หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทำสวนยางพาราร่วมกับอาชีพการเกษตรอื่นๆ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-ELKX-931A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทำสวนยางพาราร่วมกับอาชีพการเกษตรอื่นๆ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านระบบการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน

1 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการทำสวนยางพาราร่วมกับอาชีพการเกษตรอื่น ๆโดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจในความหมาย ประโยชน์และชนิดของการเลี้ยงสัตว์ในสวนยางพารา ความหมายประโยชน์ และชนิดของปลาของการเลี้ยงปลาในสวนยางพารา และการปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงปลา ความหมายประโยชน์ และชนิดของพืชและไม้เศรษฐกิจของปลูกยางพาราร่วมกับพืชและไม้เศรษฐกิจ และมีทักษะได้แก่สามารถกำหนดรูปแบบการทำสวนยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ได้อย่างถูกต้อง สามารถเลี้ยงสัตว์ร่วมกับการทำสวนยางพาราได้อย่างถูกวิธี  สามารถเลี้ยงปลาร่วมกับการทำสวนยางพาราได้อย่างถูกวิธี และสามารถปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชและไม้เศรษฐกิจได้อย่างถูกวิธี


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

N/A


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria)
B281

ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์บก 

1. อธิบายความหมายของการเลี้ยงสัตว์บกในสวนยางพาราได้

2. อธิบายประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์บกในสวนยางพาราได้

3. อธิบายชนิดของสัตว์บกที่สามารถเลี้ยงในสวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง

4. กำหนดรูปแบบการทำสวนยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์บกได้อย่างถูกต้อง

5. ดำเนินการเลี้ยงสัตว์บกร่วมกับการทำสวนยางพาราได้อย่างถูกวิธี

B282

ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ

1. อธิบายความหมายของการเลี้ยงสัตว์น้ำในสวนยางพาราได้

2. อธิบายประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์น้ำในสวนยางพาราได้

3. อธิบายชนิดของสัตว์น้ำที่สามารถเลี้ยงในสวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง

4. กำหนดรูปแบบการทำสวนยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำได้อย่างถูกต้อง

5. ดำเนินการเลี้ยงสัตว์น้ำร่วมกับการทำสวนยางพาราได้อย่างถูกวิธี

B283

ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

1. อธิบายความหมายของการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในสวนยางพาราได้

2. อธิบายประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในสวนยางพาราได้

3. อธิบายชนิดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่สามารถเลี้ยงในสวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง

4. กำหนดรูปแบบการทำสวนยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำได้อย่างถูกต้อง

5. ดำเนินการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำร่วมกับการทำสวนยางพาราได้อย่างถูกวิธี

B284

ปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชและไม้เศรษฐกิจ

1. อธิบายความหมายของปลูกยางพาราร่วมกับพืชและไม้เศรษฐกิจได้

2. อธิบายประโยชน์ของการปลูกยางพาราร่วมกับพืชและไม้เศรษฐกิจได้

3. อธิบายชนิดของพืชและไม้เศรษฐกิจที่ปลูกในสวนยางพาราได้

4. อธิบายการปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชและไม้เศรษฐกิจได้อย่างถูกต้อง

5. ดำเนินการปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชและไม้เศรษฐกิจได้อย่างถูกวิธี


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1) อาชีพที่สามารถทำร่วมกับการทำสวนยางพารา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)  มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลการทำสวนยางพาราร่วมกับอาชีพการเกษตรอื่น ๆ
2)  มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น กำหนด ตัดสินใจเลือก แยกความแตกต่าง และการดำเนินงานการทำสวนยางพาราร่วมกับอาชีพการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ การปลูกยางร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ พืชและไม้เศรษฐกิจ
3)  มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานการทำสวนยางพาราร่วมกับอาชีพการเกษตรอื่น ๆให้ถูกต้อง
4)  มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)  มีความรู้ในการปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์
2)  มีความรู้ในการปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงปลา
3)  มีความรู้ในการปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชเศรษฐกิจ
4)  มีความรู้ในการปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกไม้ผล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ
       (ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
              1)  หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้
​​​​​​​       ​​​​​​​       2)  ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)

