช้สารเคมีฆ่าแมลง Cabofuran (Furadan 3%G) อัตรา 200 กรัม/ ต้น ใส่บริเวณยอดอ่อนหรือซากทางใบใต้ยอดอ่อน ฉีดพ่นด้วย Chlorpyrifos (Lorsban 40%EC) อัตรา 80 มล./น้ำ 20 ลิตร ฉีดบริเวณยอดอ่อนหรือซากทางใบถัดลงมา ใช้ Sevin 85% WP ผสมกับขี้เลื่อย (อัตรา 1:30) ใส่รอบยอดอ่อนหรือทางใบ เดือนละ 1 ครั้ง ใช้ลูเหม็น (Naphthalene ball) ใส่บริเวณซอกโคนทางใบเพื่อไล่ด้วงแรด ใช้ราเขียว (Metarrhizium anisopliae) และเชื้อไวรัส (Baculovirus) ทำลายด้วงแรดโดยโรยเชื้อในบริเวณที่มีการวางไข่ เช่น กองปุ๋ยหมัก หรือกองซากพืช ใช้กับดักล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย โดยใช้ฮอร์โมนเพศเป็นตัวล่อ (ฮอร์โมนดังกล่าวเป็นสาร ethyl-4-methyloctanoate) โดยแขวนกับดักทุกๆ 15 ไร่/ชุด การป้องกันกำจัดด้วงแรดที่ดีที่สุด คือทำลายแหล่งขยายพันธุ์ เช่น กองปุ๋ยหมัก ควรกลับกองบ่อยๆ การใช้ทะลายปาล์มคลุมโคน ไม่ควรหนา 2 ชั้น
     17) หนูศัตรูปาล์มน้ำมัน หนูจะทำลายปาล์มตั้งแต่ระยะเริ่มปลูก โดยกัดทำลายต้นกล้าจนกระทั่งการกัดทำลายดอก และทะลายปาล์ม ชนิดของหนูที่ทำลายปาล์มน้ำมัน ได้แก่
    - หนูพุกใหญ่หรือหนูแผง เป็นหนูขนาดใหญ่ หากินบริเวณพื้นดิน ขุดรูอยู่ใต้ดิน เป็นศัตรูสำคัญในปาล์มที่พึ่งปลูก เพราะจะทำลายโคนต้นอ่อนและทางใบปาล์ม
    - หนูท้องขาว เป็นหนูขนาดกลางพบทั่วไปในท้องนาและสวนผลไม้ ทำลายทางใบและโคนต้นปาล์มเล็กที่พึ่งปลูก
    - หนูป่ามาเลย์ เป็นหนูขนาดกลาง ปีนต้นไม้คล่อง ทำรังบนต้นปาล์ม ทำลายดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และทะลายปาล์ม จัดว่าเป็นหนูศัตรูปาล์มที่สำคัญที่สุด
    การป้องกันกำจัด ในปาล์มขนาดเล็กหรือปาล์มที่พึ่งปลูกใหม่ควรใช้ตาข่ายหุ้มรอบโคนปาล์ม เพื่อขัดขวางการเข้าทำลายของหนู ทำความสะอาดรอบโคนต้น และในแปลงเพื่อทำลายที่พักพิงของหนู 
ใช้กับดัก ใช้วิธีธรรมชาติ โดยไม่ทำลายสัตว์ที่เป็นศัตรูธรรมชาติของหนู เช่น งู นกเค้าแมว ฯลฯ ใช้สารเคมี ได้แก่ สารออกฤทธิ์เฉียบพลัน เช่น ซิงค์ฟอสไฟด์ สารออกฤทธิ์ช้า เช่น โฟลดูมาเฟน (ชื่อทางการค้า : สะตอม 0.005%) โบรโตฟาคูม (ชื่อทางการค้า : คลีเรต์ 0.005%) โบรมาดิโอโลน (ชื่อทางการค้า : เส็ด 0.005%) ไดฟิธีอาโลน 
(ชื่อทางการค้า : บาราคี 0.00255%) โดยก่อนการใช้สารเคมี ควรสำรวจประชากรของหนูโดยการกินเหยื่อ 
ถ้าหนูกินเหยื่อมากกว่า 20% ถึงจะมีการใช้สารเคมี โดยจะต้องทำอย่างระมัดระวัง
 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
    2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์
    3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน
    4) รายละเอียดเครื่องมือประเมินและเกณฑ์การประเมินอยู่ใน คู่มือการประเมินสมรรถนะ
 


ยินดีต้อนรับ