​​​​​​​       (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
​​​​​​​       ​​​​​​​       1)  หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา
​​​​​​​       ​​​​​​​       2)  หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ
​​​​​​​       ​​​​​​​       3)  ผลการสอบข้อเขียน
​​​​​​​       ​​​​​​​       4)  ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ
​​​​​​​       (ค)  คำแนะนำในการประเมิน
​​​​​​​       ​​​​​​​       1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน
​​​​​​​       ​​​​​​​       2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน
​​​​​​​       ​​​​​​​       3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด
​​​​​​​       (ง) วิธีการประเมิน
​​​​​​​       ​​​​​​​       1)  การสอบข้อเขียน
​​​​​​​       ​​​​​​​       2)  การสอบสัมภาษณ์
​​​​​​​       ​​​​​​​       3)  การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

       (ก)  คำแนะนำ
       ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการการทำสวนยางพาราร่วมกับอาชีพการเกษตรอื่น ๆ (พืชร่วม พืชแซม) ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
​​​​​​​       (ข)  คำอธิบายรายละเอียด
​​​​​​​       ​​​​​​​       1)  ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       1.1 การเลี้ยงแพะในสวนยางพารา
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       - ข้อดีในการเลี้ยงแกะ
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       (1) ให้ผลผลิตและผลตอบแทนเร็วกว่าการเลี้ยงโค
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       (2) ขนาดตัวเล็ก ให้พื้นที่น้อย เลี้ยงดูง่าย
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       (3) ให้ผลผลิตเนื้อ หนัง ขน
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       - เป้าหมายในการเลี้ยงแกะ
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       (1) เพื่อเพิ่มจำนวนลูกหย่านมต่อปีให้สูงขึ้น โดย
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       (2) ลดช่วงห่างการให้ลูกลง จาก 10-12 เดือน เป็น 7-8 เดือน ดูแลจัดการเรื่องการผสมพันธุ์ให้พ่อแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       (3) เพิ่มจำนวนลูกต่อครอกให้สูงขึ้น คัดเลือกลูกแกะที่เกิดจากลูกแฝดมาเลี้ยง ดูแลการให้อาหารเพิเศษแก่แม่พันธุ์ 2 สัปดาห์ก่อนผสมพันธุ์
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       - พันธุ์แกะที่กรมปศุสัตว์ส่งเสริม 
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       (1.) แกะพันธุ์คาทาดิน กรมปศุสัตว์ได้รับการสนับสนุนพ่อพันธุ์นี้จากสถาบันวินร็อค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2532 เป็นแกะเนื้อที่รัปบตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เลี้ยงปล่อยตามทุ่งหญ้าธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเสิรมอาหารข้น ผลัดขนเองเมื่ออากาศร้อน ทนพยาธิภายในมากกว่าแกะพันธุ์อื่น เนื้อแกะคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นสาบ น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.1 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 90 กก. ตัวเมีย 55-60 กก. 
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       (2.) แกะพันธุ์ซานตาอิเนส เป็นแกะเนื้อ จำเข้าจากประเทศบราซิล ปี พ.ศ.2540 ขนาดใหญ่ใบหูยาวปรก หน้าโค้งนูน มีหลายสี น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.5 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 80-90 กก. ตัวเมีย 60 กก.
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       (3.) แกะพันธุ์บาร์บาโดส แบล็คเบลลี เป็นแกะเนื้อ มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะบาร์บาโดส แถบทะเลแคริบเบียน มีสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม และมีสีดำที่ใต้คาง ใต้ใบหู บอบตา และบริเวณพื้นท้องลงมาถึงใต้ขา มีลักษณะพิเศษคือให้ลูกดก อัตราการเกิดลูกแฝดสูง 60.8% แม่แกะวัยเจริญพันธุ์หนัก 45 กก. ขนาดครอก 1.5-2.3 ตัวต่อครอก น้ำหนักแรกเกิดลูกเดี่ยว 3.0 กก. ลูกแฝด 2.8 กก. น้ำหนักหย่านมอายุ 4 เดือน ลูกเดี่ยว 1.7 กก. ลูกแฝด 13.4 กก. และน้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 68-90 กก. เพศเมีย 40-59 กก. 
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       (4) แกะเนื้อพันธุ์ดอร์เปอร์ มีลักษณะเนื้อที่มีคุณภาพสูง สามารปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ทนแล้ง มีลำตัวสีขาว หัวสีดำ ไม่มีเขา นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้นำแกะพันธุ์เซาท์แอฟริกันมัตตอนเมอริโน, แกะพันธุ์คอร์ริเดลและแกะพันธุ์บอนด์ ซึ่งให้ผลผลิตทั้งเนื้อและขนที่มีลักษณะดีเข้ามาเลี้ยงปรับปรุงพันธุ์แกะในประเทศ เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่เกษตรกร
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       1.2  ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       (1) การเลี้ยงปลาดุกในสวนยางพารา
วิธีการขุดเป็นบ่อขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตรและลึก 1 เมตร โดยขุดเป็น 2 ระดับพื้นปูด้วยพลาสติกและล้อมด้วยตาข่ายเพื่อเลี้ยงปลาดุกประมาณ 400 ตัว โดยใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย ใช้มุ้งไนลอนกั้นขอบปากบ่อเพื่อป้องกันปลากระโดและสัตว์ที่อาจจะเข้ามากินปลาในบ่อ ใช้เวลาขุนประมาณ 8 เดือนก็จะสามารถจับขายได้
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       (2) การเลี้ยงปลานิลในสวนยางพารา
ปลานิลถือเป็นปลาเศรษฐกิจของประเทศ ราคาที่ขายได้ประมาณกิโลกรัมละ 70-100 บาท การเพาะเลี้ยงปลานิล ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนกว่าจึงมีขนาดโตพอจับขาย ต้นทุนประมาณ 20,000 บาท ที่ใช้ต่อการเลี้ยงปลานิล 1 บ่อ ปลานิลที่เลี้ยงไว้จะออกลูก ทำให้พื้นที่บ่อเลี้ยงหนาแน่นมากขึ้น ต้องหมั่นคอยสังเกตคัดจับปลาออกบ้าง การคัดจับปลานิลทำได้ง่าย โดยใช้ตาข่ายไนล่อนขนาดช่องตา 6-8 เซนติเมตรช้อนจับออกจำหน่าย เพื่อลดความหนาแน่น และวิดน้ำจับปลาทั้งหมด เมื่อเลี้ยงปลาได้ครบ 1 ปี หรือรอจับในช่วงเวลาที่ปลามีราคาสูงขึ้น ต้องระมัดระวังในเรื่องของสารพิษที่ใช้ฉีดฆ่าศัตรูพืชที่อาจปนเปื้อนลงมาภายในบ่อเวลาที่น้ำล้นบ่อ ซึ่งมีผลทำให้ปลานิลที่มีขนาดเล็กไม่สามารถปรับสภาพกับสารพิษเหล่านี้เป็นสาเหตุให้ปลาในบ่อเลี้ยงตายได้
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       1.3  ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       การเลี้ยงกบ
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       วิธีดำเนินการ
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       1. การเลี้ยงกบควรเลือกพื้นที่เป็นที่สูงหรือที่ดอน มีลักษณะราบเสมอ ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ แต่ควรให้ห่างจากถนนเพื่อป้องกันเสียงรบกวน 
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       2. สร้างบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร สูง 1 เมตร เพื่อใช้เพาะพันธุ์กบ จำนวน 1 บ่อ และสร้างบ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 บ่อ โดยก่อแผ่นซีเมนต์และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบควรหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังน้ำสูงจากพื้น 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด 
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       3. พันธุ์กบที่จะเพาะเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็ว และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวมุมปากส่วนตัวเมียมองไม่เห็นกล่องเสียง
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       การเพาะพันธุ์กบ 
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ล้างบ่อซีเมนต์ให้สะอาด ใส่น้ำลงไปให้ได้ความลึกประมาณครึ่งฟุต แล้วหาวัชพืชน้ำมาใส่ไว้เพื่อให้ไข่กบเกาะ จากนั้นนำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ 1คู่มาใส่ไว้รวมกันประมาณ 2-3 คืน กบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. เมื่อเห็นว่ากบออกไข่แล้วให้นำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ออกจากบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้แพไข่แตก 
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       การอนุบาลลูกกบวัยอ่อน 
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้ว ช่วง 2 วันแรกไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารเม็ดสำหรับลูกกบวันละ1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 กำมือ หรืออาจให้ไข่แดงบดเป็นอาหารแทนก็ได้ ซึ่งเฉลี่ยแล้วใช้วันละ 2-3 ฟองต่อลูกอ๊อด 1 ครอกเมื่อลูกอ๊อดมีอายุ 20-30 วัน จึงเป็นลูกกบเต็มวัย ในช่วงนี้ต้องนำไม้ไผ่มาทำเป็นแพหรือแผ่นโฟมลอยน้ำเพื่อให้ลูกกบเต็มวัยขึ้นไปอาศัยอยู่ เพราะลูกอ๊อดจะโตเต็มวัยไม่พร้อมกัน อาจมีการรังแกกันจนเกิดแผลทำให้ลูกกบตายได้ ดังนั้น จึงต้องลงมือคัดลูกกบขนาดตัวยาว 2 เซนติเมตร ไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ บ่อละ 1,000 ตัว 
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       การดูแลและเลี้ยงกบเต็มวัยจนเป็นกบโต 
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       เมื่อคัดลูกกบนำไปเลี้ยงในบ่อแล้ว ใส่วัชพืชน้ำและวัสดุลอยน้ำลงไป เช่น แพไม้ไผ่หรือแผ่นโฟม เพื่อให้กบขึ้นไปอาศัยอยู่ และนำทางมะพร้าวมาคลุมบ่อเพื่อบังแดดด้วยในช่วงที่คัดลูกกบลงบ่อซีเมนต์ใหม่ ๆ นี้ ให้ใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบไประยะหนึ่งก่อนเมื่อกบโตขึ้นจึงค่อยให้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงกบโตวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ในอัตรา 3% ของน้ำหนักตัวกบ คือ ถ้ากบน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ก็ให้อาหารวันละ 3 กิโลกรัมในขั้นตอนนี้ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ก็สามารถจับกบจำหน่ายได้

​​​​​​​       ​​​​​​​       2)  ปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชเศรษฐกิจ
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       2.1  การเพาะ”เห็ดฟาง”จากทะลายปาล์มในสวนยาง
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ข้อพิจารณา การเพาะเห็ดเป็นกิจกรรมที่ให้รายได้รวดเร็ว สามารถเพาะเห็ดได้ในสวนยางที่ให้ผลผลิตแล้ว โดยควรเป็นสวนที่มีแหล่งน้ำเพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       วิธีการ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะเห็ด ได้แก่ทะลายปาล์มน้ำมัน เชื้อเห็ดฟาง ผ้า พลาสติกความยาว ม้วนละ 70 เมตร ไม้ไผ่ สำหรับขึงผ้าพลาสติก ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟาง น้ำ ทะลายปาล์มมากองรวมล้อมกันเป็นวงกลม โดยจะฉีดน้ำ 2 วันต่อหนึ่งครั้ง คลุมด้วยผ้าพลาสติก รอประมาณ 3-7 วัน เพื่อให้ทะลายปาล์มชุ่มน้ำ การวางทะลายปาล์ม วางเป็นร่องตามระหว่างแถวยางความยาวประมาณ 5 เมตร ฉีดน้ำลงบนทะลายปาล์ม เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรก โรยเชื้อเห็ด ลงบนร่องที่เตรียมไว้ โดย 1 ร่อง ใช้เชื้อ 3 ก้อน โรยเชื้อก้อนละ 1 เมตร รอประมาณ 3 วัน ขึ้นโคลงไม้ไผ่ เป็นแนวไว้สำหรับขึงผ้าพลาสติก ประมาณ 4-5 โคลง โค้งเป็นแนวยาว คลุมผ้าพลาสติกตามแนวโคลงไม้ไผ่ ประมาณ 7 – 9 วัน เห็ดก็จะงอก สามารถเก็บไปขายได้การดูแลรักษา ระบายความร้อน หลังจากเพาะเห็ดแล้ว 4-5 วัน ให้เปิดชายผ้าพลาสติกเพื่อระบายความร้อนออกจากกองเห็ดเป็นครั้งคราว เพราะถ้าอากาศร้อนเกินไปเส้นใยเห็ดจะไม่รวมตัวเป็นดอก นอกจากช่วยระบายความร้อนแล้วยังเป็นการเพิ่มอากาศให้กับเห็ดอีกด้วย พยายามให้ความชื้นแก่กองเห็ดอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง พยายามพ่นน้ำให้เป็นฝอยลงบนกองเห็ดพอชุ่มชื้น
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ผลผลิตและผลตอบแทน ทะลายปาล์มน้ำมัน 1 คันรถบรรทุก 6 ล้อ เพาะเห็ดได้ ประมาณ 380กิโลกรัม ต้นทุนประมาณ 3,000 บาท รายได้ 19,000 บาท

​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       2.2 กาแฟโรบัสต้าทดแทนยาง
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ข้อพิจารณา กาแฟโรบัสต้า เป็นกาแฟที่นิยมปลูกในพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบันกาแฟเป็นพืชที่มีตลาดค่อนข้างดี จึงเป็นพืชที่น่าสนใจในการปลูกทดแทนพื้นที่ปลูกยางพาราบางส่วน พื้นที่ปลูกควรมีสภาพดินเป็นดินร่วน มีหน้าดินลึก และไม่มีน้ำขัง
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       วิธีการปลูก การปลูกในพื้นที่เปิดใหม่หรือพื้นที่ปลูกยางพาราเดิม ต้องนำต้นและเศษซากยางจากการโค่นล้มออกจากพื้นที่ เตรียมหลุมปลูก 50-100 x 50-100 x 50-100 เซนติเมตร และมีการปรับปรุงความสมบูรณ์ของดิน โดยเพิ่มปุ๋ยคอก วัสดุปรับปรุงดินต่าง ๆ และปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 และ 15-15-15 ผสมกับดินที่ขุดจากหลุม คลุกเคล้าผสมกัน การเตรียมต้นกาแฟโรบัสต้าใช้ต้นที่มีอายุต้นประมาณ 6-8 เดือน ระยะปลูกระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 3 เมตร เนื้อที่ 1 ไร่ ปลูกกาแฟได้ประมาณ 178 ต้น และเนื่องจากกาแฟโรบัสต้าเป็นพืชผสมข้าม จึงควรปลูกอย่างน้อย 3 พันธุ์ เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิต กาแฟพันธุ์แนะนำ ได้แก่ พันธุ์ชุมพร 2 ชุมพร 84-4 และชุมพร 84-5 ที่ให้ผลผลิตสูง การใส่ปุ๋ย ร่วมกับการตัดแต่งกิ่ง กำจัดวัชพืช และป้องกันกำจัดโรค/แมลง ปีที่ 1 และ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 ขีดต่อต้นต่อปี และสูตร 46-0-0 อัตรา 1 ขีดต่อต้นต่อปี ปีที่ 3 เป็นต้นไป ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 2 ขีดต่อต้นต่อปีและสูตร 13-13-21 อัตรา 6-8 ขีดต่อต้นต่อปี กาแฟจะให้ผลผลิตเมื่ออายุประมาณ 3 ปี
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       ผลผลิตและผลตอบแทน ผลผลิตผลสด 390-450 กิโลกรัมต่อไร่ การลงทุนสร้างสวนใหม่ปีแรก7,000-8,000 บาทต่อไร่ ปีต่อ ๆไปประมาณ 4,000 บาทต่อไร่ รายได้ 13,650-15,750 บาทต่อไร่

​​​​​​​       ​​​​​​​       3)  ปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกไม้ผล
​​​​​​​       ​​​​​​​       ​​​​​​​       3.1 การปลูกมังคุดในสวนยางพารา ทำการปลูกก่อนมีการโค่นยาง 5 ปี ใช้ระยะระหว่างต้นมังคุด 8 เมตร และแนะนำให้ปุ๋ยแก่มังคุดปีละ 2 ครั้ง มังคุดก็จะเจริญเติบโตได้อย่างปกติ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน คือ ค่าต้นมังคุดประมาณ 25 ต้นต่อไร่ 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

N/A


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

N/A


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1)  ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน
2)  ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้
3)  ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ
4)  ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์


ยินดีต้อนรับ